ถ้ากินยาไปแล้ว
2 ปี ไม่สามารถหยุดยาได้ จะทำอย่างไร?
คำตอบ
ก็มีให้เลือก 2 ประการคือ เลือกจะกินยาต่อไป
ก็ไม่เสียหายอะไร
โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของธัยรอยด์เป็นพิษได้
ในขนาดยาต่ำ ๆ
ก็ไม่มีผลข้างเคียงอะไรที่ร้ายแรง
นอกจากนี้ ผู้ที่กินยาต้านธัยรอยด์นานขึ้น
ก็มีโอกาสที่โรคจะสงบเองมากขึ้นไปด้วย
(ยืนยันแล้วจากการศึกษาในต่างประเทศ
ยิ่งกินยานาน
ยิ่งทำให้โรคสงบได้มากและนาน)
หรือเลือกอย่างที่สอง
คือ เลือกจะทำลายต่อมธัยรอยด์ ด้วยการกินสารไอโอดีนกัมมันตรังสี
ซึ่งมีความปลอดภัยมาก
ผลของรังสีต่อร่างกายนั้นน้อยมาก เนื่องจากไอโอดีนรังสี
จะถูกต่อมธัยรอยด์จับไปจนเกือบหมด
ส่วนที่เหลือร่างกายได้รับรังสี
เทียบเท่ากับการถ่ายภาพรังสีเพียง
4-5 ฟิล์ม เท่านั้น ซึ่งปลอดภัยมาก
ข้อดีคือ
ผู้ป่วยจะหายจากธัยรอยด์เป็นพิษได้ง่ายกว่า
และหายสนิทได้
(หรือถ้ากินแล้วไม่พอ
คืออาการยังไม่หายสนิท
ก็กินเพิ่มได้ด้วย)
ข้อเสียคือ
ผู้ที่กินไปแล้วจะมีโอกาสเกิดต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
(hypothyroidism) ได้
เพราะเนื้อต่อมถูกทำลายไปมากกว่าที่คำนวณได้
(ซึ่งการคำนวณเป็นการประมาณคร่าว ๆ
ต่อมของแต่ละคนมีการทำงานมากน้อยต่างกัน)
จำเป็นต้องกินธัยรอยด์ฮอร์โมน
เสริมเข้าไปแทน
ซึ่งก็กินง่ายกว่าการกินยาต้านธัยรอยด์ คือเฉลี่ย วันละ 1-2
เม็ดเท่านั้น
การกินก็ง่าย แพทย์จะคำนวณปริมาณสารรังสี จากขนาดต่อม
การทำงานของต่อม
กินแล้วกลับบ้านได้ หมอจะนัดมาตรวจอีกที
แต่วิธีนี้มีแต่ในรพ.ใหญ่
ๆ เช่น ศิริราช, จุฬา, รามา,... เท่านั้น
สรุป
แล้วแต่ความชอบ
และดุลยพินิจของแพทย์และผู้ป่วยร่วมกัน
ถ้าต่อมโตมากกินยาต้องในขนาดสูง
ลดยาลำบาก ก็กินน้ำแร่ดีกว่า
แต่ถ้าสามารถควบคุมอาการและเหลือการกินยาวันละ
1-2 เม็ด ก็ไม่ต่างกัน
เพราะการกินน้ำแร่
ในที่สุดก็ต้องกินฮอร์โมนวันละ 1-2 เม็ดเหมือนกัน
โดย
นพ.มานพ
พิทักษ์ภากร อายุรแพทย์
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
15
July 1999
Copyright (c) 1998-1999. ThaiClinic.com. All rights reserved.