มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย
-
ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย
ประกอบด้วย
-
1.
ไต กรวยไต และท่อไต
-
2.
กระเพาะปัสสาวะ
-
3.
ต่อมลูกหมาก
-
4.
อวัยวะเพศชาย หรือองคชาติ หรือลึงค์
-
5.
ลูกอัณฑะ
-
6.
ถุงอัณฑะ
-
มะเร็งที่พบบ่อย
ได้แก่ มะเร็งของกระเพาะปัสสาวะ, ต่อมลูกหมาก, ไต, อวัยวะเพศชาย และมะเร็งที่พบไม่บ่อย
-
ได้แก่
มะเร็งของลูกอัณฑะ ถุงอัณฑะและท่อไต
-
สาเหตุ
-
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่มีปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งพอสรุปได้ดังนี้ คือ
-
1.
อายุ มะเร็งของไตกระเพาะปัสสาวะมักพบในคนอายุมาก 50 - 70 ปี มะเร็งของอาคชาติ
พบ ในคนวัยกลางคน
-
และมะเร็งอัณฑะพบในวัยหนุ่มฉกรรจ์
-
2.
มะเร็งของไตและกรวยไต เกิดร่วมกับการอักเสบเรื้อรังและนิ่วในไต จากกินยาแก้ปวดประเภท
ฟีนาซีตินมากเกินไป
-
3.
มะเร็งของกระเพาะปัสสาวะเกิดบ่อยในคนที่สูบบุหรี่จัด, ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากหรือ
มีมลภาวะ
-
,
มีการอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
-
4.
อาหารที่มีไขมันมาก หรือสาเหตุทางพันธุกรรมอาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของต่อมลูกหมาก
-
5.
ลูกอัณฑะที่ไม่ลงมาในถุงอัณฑะ มีอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งสูง
-
6.
การเสียดสีเรื้อรัง ทำให้เกิดแผลไม่หายแล้วกลายเป็นมะเร็ง เช่นมะเร็งของถุงอัณฑะ
-
อาการ
-
1.
ปัสสาวะเป็นเลือด, ลิ่มเลือด โดยที่ระยะแรกเริ่มจะไม่มีอาการปวดนำมาก่อน
พบในมะเร็ง กระเพาะปัสสาวะและมะเร็งของไต
-
2.
ปัสสาวะขัด ต้องเบ่ง หรือปัสสาวะออกกระปริบกระปรอย พบในมะเร็งของต่อมลูกหมากระยะ
ที่สอง
-
3.
มีแผลเรื้อรังชนิดเลือดออกง่ายและกลิ่นเหม็นพบในมะเร็งของอวัยวะเพศชาย
-
4.
หนังหุ้มอวัยวะเพศหรือหนังหุ้มลึงค์ไม่เปิดและมีอาการคันภายในหรือมีเม็ดที่คลำได้
-
5.
บริเวณที่มีการเสียดสีมีการอักเสบไม่หาย เช่น มะเร็งถุงอัณฑะ
-
6.
มีก้อนคลำได้ชัดเจนบริเวณสีข้าง (บริเวณไต) หรือบริเวณท้องน้อยเหนือหัวเหน่า
(บริเวณกระเพาะปัสสาวะ)
-
7.
ก้อนและคลำได้ที่ลูกอัณฑะ กดไม่เจ็บและโตเร็ว
-
8.
ต่อมน้ำเหลือบริเวณขาหนีบหรือซอกคอโต พบในรายที่มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว
-
9.
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผอมลง ไอ ปวดกระดูก พบในระยะที่มีการกระจายของมะเร็งไปแล้ว
-
การวินิจฉัย
-
1.
โดยการตรวจร่างกาย เอ๊กซเรย์ เอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์และตัดก้อนเนื้อไปพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา
-
2.
โดยการคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก เป็นวิธีวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากที่เชื่อถือได้
-
3.
โดยการส่องกล้องดูภายในกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมาก
-
4.
โดยการตัดเนื้อไปพิสูจน์ ผ่านทางส่องกล้องหรือใช้เข็มเจาะผ่านทางผีเย็บ
-
5.
โดยการผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศที่มีแผลเรื้อรัง แล้วนำเนื้อที่ตัดออกไปพิสูจน์
-
การรักษา
-
การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค
โดยทั่วไปแล้วการรักษาประกอบด้วย
-
ก.
การผ่าตัด
-
-
ผ่าตัดอวัยวะที่เป็นมะเร็งออกทั้งอันหรือบางส่วน เช่น ตัดไต อัณฑะข้างที่เป็นออกไป
หรือตัดอวัยวะเพศออกทั้งหมด
-
หรือบางส่วน
-
-
ผ่าตัดโดยวิธีส่องกฃ้องใช้ไฟฟ้า เช่นในมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก
-
-
ตัดอัณฑะออกทั้ง 2 ข้าง หรือรับประทานฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ในรายที่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก
-
ข.
เคมีบำบัด
-
-
โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือด เช่น ในมะเร็งของอัณฑะ ไต กระเพาะปัสสาวะ
ส่วนการใส่ยาเข้าไปใน
-
กระเพาะปัสสาวะนั้น
ใช้ในกรณีที่เป็นมะเร็วของกระเพาะปัสสาวะ
-
ค.
รังสีรักษา
-
ง.
รังสีรักษาร่วมกับการผ่าตัดและเคมีบำบัด
-
การป้องกัน
-
1.
รักษาความสะอาดอวัยวะเพศ ในกรณีหนังหุ้มลึงค์ไม่เปิด
ควรผ่าตัด ขลิบหนัง เพื่อจะได้ทำ ความสะอาดได้ทั่วถึง
-
เป็นการป้องกันมะเร็งขององคชาติ
-
2.
หลีกเลี่ยงสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งและมลภาวะที่เจือปนอยู่ในอาหาร น้ำ และอากาศ
-
3.
งดสูบ ดมควันบุหรี่ หรือบริโภคอาหาร เนื้อที่ไหม้เกรียม อาการที่มีไขมันสูง
-
4.
บริโภคผักและอาหารทีมีใยพืชมาก ๆ
-
5.
หากมีก้อนเนื้อผิดปกติ หรือแผลเรื้อรังควรรีบรักษา
6.
ลูกอัณฑะที่ไม่ลงในถุงอัณฑะ ควรรีบปรึกษาแพทย์
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
3
July 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.