สวัสดีครับ
ตอบทีละข้อนะครับ
- โรคตาบอดสีส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำการรักษาได้ครับ
- ตาบอดสีมีหลายระดับครับ บางชนิดความรุนแรงมากจนไม่สามารถแยกสีได้เลย บางชนิดมีความรุนแรงน้อย ทำให้ไม่มีปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน อาจมีเพียงแค่ แยกสีสีเดียวกันที่มีความอ่อนแก่ (ความเข้ม)ใกล้เคียงกันไม่ได้เท่านั้น ---
โรคตาบอดสีเขียว-แดง
ไม่จำเป็นต้องเป็นถึงขั้นไม่สามารถ
มองเห็นสีเขียวแดงได้เลยหรอกครับ แค่อาจจะบกพร่องไปเล็กน้อยเท่านั้น
- โรคตาบอดสี ส่วนใหญ่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมครับ และมักเป็นในผู้ชาย เนื่องจากชนิดที่พบมากที่สุด มักเป็นยีนส์ด้อยของโครโมโซม X ซึ่งผู้ชายจะมีโครโมโซมเพศ x เพียงอันเดียว (อีกอันเป็น y)ทำให้เมื่อได้ยีนส์ด้อยตัวนี้มาก็จะแสดงผลเลย แต่ผู้หญิงต้องมียีนส์ตัวนี้มาจากทั้ง 2 X ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นน้อยกว่า
อย่างไรก็ดี โรคนี้อาจเกิดขึ้นเอง (sporadic) ได้
และอาจเกิดขึ้นโดยไม่สามารถระบุ
ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เลยก็ได้ครับ
ในกรณีที่มีความรุนแรงมาก ทำให้แยกสีได้ไม่ดีแม้สีจะมีความแตกต่างกันมาก อาจมีผลต่อการประกอบอาชีพบางอย่างได้ครับ เช่น แพทย์ เภสัช ทันตะ เป็นต้น
ควรขอคำปรึกษาจากจักษุแพทย์ครับ ว่าปัญหานี้รุนแรงมากน้อยแค่ไหน ถ้าหมอเค้าบอกว่าไม่เป็นไร เป็นนิดเดียว ก็ขอใบรับรองแพทย์ไว้เลย (ถ้าลูกค่อนข้างโตแล้ว อยู่มัธยมอะไรอย่างนี้นะครับ ถ้ายังอยู่ประถมก็ออกจะเร็วไปหน่อย
; ) )
อย่าวิตกมากไปนะครับ โดยมากโรคจะไม่ค่อยรุนแรงถึงขนาดทำงานทำการไม่ได้หรอก
ผมก็มีเพื่อนเป็นหมอรุ่นเดียวกันที่ตาบอดสีแบบอ่อนๆ ก็ทำงานได้ดี ไม่มีปัญหา เรียนต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้สบาย
โดย นพ.ณวัฒน์
วัฒนชัย จักษุแพทย์