สวัสดีครับ
คำถามนี้เทียบเคียงได้กับกรณี
"การใช้แก้วน้ำร่วมกัน หรือการจุมพิตกับผู้ป่วยเอดส์มีโอกาสติดเชื้อหรือไม่"
คำตอบก็เหมือนกันครับก็คือ แทบจะเป็นไม่ได้เลย คงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เชื้อ
HIV นั้นมีอยู่ตามสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยเกือบทุกชนิดตั้งแต่เลือด น้ำเหลือง
น้ำอสุจิ น้ำตา น้ำลาย ฯลฯ แต่จำนวนของไวรัสทีพบมีความมากน้อยต่างกันมากๆ
ในกรณีของน้ำลายนั้น จากการศึกษาพบว่าจำนวนเชื้อมีอยู่น้อยมากๆ
เมื่อเทียบกับในเลือด
การติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำลายของผู้ติดเชื้อนั้นแทบจะไม่มีความเป็นไปได้เลย
ถ้าจะให้เทียบคือคงต้องใช้น้ำลายเป็นลิตรๆ
ถึงจะมีจำนวนเชื้อมากพอที่จะทำให้เกิดการติดต่อแก่ผู้สัมผัสได้
กรณีของการถอนฟัน ถึงแม้การมีแผลเปิดจะสร้างโอกาสของการที่เชื้อจะสัมผัสกระแสเลือดได้โดยตรงก็ตาม
แต่การที่เชื้อไวรัสจำนวนหนึ่งจะก่อให้เกิดโรคในคนได้นั้น
แน่นอนต้องมีจำนวนมากพอที่จะต่อสู้กับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้าจะพูดให้ง่าย
ไม่ได้หมายความว่าการเชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสโลหิตจะก่อให้เกิดโรคได้ในทุกราย
แต่จำเป็นต้องมีเชื้อจำนวนที่มากพออีกด้วย
ดังนั้นจากที่กล่าวจำนวนเชื้อในน้ำลายของผู้ป่วยที่น้อยนิดนี้
ถึงแม้จะมีการสัมผัสกับแผลถอนฟันโดยตรง ก็ไม่น่าที่จะเล็ดลอดไปทำให้เกิดโรคได้
โดยเฉพาะที่คุณบอกว่าเป็นการใช้หลอดดูดน้ำ ไม่ได้เป็นการสัมผัสน้ำลายโดยตรง
โอกาสก็ยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่ หากการติดเชื้อจะเกิดผ่านแผลถอนฟันของคุณได้
คงต้องนำน้ำลายของคนไข้คนนั้น มาสัก 3-4 แกลลอน
จากนั้นนำมาสกัดเอาไวรัสที่มีอยู่น้ำลายนั้นมาทั้งหมด แล้วฉีดเข้าไปในแผลของคุณ
อย่างนี้ก็อาจจะติดได้ครับ
แต่อย่างไรก็ตาม
ถ้าเรารู้แน่ๆว่าแก้ว
หรือ
หลอดอันนั้นมีน้ำลายคนเป็นเอดส์
ก็ไม่ควรไปเสี่ยงครับ
โดย ทพ.สุรภูมิ
คลอศิริโรจน์
ทันตแพทย์ศัลยกรรมช่องปาก