mainpageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineContact Me

10คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับ รังสี

1.จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองโดนรังสีที่มีอันตราย
2.รังสีที่เป็นข่าวต่างกับรังสีจากไมโครเวฟหรือไม่ และต่างจากรังสีอื่นๆอย่างไร,ห่างเท่าไรถึงปลอดภัย?
3.ถ้าถ่ายเอ็กซเรย์บ่อยๆจะได้รังสีชนิดนี้ด้วยหรือไม่
4.ถ้าบ้านอยู่ในละแวกใกล้ๆและมีภรรยาตั้งครรภ์และมีเด็กเล็กๆในบ้านจะมีผลกระทบอย่างไร
5.ทำไมต้องแยกผู้ได้รับรังสีออกจากผู้ป่วยอื่นๆหรือผู้ป่วยจากรังสีจะมีการแผ่รังสีหรือไม่
6.ถ้าไปเจาะเลือดตรวจแล้วแพทย์บอกว่าปกติ,แพทย์ดูที่อะไรและจำเป็นต้องตรวจเลือดซ้ำหรือไม่ ,นานเท่าไร
7.ถ้าผมเป็นเจ้าหน้าที่พยาบาลที่พบผู้ป่วยที่สงสัยได้รับรังสีมากเกินขนาด,ผมควรทำอย่างไรเบื้องต้น
8.ทำไมผู้ป่วยจากรังสีต้องถูกตัดมือหรือนิ้ว,เป็นผลจากรังสีหรืออื่นๆ
9.ที่บอกว่าถ้าโดนรังสีแล้วจะเป็นมะเร็งเกี่ยวกับรังสีชนิดนี้หรือไม่
10.มีการขจัดสารรังสีที่ผู้ป่วยได้รับหรือไม่

สวัสดีครับ 

1.จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเอง
โดนรังสีที่มีอันตราย 

ตอบ:
การสังเกตตนเองง่ายๆโดยใช้อาการแสดง,เช่นในกรณีที่สัมผัสกับวัตถุต้องสงสัย แล้วอีก2-3วัน ต่อมามีผื่นหรือตุ่มพองคล้ายโดยน้ำร้อนลวก คลื่นไส้อาเจียนพร้อมกับซีด, เลือดออก ผิดปกติ, และผมร่วงในกลุ่มนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มได้รับรังสีรุนแรง เฉียบพลัน 
ส่วนในกลุ่มที่ได้รับน้อยๆแต่ได้นานๆ อาจไม่มีอาการแสดงเบื้องต้น, แต่จะมาพบแพทย์ในปัญหาไข้ ,ติดเชื้อและไขกระดูกไม่ทำงานหรือ มะเร็งของระบบเลือดครับ
 
2.รังสีที่เป็นข่าวต่างกับ รังสีจากไมโครเวฟหรือไม่ และต่างจากรังสีอื่นๆอย่างไร, ห่างเท่าไรถึงปลอดภัย?  ตอบ: 
รังสีมีหลายชนิด, รังสีจากCobolt60อยู่ในพวกมีประจุกลุ่มรังสีเบต้าซึ่งมีการทะลุทะลวงสูง (การลดความแรงของรังสีลงครื่งหนึ่งต้องใช้ผนังคอนกรีตหนา 2.45นิ้วหรือ ตะกั่วหนา11มิลลิเมตร) 
ในขณะที่รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดและรังสีจากไมโครเวฟจัดอยู่ใน พวกไม่มีประจุ,จึงไม่อยู่ใน กลุ่มรังสีอันตราย 

ห่างเท่าไรปลอดภัย-บอกได้ยากครับขึ้นอยู่กับการตรวจวัดระยะห่างโดยใช้เครื่อง Geiger-Mueller -Counter ,or,Scintillation -detectorsครับ 

 
3.ถ้าถ่ายเอ็กซเรย์บ่อยๆ จะได้รังสีชนิดนี้ด้วยหรือไม่  ตอบ: 
เป็นรังสีชนิดเดียวกันแต่จำนวนน้อยกว่ามาก 
 
4.ถ้าบ้านอยู่ในละแวกใกล้ๆและ มีภรรยาตั้งครรภ์และมีเด็กเล็กๆ ในบ้านจะมีผลกระทบอย่างไร 
ตอบ: 
มีรายงานของความผิดปกติของสติปัญญาในเด็กที่เกิดจากมารดาที่ได้รับสารกัมมันธภาพรังสี (จากระเบิดปรมาณูในญี่ปุ่นและโรงงานไฟฟ้าปรมาณูรั่วที่รัสเซีย) 
เด็กมีความเสี่ยงต่อมะเร็งสูงเช่นเดียวกับผู้ใหญ่และผลกระทบอื่นๆใกล้เคียงกันเช่นเป็นหมัน, เม็ดเลือดขาวลดลง 
 
