mainpageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineContact Me

โรคหวัดมรณะ (SARS)
อาหารเสริม บำรุงผิว ไขมัน ยา epo


ขณะนี้ เชื้อไวรัสที่มีลักษณะคล้ายโรคปอดอักเสบ กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 75 ราย และติดเชื้อโรคอีกว่า 2000 ราย ( 3 เมย. 2546)
โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเอเชีย โรคนี้ เป็นอย่างไร มาติดตามจากคำถามที่ถูกถามบ่อย ๆ กันครับ

โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือที่เรียกว่า SARS คืออะไร

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า โรค SARS ( Severe Acute Respiratory Syndrome)  เกิดจากไวรัสพันธุ์ใหม่ ที่มาจากตระกูล coronavirus
ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหวัดธรรมดา หรือ Common cold นั่นเอง แต่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ
ของสหรัฐระบุว่ามีหลักฐานมากยิ่งขึ้นที่บ่งชื้ว่า ไวรัสชนิดนี้
เป็นต้นเหตุสำคัญของSARS แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ยังมีงานในห้อง lab
ที่ต้องทำอีกมากเพื่อระบุลักษณะที่แน่ชัดของไวรัสนี้ และการพัฒนาวัคซีน ของโรคนี้ จะต้องใช้เวลาอีกหลายปี ทางด้าน
องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคนี้มีต้นกำเนิดมากจากมลฑลกวางตุ้งของประเทศจีน
ก่อนจะแพร่ระบาดไปที่ฮ่องกง และต่อมาที่เวียดนาม สิงคโปร์ และแคนาดา โดยต่อมามี
ผู้พบโรคนี้ในที่อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงในสหรัฐ ฝรั่งเศส อังกฤษ ไต้หวัน
และเยอรมนี ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ฮ่องกง และองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เชื้อนี้
อาจมีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ ถึงแม้ไวรัสชนิดนี้ ดูไม่เหมือนกันเชื้อไวรัสในคนหรือสัตว์
ที่เป็นที่รู้จักกันก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในฮ่องกงกล่าวว่า
เชื้อนี้ไม่มีความเกี่ยวพันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ A และ B และเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1
ที่สามารถก้าวข้ามสายพันธุ์มายังมนุษย์จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในฮ่องกงไปแล้วเมื่อปี 1997
เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของฮ่องกงกล่าวว่า SARS เป็นชนิดหนึ่งของโรค atypical pneumonia
ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสเช่นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ adenovirus และไวรัสทางเดินหายใจประเภทอื่น นอกจากนี้
atypical pneumonia ยังอาจเกิดจากจุลชีพประเภทอื่น ๆ เช่น Legionella Bacteria
และ องค์การอนามัยโลกระบุว่า ไม่มีสัญญาณบ่งชื้ว่า SARS มีความเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายทางชีวภาพ

อาการของโรคเป็นอย่างไร

องค์การอนามัยโลก บอกว่า อาการหลัก ๆ ของ SARS คือ ไข้
สูง ไอแห้ง หอบ หรือหายใจลำบาก
นอกจากนี้ จะมีผลเอ็กซเรย์ปอดที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคปอดอักเสบเกิดขึ้นมาด้วย SARS อาจจะเกี่ยวพันกับ
อาการอื่น ๆ อีกเช่น หนาวสั่น ปวดหัว กล้ามเนื้อแข็ง เบื่ออาหาร
ครั่นเนื้อครั่นตัวสับสน มีผื่นคัน และท้องเสีย
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า
โรคนี้ใช้เวลาในการฟักตัวราว 2 –7 วัน โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลา 3 – 5 วัน ก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ
คล้ายหวัดออกมา

โรคนี้อันตรายมากแค่ไหน

อัตราการเสียชีวิตของโรคนี้ อยู่ในระดับ 3-5 %
โดยในฮ่องกงนั้น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ ต่างแสดงอาการปอดอักเสบรุนแรง เหมือนกันหมด
และอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนมากมายตามมา โดยผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็วมาก ใช้
เวลาเพียงแค่ 5 วันเท่านั้น

ผู้ป่วยจะได้รับการบำบัดรักษาอย่างไร

ในขณะนี้ ไม่มีวิธีการบำบัดรักษาที่เฉพาะ
เจาะจง สำหรับโรคดังกล่าว แต่คณะแพทย์ทั่วโลกกำลังทำการรักษาด้วยยา ribavirin
ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสประเภทหนึ่ง และยาสเตียรอยด์ โดยคณะแพทย์กล่าวว่า ถ้าหากผู้
ป่วยที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงอย่างอื่น สามารถได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ
ก็อาจจะหายได้ ซึ่งแพทย์ชั่นนำของฮ่องกงรายหนึ่งกล่าวว่า
ผู้ป่วยบางคนที่มีอาการหนักที่สุดในฮ่องกง กำลังได้รับการรักษาอย่างประสบผลสำเร็จ โดยการใช้แอนติบอดี้ ในเซรุม
จากผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น ซึ่งการใช้แอนติบอดี้ บ่งชี้ว่า ผู้ที่มีอาการดีขึ้น
สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ระดับหนึ่งในอนาคต แต่ผู้เชี่ยวชาญบางรายไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้
ที่ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้ จะกลับมาติดเชื้อซ้ำอีก

