คอเลสเตอรอลกับไตรกรีเซอไรด์
สองตัวนี้ต่างกันยังไงครับ
ตัวไหนทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ
แล้วจะมีวิธีลดเจ้าสองตัวนี้ได้ยังไงครับ
ทั้งสองตัวเสี่ยงต่อเส้นเลือดหัวใจตีบ
ครับ แต่การศึกษากับประชากรกลุ่มใหญ่
คอเลสเตอรอลสูงจะมีความเสี่ยงชัดเจนมากกว่า
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ได้แก่
1. ชายอายุเกิน 45 ปี หญิงอายุเกิน 55 ปี
2. สูบบุหรี่
3. มีโรคเบาหวาน
4. มีโรคความดันเลือดสูง
5. มีไขมันชนิด
LDL ในเลือดสูงเกิน 160 mg/dl
6. มีไขมันชนิด
HDL ในเลือดต่ำกว่า 35 mg/dl
7. มีประวัติในครอบครัว
(ข้อยกเว้น สำหรับผู้ที่มี HDL เกิน 60 สามารถหักปัจจัยเสี่ยงออกได้ 1 ข้อ)
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงมากเท่าไหร่ ย่อมมีโอกาสเกิดได้มากเท่านั้นครับ
สำหรับ
อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ระยะแรกได้แก่
เจ็บหน้าอก แน่น ๆ เหมือนของหนักกดทับ
เกิดขึ้นบริเวณกลางอก อาจร้าวมาที่คาง หรือกระจายไปที่แขนซ้ายโดยเฉพาะด้านใน เกิดขึ้นขณะที่ออกกำลัง
และอาการ นี้ทำให้ผู้ป่วยหยุดกิจกรรมนั้น หลังจากนี้อาการจะหายไปได้เองใน 3-5 นาที
สำหรับ
การปฏิบัติตัว
ขณะยังไม่มีโรคก็คือ พยายามกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ให้ได้ สำหรับเพศ และประวัติครอบครัว
คงเปลี่ยนไม่ได้ แต่เรา
สามารถเลี่ยง
การสูบบุหรี่, ควบคุมเบาหวาน, ความดันเลือดสูง
และระดับไขมันในเลือดได้
ควร
เริ่มควบคุม
อาหาร
โดยลดของมัน, ไข่แดง เครื่องในสัตว์ พยายามปรับเปลี่ยนวิธีปรุงอาหาร เช่น
จากทอดหรือผัด เป็นนึ่ง, อบ, ย่าง, ต้ม บ้าง และรับประทานผัก
และผลไม้ให้มาก
ออกกำลังกายสม่ำเสมอให้เหงื่อออก อย่างน้อย 30 นาที
ต่อวัน
สำหรับการตรวจเลือดต่อไป ควรตรวจหลังจากควบคุมอาหารแล้ว
ประมาณ 3 เดือน และควรตรวจ HDL ด้วย
เพื่อดูค่า LDL ว่าสูงหรือไม่
(
ปัจจัยเสี่ยงจริง ๆ อยู่ที่ LDL ไม่ได้อยู่ที่ cholesterol ครับ
) โดยคำนวณจาก
สูตร
LDL
= cholesterol - HDL - (triglyceride/5)
ถ้า triglyceride ไม่เกิน 400
ค่านี้จะใช้ได้ถูกต้องครับ
เป้าหมายระดับ LDL ที่พอใจขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงครับ
ถ้ามีไม่เกิน 2 ข้อ ยอมรับระดับ LDL
ไม่เกิน
160 ครับ
แต่ถ้าเกิน 2 ข้อ ยอมรับระดับ LDL เหลือ
ไม่เกิน
130
ถ้ามีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว ยอมรับ LDL
ไม่เกิน
100 ครับ
โดย
นพ.มานพ พิทักษ์ภากร
อายุรแพทย์
This Web Page Design & Created by
Dr.OU
3 Aug 1998
Powered by
Copyright (c) 1998.
ThaiClinic.com
. All rights reserved.