5.ทำไมต้องแยกผู้ได้รับรังสี ออกจากผู้ป่วยอื่นๆหรือ ผู้ป่วยจากรังสีจะมีการแผ่รังสีหรือไม่ ตอบ: 
ผู้ป่วยจะไม่มีการแพร่รังสีจากตัวเอง,แต่ในรายที่กินสารรังสีเข้าไปก็จะตรวจพบได้ในอุจจาระ, ปัสสาวะและ น้ำล้างกระเพาะ 
ส่วนใหญ่การแยกผู้ป่วยได้รับรังสีจากผู้ป่วยอื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติมเพราะไขกระดูก ของผู้ป่วยจากรังสีมีการสร้างเม็ดเลือดขาวน้อยลงหรือไม่ได้เลยจึงทำให้กำจัดเชื้อโรคไม่ได้ 
 
6.ถ้าไปเจาะเลือดตรวจแล้ว แพทย์บอกว่าปกติ,แพทย์ดูที่อะไร และจำเป็นต้องตรวจเลือดซ้ำหรือไม่ ,นานเท่าไร  ตอบ: 
การตรวจเลือดระยะแรกเพื่อดูเม็ดเลือดขาวว่าจำนวนปกติหรือไม่ และควรตรวจซ้ำ ในอีก 48ชั่วโมงถัดไป หลังสัมผัส 
ส่วนเม็ดเลือดแดงจะไม่ลดในตอนแรกแต่จะลดใน2-4สัปดาห์ต่อไป (เพราะช่วงชีวิตของเม็ดเลือดแดง ยาวกว่าประมาณ120วัน) 
 
7.ถ้าผมเป็นเจ้าหน้าที่พยาบาล
 ที่พบผู้ป่วยที่สงสัยได้รับ
รังสีมาก เกินขนาด,
ผมควรทำอย่างไรเบื้องต้น 
ตอบ:
ในรายสงสัยว่าผู้ป่วยจะสัมผัสสารรังสี,ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่และ  เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ คิดว่าปนเปื้อน 
รังสีบางชนิด(neutron)จะมีการจับที่ส่วนโลหะที่ติดตัวผู้ป่วยดังนั้นต้อง ระวังโลหะเช่นหัวเข็มขัด, กระดุม,แหวน ด้วยครับว่าจะเป็นตัวแพร่รังสี (ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจากรังสีจะไม่เป็นตัวแพร่รังสี)

การเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาวควรเก็บเลือดบางส่วนเพื่อตรวจHLA (ใช้ในการตรวจกรุปในเลือด เพื่อเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก)ด้วย 
ในกรณีไม่ทราบว่าเป็นรังสีชนิดใดควรใช้เครื่องตรวจวัดรังสีที่ตัวผู้ป่วยเนื่องจาก ผู้ป่วยบางรายอาจได้สารรังสีโดยการกิน,ชื่งในกรณีที่เกิดจากการกินการรักษา โดยการสวนล้างกระเพาะอาหาร ก็มีประโยชน์ 

 
8.ทำไมผู้ป่วยจากรังสี ต้องถูกตัดมือหรือนิ้ว, เป็นผลจากรังสีหรืออื่นๆ  ตอบ: 
ผลจากรังสีเองส่วนหนึ่งทำให้เซลในร่างกายตายโดยเฉพาะเซลของหลอดเลือด เล็กๆหรือมีการบวม ของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นมากทำให้อวัยวะนั้นไม่มีเลือดไปเลี้ยง 
ซึ่งผลที่ตามมาจะทำให้ติดเชื้อและแพร่กระจายต่อไปทั่วร่างกายได้
 
9.ที่บอกว่าถ้าโดนรังสีแล้ว จะเป็นมะเร็งเกี่ยวกับรังสี ชนิดนี้หรือไม่  ตอบ: 
มีรายงานของมะเร็งในระบบน้ำเหลืองมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ป่วยจากการได้รับสารรังสีและ บางรายงานมีมะเร็งของผิวหนัง,มะเร็งของต่อมธัยรอยด์ 
ดังนั้นการนัดผู้ป่วยที่สัมผัสมาตรวจเป็นระยะมีความสำคัญแม้ว่าไม่มีอาการผิดปกต ิในช่วงแรกแล้ว
 
10.มีการขจัดสารรังสี ที่ผู้ป่วยได้รับหรือไม่  ตอบ: 
สำหรับCobolt60ไม่มีครับ
แต่ถ้าเป็นโลหะหนักกัมมันตรังสีตัวอื่นการให้สารกำจัดอาจมีประโยชน์ เช่นในรายได้รับMercury203,Iodine131,cesim137 ในระยะแรกที่ได้รับเพื่อเพิ่มการขับถ่ายออกครับ

 
โดย  นพ.ธีระ กลลดาเรืองไกร  อายุรแพทย์พิษวิทยา


Related Article

MainpageWhat's NewMedical BibleClinic Onlinecontact Me

This Web Page Design & Created  by  Dr.OU
1 March 2000

Copyright (c) 1998-2000. ThaiClinic.com. All rights reserved.