สวัสดีครับ
โดยทั่วไปเนื้องอกมดลูก
โอกาสเป็นเนื้อร้าย(sarcoma)น้อยมาก จนห้ามเอาข้อบ่งชี้ว่าสงสัยเป็นมะเร็งมาใช้ในการผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เพราะจะทำให้ผู้หญิงกว่า ร้อยละ 50 ถูกผ่าตัด
ผู้หญิงทั่วไปกว่าร้อยละ 60 มีเนื้องอกมดลูก(myoma uteri or uterine fibroid or leiomyoma ) แต่มักจะไม่มีอาการ หรือ มีขนาดเล็กที่ตรวจไม่พบจากการตรวจภายในธรรมดา อาจเจอได้โดยบังเอิญจากการตรวจด้วย อัลตราซาวน์
โดยสรุป
จะทำการผ่าตัดก็ต่อเมื่อมีอาการ( symptomatic myoma uteri)
อาการ
โดยทั่วไปมีหลายอย่างเช่น
ก้อนโตเร็วมากกว่าปรกติ มีประจำเดือนผิดปกติ มีผลจากก้อนกดอวัยวะข้างเคียง มีบุตรยาก หรืออื่นๆ
การรักษา
เมื่อมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดแล้ว
การผ่าตัดจะแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
- การตัดแค่เนื้องอกออก(myomectomy)
จะทำในกรณีที่ต้องการมีบุตรอีก การผ่าตัดสามารถทำผ่าตัดผ่านทางช่องคลอด ผ่าตัดแบบส่องกล้อง หรือ วิธีปกติคือ เปิดหน้าท้อง
- การตัดมดลูก ( hysterectmy )
จะทำในกรณีที่ไม่ต้องการบุตรอีกต่อไป การผ่าตัดสามารถทำผ่าตัดผ่านทางช่องคลอด ผ่าตัดแบบส่องกล้อง หรือ เปิดหน้าท้อง
การจะเลือกวิธีใด ขึ้นกับ ความต้องการมีบุตร ขนาด ตำแหน่งของเนื้องอก และข้อมูลอื่นๆเพื่อประกอบการรักษา
คงไม่มีวิธีใดที่จะเหมาะสมกับผู้ป่วยทุกๆคน
โดย นพ.คมสันติ์
สุวรรณฤกษ์ สูติ-นรีแพทย์