โรค SARS แพร่ระบาดอย่างไร

องค์การอนามัยโลก และผู้เชี่ยวชาญของฮ่องกงกล่าว
ว่า ไวรัสดังกล่าว แพร่ระบาดผ่านทางละอองที่เกิดจากการจามหรือไอ และการติดเชื้อ
โดยตรงดังกล่าวมักเกิดขึ้นภายในรัศมี 3 ฟุต หรือ 1 เมตร
ไวรัสนี้ยังสามารถแพร่กระจายทางอ้อม เนื้องจากสามารถมีชีวิตภายนอกร่างกายมนุษย์เป็นเวลา 3-6 ชั่วโมง การ
สัมผัสกับวัตถุใด ๆ ที่ปนเปื้อนละอองที่มีไวรัสดังกล่าว เช่น
โทรศัพท์ที่ปนเปื้อนเชื้อ อาจนำไปสู่การติดเชื้อหากบุคคลนั้นสัมผัสดวงตา จมูก หรือปาก นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านสาธารณะสุขไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ว่า ไวรัสนี้อาจแพร่กระจายทางอากาศซึ่ง
เพิ่มความรุนแรงของการติดเชื้ออย่างมาก และจึงทำให้ยากต่อการควบคุม

ไวรัสนี้แพร่ระบาดได้รวดเร็วแค่ไหน

องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า SARS
ดูเหมือนจะมีความสามารถในการติดเชื้อน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่ และไม่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง
หากมีการใช้มาตราการป้องกัน ขณะที่หัวหน้าฝ่ายสาธารณะสุขของฮ่องกง กล่าวว่า มี
การติดเชื้อในระดับสูง และเจ้าหน้าที่ฮ่องกงกล่าวว่า
สามารถฆ่าไวรัสนี้ได้ด้วยการใช้น้ำผสมนำยาฟอกขาวผ้าที่ใช้กันโดยทั่วไป

เชื้อไวรัส SARS นี้ แพร่กระจายไปทั่วโลกได้อย่างไร

ความรวดเร็วในการเดินทาง
ระหว่างประเทศก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อนี้ไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีผู้ติดเชื้อเดินทาง
เขาสามารถแพร่กระจายเชื้อนี้ให้แก่ผู้โดยสารคนอื่นบนเครื่องบินลำเดียวกัน และยังสามารถแพร่ไปยังผู้ที่อยู่ในจุดหมายปลายทางของ
เขา

ใครมีโอกาสติดเชื้อนี้มากที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญจากฮ่องกงบอกว่า
เชื้อนี้มักอยู่ในของเสียเช่น เสมหะ หรือเสลด ขณะที่ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยหนักและต้องนำส่งโรงพยาบาล ดัง
นั้น เชื้อไวรัสนี้
จึงมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่ให้การรักษาผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วย

ผู้ติดเชื้อควรได้รับการดูแลอย่างไร

องค์การอนามัยโลกบอกว่า
ควรจัดให้อยู่ในห้องที่แยกต่างหาก และเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขและผู้มาเยี่ยมควรสวมหน้ากาก แว่นตา ผ้า
กันเปื้อน ผ้าคลุมศีรษะ และถุงมือเมื่อสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย

การเดินทางในขณะนี้ปลอดภัยหรือไม่

องค์การอนามัยโลก ไม่ได้แนะนำให้มีการจำกัด
การเดินทางไปยังประเทศใด ๆ ในโลก อย่างไรก็ตาม ผู้เดินทางทุกคนควรตระหนักถึง
อาการและสิ่งบ่งชี้ของโรค SARS และผู้ที่เคยมีอาการเหล่านี้
และเคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ มีประวัติหรือเคยเดินทางไปพื้นที่ ๆ มีผู้ป่วย
และมีการแพร่ระบาดของโรค ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขทราบ
ถึงข้อมูล และผู้เดินทางที่มีอาการเหล่านี้ ไม่ควรจะเดินทางอีก
จนกว่าจะฟื้นตัวขึ้นอย่างเต็มที่

คำแนะนำอื่นๆ

เท่าที่ฟังดูเหมือนว่า โรคนี้ติดต่อค่อนข้างง่าย นั่นคือ ถ้าไม่จำเป็นในช่วงนี้ ไม่ควรไปในที่ๆ มีคนมากๆ แออัด เช่น โรงภาพยนตร์  ห้างสรรพสินค้า โดยไม่จำเป็น  โดยเฉพาะเด็กหรือคนแก่ ไม่ควรไปได้ยิ่งดีครับ

ในส่วนของหน้ากาก ถ้ามีอาการหวัดควรใส่หน้ากาก (mask) เพื่อไม่ให้ฟุ้งกระจายไปหาคนอื่น แต่ในส่วนของการป้องกัน ต้องใช้ หน้ากาก แบบ N95 เป็นอย่างน้อย  หน้ากากผ้า หรือ หน้ากากกระดาษทั่วไป ไม่สามารถกันโรคได้ ถ้าเกิดต้องไป contact โรคจริงๆ เช่นไปเยี่ยมญาติ ที่ป่วยด้วยโรคนี้ หรือ เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุข ฯลฯ

ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบไปหาแพทย์ และ ปฎิบัติตามที่แพทย์บอกอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในเรื่องของ การกักตัวเพื่อดูอาการครับ เพราะ ถ้าทุกคนไม่ร่วมมือโรคจะยิ่งแพร่กระจาย และ เกิดผลร้ายตามมาครับ

ท่านสามารถติดตามเรื่องนี้เพิ่มเติมได้จาก website ของกระทรวงสาธารณสุข ครับ

โดย นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์

MainpageWhat's NewMedical BibleClinic Onlinecontact Me

This Web Page Design & Created  by  Dr.OU
3 April 2003

Copyright (c) 1998-2003. ThaiClinic.com. All rights reserved.