Thaiclinic.com

Thaiclinic Logo bannermedbiblewelcomeclr.gif (19991 bytes)
Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspaceup.gif (292 bytes)Contact Me,Dr.OU

การใช้ยากันแดด

 

 ทุกคนทราบดีแล้วว่าแสงแดดมีประโยชน์อะไรกับเราบ้าง แต่แสงแดดทำให้เกิดผลเสียกับเราหลายอย่าง

  • ทำให้ผิวไหม้เเดด
  • ทำให้เกิดฝ้าเเละกระ
  • ทำให้ผิวเหี่ยวเเก่
  • ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง
  • ทำให้เกิดหรือกระตุ้นโรคผิวหนังอักเสบและ โรคทางระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด

วิธีป้องกันแสงแดด

  1. หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลาที่มีแดดจัดมากๆ สำหรับประเทศไทย อาจต้องหลีกเลี่ยงตั้งแต่ 8.30-16.30 น.(เวลาทำงานราชการพอดีครับ) 

  2. สวมใส่เสื้อผ้า หมวก แว่นกันแดด กางร่ม

  3. ใช้ยากันแดด

  4. ห้ามอาบแดดหรือรับบริการฉายแสงให้ผิวเป็นสีแทน

สารกันแดดมีกี่ชนิด

สารกันแดดสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

  1. Physical Sunscreen (สารกันแดดสะท้อนแสง)
    เป็นสารเพิ่มคุณสมบัติสะท้อนแสง ส่วนมากไม่ทำปฏิกิริยาการแพ้กับผิวหนัง เช่น Titanium Dioxide(TiO2), Zinc Oxide (ZnO) เป็นต้น สารในกลุ่มนี้สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA,UVB,Visible Light และ Infrared Light

  2. Chemical Sunscreen(สารกันแดดดูดแสง) เป็นสารที่สามารถดูดซับพลังงานของแสงแดดไว้ก่อนที่แสงแดดจะผ่านลงไปที่ผิวหนัง สารในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ซึ่งสามารถดูดซับพลังงานในช่วงที่ต่างกันและอาจทำให้เกิดการแพ้ยาได้

วิธีการเลือกใช้ยากันแดด
              
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีต่างๆ สามารถกันแดดที่ดีขึ้น เช่น สารในกลุ่ม Physical Sunscreen ที่สามารถกันแดดได้ดี และหน้าไม่ขาว หรือ การใช้ยากันแดดทั้ง 2 กลุ่ม (Physical and Chemical Sunscreen) ผสมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการป้องกันแสงแดด

หลักในการเลือกและใช้ยาทากันแดด

สิ่งที่ดีที่สุดในการป้องกันแสงแดด คือ การหลีกเลี่ยงแสงแดด แต่ในบางกรณี เราจำเป็นต้องโดนแสงแดด เราจึงควรรู้จักการเลือกใช้ยากันแดดดังนี้

1. พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับตนเอง โดยคำนึงถึง

  • อาชีพ ลักษณะงาน

  • กีฬา หรือ กิจกรรมต่างๆ

  • ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือการแพ้หรือเปล่า

2.โดยทั่วไปยากันแดดควรมีค่าป้องกันแสงแดด(SPF) เท่ากับหรือมากกว่า 15
3.ควรป้องกันทั้ง UVA และ UVB
4.ไม่ควรใช้ยากันแดดที่มีน้ำหอม เพราะว่าน้ำหอมสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย
5.ควรทาหนากว่าทาครีมทั่วไปเล็กน้อย
6.เมื่อมีเหงื่อหรือโดนน้ำควรทายากันแดดซ้ำ หรือใช้ยากันแดดที่สามารถกันน้ำได้

โดย  นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์   แพทย์ผิวหนัง

Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspacebottom.gif (372 bytes)Contact Me,Dr.OU

This web is created and designed by หมออู๋
26 October 2000

Copyright (c) 1998-2000, ThaiClinic.com. All Right Reserved.