Archives of Pediatrics & Adolescent
Medicine
ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยดังกล่าว
โดยระบุว่า เด็กในวัยประมาณ
2 ปี
มักจะเริ่มมีพฤติกรรมดื้อรั้น
ชอบทำอะไรโลดโผน
และหุนหันพลันแล่น แต่สำหรับเด็กที่มีประวัติมารดาสูบบุหรี่ในช่วงตั้งครรภ์นั้น
จะมีพฤติกรรมเหล่านี้มากกว่าเด็กอื่น
ๆ ถึง 4 เท่าตัว ซึ่งนักวิจัยบอกว่า
พฤติกรรมเหล่านี้น่าจะเกี่ยวพันกับปฏิกริยาเคมี
หลังจากที่ก่อนหน้านี้
มีความเชื่อว่า
พฤติกรรมเกิดจากเงื่อนไขทางสังคม
เช่น ความเครียดของแม่
บุคคลิกของผู้เลี้ยงดู
หรือแม้กระทั่งรายได้ของครอบครัว
Dr. Alan Leshner แห่ง National
Institute of Drug Abuse
ผู้ศึกษาแม่และเด็กเล็กจำนวน
๙๙ คู่ ได้กล่าวว่า
การสูบบุหรี่ของแม่
อาจจะไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กได้
เพราะทำให้เด็ก
ได้รับนิโคตินในระหว่างที่อยู่ในครรภ์
และภาวะดังกล่าว
จะไปลดปริมาณออกซิเจนที่จะเข้าสู่สมอง
ของทารก
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของ
Judith Brook และคณะจาก Mount Sinai School of Medicine
ใน New York ที่ระบุว่า
ปัญหาเรื่องพฤติกรรมเด็ก
มีความเกี่ยวพันกับการสูบบุหรี่ของมารดาจริง
และปัญหาดังกล่าวก็จะส่งผลกับเด็กไปจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย
Dr. Alan Leshner
กล่าวต่ออีกว่า การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์นั้น
ยังส่งผลต่อเด็กทารก
ในแง่อื่น ๆ อีกเช่น
นำหนักตัวแรกเกิดน้อย
คลอดยาก
ส่วนปัญหาพฤติกรรมระยะยาวของเด็กนั้นอาจรุนแรง
ถึงขั้นการก่ออาชญากรรมได้
สำหรับตัวเลขของหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ในสหรัฐนั้น
อยู่ที่ร้อยละ ๒๐
และหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่เหล่านี้
ก็ให้กำเนิดบุตรเป็นจำนวนถึง
800,000 คนต่อปี ซึ่ง Dr. Alan Leshner
เน้นว่า
ตัวเลขดังกล่าวนี้มีความสำคัญ
เพราะผู้หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่เหล่านี้
ไม่ได้ตระหนักในความเสี่ยง
ต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
Cover Story from CNN Health
http://www.cnn.com/2000/HEALTH/women/04/12/smoking.behavior.ap/index.html