การปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด
ใครว่าคลอดแล้วเบาสบายหายเมื่อยและหมดภาระหนักที่ต้องอุ้มมาตั้งเก้าเดือนเสียที..จริง
ๆ แล้วเพิ่ม
จะเป็นการเริ่มต้นภาระใหม่ที่หนักกว่าอย่างมากเชียวละ
แม้จะเป็นภาระแห่งความสุขก็ตามที ก็เจ้าตัวน้อยตาแป๋ว ที่หลุดพ้นจากท้องออกมาอยู่ในอ้อมแขนคุณแม่นี่แหละ
เป็นผู้ที่จะอาศัยกำลังกายและใจอันสดชื่นแข็งแรงของคุณ ช่วยให้แกเจริญเติบโตต่อไปอย่างมีความสุข
-
ช่วงหลังคลอด
จึงเป็นระยะสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้เพราะคุณต้องมีการปรับตัวปรับใจ สร้างพลังที่พร้อม
-
จะรับภาระใหม่อย่างรวดเร็ว
มีหลายสิ่งที่คุณต้องปฏิบัติและทำความเข้าใจคุณ คุณอาจลืมนึกถึงบางอย่าง
-
ทั้งที่เป็นสิ่งที่ลืมไม่ได้
-
สาระทั้งหมดของจุลสารได้จาก
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
-
มหาวิทยาลัยมหิดล
จึงแน่ใจได้ว่าถูกต้องแน่นอนค่ะ
-
การปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด
ความสำคัญของระยะหลังคลอด
-
ระยะหลังคลอด
เป็นระยะของการปรับตัวของมารดาทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ทางจิตใจนั้นก็ต้องปรับ
-
สภาพชีวิตให้เป็นทั้งมารดาของชีวิตใหม่และเป็นภรรยาที่ดีของสามี
ในทางร่างกายนั้นธรรมชาติจะปรับสภาพของ
-
อวัยวะต่างๆ
ให้กลับสู่สภาวะปกติ ดังนั้นการปฏิบัติตนหลังคลอดที่ถูกต้องจึงจะทำให้สุขภาพของมารดามีความ
สมบูรณ์ทั้งจิตใและร่างกายทั้งในระยะนี้และในอนาคตภายหน้าเมื่อสูงวัยขึ้น
-
-
การรักษาสุขภาพจิต
-
ผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการรักษาสุขภาพจิตของมารดาหลังคลอดก็คือ
สามีซึ่งต้องเอาใจใส่ ให้กำลังใจ
-
และแสดงอาทรต่อทุกข์สุขของมารดาหลังคลอด
และคอยดูแลช่วยเหลือในการเลี้ยงบุตร ตลอดจนช่วยประกอบกิจ วัตรประจำวันจะทำให้มารดาคลายความว้าเหว่
คลายความเครียดและความกังวลในการปรับตนเองเพื่อ
-
ความเป็นมารดา
และ ความเป็นภรรยา ลงได้
-
-
อาหาร
-
ควรได้อาหารจำพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมากกว่าระยะตั้งครรภ์
เพื่อความสมบูรณ์ในการเลี้ยงบุตร
-
ด้วยนมมารดา
ไม่ควรงดอาหารโดยเด็จขาด และไม่ควรดื่มสุรา เบียร์ หรือเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
เช่น ยาดองเหล้า
-
-
กิจวัตรประจำวัน
-
ควรบริหารร่างกายบ้างเพื่อให้การปรี้กระเปร่าสดชื่นอยู่เสมอควรอาบน้ำสระผมไปตามปกติที่เคยปฏิบัติ
-
ไม่ควรอยู่ในสภานที่อับ
อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่ควรอยู่ไฟหรืออดของแสลง และไม่ต้องรับประทานยาขับน้ำคาวปลา
-
โ่ดยเด็ดขาด
-
-
การดูแลน้ำคาวปลาและฝีเย็บ
-
จะมีน้ำคาวปลาเป็นสีแดงในระยะแรกจะลดปริมาณลงเรื่อย
ๆ และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและจางจงจน
-
เป็นน้ำสีเหลือง
ๆ ภายใน 2-3 สัปดาห์ ควรใช้ผ้าอนามัยที่สะอาดรองรับน้ำคาวปลา และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย
-
ในระยะแรก
ต่อไปก็เปลี่ยนตามปกติ
-
ควรล้างแผลฝีเย็บด้วยน้ำอุ่นสะอาดแล้วซับให้แห้ง
ถ้าปวดแผลมากและแผลบวมแดง กดเจ็บ ควรรีบไป
-
พบแพทย์
เพราะอาจเกิดการอักเสบของแผลจากเชื้อโรค
-
-
การออกกำลังกาย
-
เมื่อสามารถช่วยตนเองได้คล่องแล้ว
ควรจะบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องด้วย เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
-
ลดไขมันที่สะสมอยู่หน้าท้องและเมื่อหายเจ็บแผลฝีเย็บ
ควรจะบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดและฝีเย็บ
-
การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องทำโดยนอนราบไปกับพื้นแล้วค่อย
ๆ ยกแขนทั้งสองข้าง ยกศีรษะและลำตัวลง
-
พยายามจรดปลายนิ้วมือให้แตะกับปลายนิ้วเท้า
บริหารครั้งละ 30-50 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มตัน 10-20 ครั้ง ในระยะแรกแล้วค่อย
ๆ เพิ่มขึ้น วิธีบริหารช่องคลอดและฝีเย็บก็ทำได้ด้วยการขมิบทวารหนักวันละหลาย
ๆ ครั้ง
-
ครั้งละประมาณ
50 ครั้ง
-
การบริหารร่างกายนี้ควรจะกระทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
และต่อเนื่องตลอดไป แต่ต้องอาศัยกำลังใจอย่างมาก
-
ซึ่งผู้ที่จะช่วยสนับสนุนการกระทำนี้ก็คือ
สามี
-
ก.
