Marie Comelius กล่าวว่า
ผลกระทบของบุหรี่
ที่ผ่านเข้าไปในรกนั้นมีมากกว่าที่คิด
และที่สำคัญ คือมันสามารถไปสร้างนิสัยการสูบบุหรี่ให้กับเด็กเมื่อเขาเติบโตขึ้นมาได้
เพราะจาก การศึกษาครั้งนี้
ชี้ชัดว่า
การที่มารดาสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์
มีผลทำให้เด็กทดลองบุหรี่
ตั้งแต่ในวัยเยาว์
นอกจากนี้
พฤติกรรมดังกล่าวของมารดา
ยังส่งผลกระทบอื่น ๆ
ต่อเด็กอีกหลายอย่าง
นับตั้งแต่การทำให้เด็กเหล่านั้นมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
มีปัญหาในการเรียนรู้
โดยเฉพาะความสามารถ
ในการใช้ภาษา และการอ่าน
รวมไปถึงปัญหาด้านสุขภาพ
อย่างเช่นภาวะการติดเชื้อในปอดเป็นต้น
การศึกษาในครั้งนี้ทีมนักวิจัยได้เก็บข้อมูลจากเด็กอายุ
10 ปี จำนวน 589 คน โดยถามเด็ก ๆ
ว่า
พวกเขาเคยลองสูบบุหรี่บ้างหรือไม่
โดยเด็ก ๆ
เหล่านี้จำนวนกว่าครึ่งเป็นเด็กที่มีประวัติว่ามารดาสูบบุหรี่
ในระหว่างการตั้งครรภ์
ประมาณวันละ 15 มวน
และผลที่ได้จากการสอบถามนั้นคือ
มีเด็กเพียงร้อยละ 6
เท่านั้น ที่เคยสูบบุหรี่
และเด็กจำนวน 37คนในกลุ่มนี้
เป็นเด็กที่เคยได้รับบุหรี่ในระหว่างที่อยู่มรครรภ์
ยิ่งไปกว่านั้น
ยังพบด้วยว่าเด็กกลุ่มที่เคยสูบบุหรี่นี้
เป็นเด็กที่เหลวไหล
มีภาวะกดดันทางอารมณ์
และมีความเก็บกด
อย่างไรก็ตาม
เด็ก ๆ
ที่ระบุว่าตนเองเคยสูบบุหรี่นั้นส่วนใหญ่จะเคยทดลองสูบเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
Marie Comelius
ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า
ทีมนักวิจัย
ได้เคยทำการทดลองในหนูทดลอง
และสัตว์ทดลองชนิดอื่น ๆ
มาแล้ว และพบว่า
การสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อพัฒนาการและการเติบโต
ของสมองของตัวอ่อนในครรภ์
โดยจะเกิดความเสียหายขึ้นกับระบบประสาทส่วนกลาง
ซึ่งในภายหลัง
จะทำให้มีอากรหุนหันพลันแล่น
ไม่ใส่ใจต่อภาวะการต่าง ๆ
เท่าที่ควร มีความก้าวร้าว
เก็บกด
หรืออาจจะวิตกกังวลเกินเหตุได้
แม้ว่าจะมีคำเตือนเกี่ยวกับผลร้ายของการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์มาอย่างต่อเนื่อง
แต่ปัจจุบันยังพยว่า ร้อยละ
20
ของผู้หญิงตั้งครรภ์ในสหรัฐ
ยังคงสูบบุหรี่
Cover Story from CNN Health