นอนราบบนพื้น
-
ข.
ยกศรีษะและลำตัวส่วนบนขึ้นตรง แขนชูขนานกับลำตัว
-
ค.
ก้มศรีษะและลำตัวส่วนบนหาหน้าขา และเยียดแขนให้ปลายนิ้วมือแตะกับปลายนิ้วเท้า
-
-
การร่วมเพศ
-
มารดาหลังคลอดทุกคนสามารถร่วมเพศได้
เมื่อน้ำคาวปลาหมดและไม่เจ็บแผลฝีเย็บ แต่ควรคุมกำเนิดทุกครั้ง
-
เพราะไข่อาจจะตกและเกิดการปฏิสนธิได้โดยที่ยังไม่มีระดู
วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมในระยะนี้คือการใช้ถุงคุมกำเนิด
-
-
การตรวจหลังคลอด
-
มารดาทุกคนควรได้รับการตรวจฟัน
ตรวจร่างกายและตรวจภายใน (คือการตรวจช่องคลอด ปากมดลูก
-
และรังไข่)
เมื่อครบเวลา 6 สัปดาห์หลังคลอด ที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข เพื่อตรวจสุขภาพของฟัน
-
ร่างกาย
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์และรับการคุมกำเนิด
-
-
การตรวจภายในประจำปี
-
มารดาทุกคนควรได้รับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี
เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นโ่ดยไม่มีอาการ
-
ปรากฎ
ที่สำคัญคือมะเร็งของปากมดลูก และมะเร็งของรังไข่
-
-
การรักษาสุขภาพของทารก
-
ควรนำทารกไปตรวจสุขภาพตามนัด
และรับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนดทุกครั้ง ควรเลี้ยงดูบุตรด้วยนม
-
มารดา
และให้รับประทานอาหารเสริมตามคำแนะนำของแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้ทารกได้รับอาหารตาม
ความจำเป็นอย่างครบถ้วน
-
-
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังคลอดควรกินยาขับน้ำคาวปลาหรือไม่?
-
น้ำคาวปลาเป็นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่สลายตัวออกมาหลังคลอดบุตร
ฉะนั้นจึงไม่ต้องรับประทานยาขับน้ำ
-
คาวปลาอย่างเด็ดขาด
เพราะการที่มีน้ำคาวปลามากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของโพรงมดลูก ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
ไม่ควรใช้ปริมาณน้ำคาวของผู้อื่นเป็นบรรทัดฐาน และยาขับน้ำคาวปลาทุกชนิดก็ไม่มีอานุภาพที่จะขับน้ำคาวปลา
-
ได้ทั้งยังอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ยา
เป็นอันตรายต่อมารดาได้
-
-
ควรอยู่ไฟหรือไม่?
-
ไม่ควรอยู่ไฟอย่างเด็ดขาด
เพราะนอกจากไม่มีประโยขน์อย่างใดต่อสุขภาพมารดาแล้ว การปฏิบัติ
-
ประเพณีนี้อย่างเคร่งครัดอาจจะนำอันตรายมาสู่มารดาได้
และอาจมีผลเสียต่อสุขภาพเมื่อสูงวัยขึ้น
-
-
ควรงดของแสลงหรือไม่?
-
ของที่แสลงควรงดเด็ดขาด
ได้แก่ ยาที่แพทย์ไม่ได้สั่ง เหล้า เบียร์ เครื่องดื่มหรือยาที่มีแอลกอฮอล์
เช่น ยา
-
ดองเหล้า
ส่วนอาหารอื่น ๆ ควรรับประทานตามที่แนะนำ ไม่ควรรับประทานข้าวกับเกลือหรือปลาเค็มแต่อย่างเดียว
-
-
อาบน้ำสระผมได้หรือไม่?
-
การอาบน้ำสระผมจะช่วยชำระคราบเหงื่อไคล
และความสกปรกหมักหมมของร่างกายและศรีษะ และทำ
-
ให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าฉะนั้นควรอาบน้ำสระผมไปตามปกติที่เคยปฏิบัติ
-
-
ร่วมเพศโดยที่ยังไม่มีระดูจะไม่ตั้งครรภ์?
-
การร่วมเพศทุกครั้งควรคุมกำเนิดไว้เสมอ
เพราะอาจจะมีไข่ตกได้ในระยะนี้ และตัวอสุจิจะเข้าไปผสม เกิด
-
ปฏิสนธิตั้งครรภ์ขึ้นได้
โดยปกติแล้วระดูจะปรากฏหลังไข่ตกราว 2 สัปดาห์ ฉะนั้นการที่ยังไม่มีระดูก็อาจจะมีไข่ตก
แล้ว เมื่อมีการร่วมเพศก็สามารถตั้งครรภ์ได้
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
1
July 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.