ThaiClinic.com

Logo Thaiclinic.com bannerthaiclinicnewswelcomeclr.gif (15099 bytes)
Main PageWhat's New!!!Medical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiClinic Newsfoldspaceup.gif (292 bytes)Contact Me,Dr.OU

FDA ให้การรับรองยาเม็ดทำแท้ง
Abotion pill I RU-486 I drug I Mifeprex I pill I drug I pregnancy I Gynaecology I obstetics

เป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว ที่ผู้หญิงในยุโรปคุ้นเคย กับยาเม็ดที่ใช้ในการทำแท้ง Mifepristone หรือ Abortion Pill ที่เรียกว่า RU-486 โดยยาดังกล่าวถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการ ทำแท้งนอกเหนือไปจากวิธีการที่เรียกว่า หัตถการทำแท้ง หรือ Surgical Abortion ที่ใช้เมื่อตั้งครรภ์อ่อน ๆ

ขณะนี้ทางเลือกในการทำแท้งดังกล่าว เปิดกว้างสำหรับผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังจากถูกเลื่อนระยะเวลาของการอนุมัติใช้มาเป็นเวลานาน เนื่องจากในสหรัฐ การทำแท้งนั้นยังเป็นกรณีที่มีการโต้เถียงกันมาก

เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้เอง FDA หรือ Food and Drug Administration ได้ให้การรับรองยาเม็ดทำแท้ง ให้สามารถจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว โดยยาดังกล่าวจะถูกนำออกวางตลาดในเดือนหน้านี้ ภายใต้ชื่อ Mifeprex แต่ในการซื้อจะต้องถูกสั่งซื้อโดยแพทย์เท่านั้น

Dr.Jane Henney คณะกรรมการของ FDA กล่าวว่า ทาง FDA ให้การรับรองยาชนิดนี้ หลังจากที่ได้ศึกษาจนมีความมั่นใจในความปลอดภัย และประสิทธิผลของยาชนิดนี้แล้ว โดยสิ่งที่ FAD คำนึงถึงนั้น ไม่ใช่เฉพาะในทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงในเรื่องของความถูกต้อง ตามกฏหมายด้วย

Mifepriston หรือยาเม็ดทำแท้งนี้ เป็นยาที่ใช้ได้ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์อ่อน ๆ ต้องการจะกำจัดตัวอ่อนในครรภ์ โดยเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนา มาจากยาเม็ดคุมกำเนิด ที่ใช้กันมาเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ซึ่ง Gloria Feldt ประธานของบริษัท Planned Parenthood Inc. กล่าวว่า วิธีการใช้ยานี้ จะทำให้ผู้หญิงที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ กล้าตัดสินใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไม่ต้องกังวลกับการใช้วิธีการแบบเดิมคือหัตถการทำแท้งนั้นเอง ซึ่ง Gloria เชื่อว่า ผลที่ได้รับจากการอนุมัติให้ใช้ยานี้ จะเป็นผลในแง่บวก

Mifepristone เป็นยาที่ต่างจากยา Morning-Afer Pill ที่ได้รับการรับรองจาก FDA ไปเมื่อปี 1998 ซึ่งยาชนิดนี้ เป็นยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ถ้ารับประทานยาภายใน 72 ชั่วโมง หลังการร่วมเพศโดยไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์

สำหรับยา Mifepristone นั้นมีส่วนประกอบของ Steroid ซึ่งจะไปรบกวนไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว ไม่ให้ไปเกาะติดกับผนังมดลูก ซึ่งทำให้เกิดการแท้งในที่สุด แต่ยาชนิดนี้จะใช้ได้กับครรภ์อ่อน ๆ เท่านั้น โดยจากการศึกษาพบว่า ยาชนิดนี้ให้ผลในการทำแท้งถึงร้อยละ 92-95.5 กับการตั้งครรภ์ในระยะ 7 สัปดาห์แรก โดยมีกลุ่มหญิงที่ใช้ยาดังกล่าวในการทำแท้งเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ต้องเข้ารับการทำแท้ง ด้วยวิธีการทางหัตถการ เนื่องจากยาไม่ให้ผลที่น่าพอใจ

เมื่อใช้ยาดัวกล่าวแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเกิดการแท้งขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือในบางกรณี อาจจะใช้เวลาถึง 1 สัปดาห์

ส่วนผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจเกิดขึ้นนั้นได้แก่ มดลูกอักเสบ เลือดออกมาก อาการคลื่นไส้อาเจียร และอ่อนเพลีย เป็นต้น ซึ่งการที่มีเลือดออกมานั้น FAD กล่าวว่า อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลา 9 ถึง 16 วัน และการที่จะมีเลือดออกมานั้น มีโอกาสเกิดขึ้น กับผู้หญิงที่ใช้ยาเพียง 1 ใน 100 เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ก่อนหน้าที่ FDA จะให้การรับรองยาเม็ดทำแท้งนี้ เคยมีการสำรวจความคิดเห็นของผู้หญิงในมลรัฐวอชิงตัน ในช่วงปี 1996 – 1997 และพบว่า ผู้หญิงจำนวนมากกว่า 1 ใน 4 ต้องการการอนุมัติให้ใช้ยาดังกล่าวได้ เพราะพวกเธอเห็นว่า วิธีการนี้ มีความปลอดภัย ให้ผลดี และที่สำคัญมีความเป็นส่วนตัว แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังมีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย กับการใช้ย่ดังกล่าวโดยเฉพาะกลุ่มที่ต่อต้านการทำแท้ง

ทางด้าน Dr.Mitchell Creinin แห่ง University of Pittsburgh ยังกล่าวว่า ปัจจุบันยังมีกฏหมายของมลรัฐอีกหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ที่มีการจำกัดการทำแท้ง ซึ่งจะส่งผลให้การใช้ยาดังกล่าวมีข้อจำกัดทางกฏหมายไปด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงานจากทางฝรังเศส ที่สามารถใช้ยาดังกล่าวได้ด้วยว่า ยาเม็ดทำแท้งนี้ถูกนำมาใช้เพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ของการทำแท้งกว่า 200,000 ต่อปีในฝรั่งเศส และในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยก็พบว่า การใช้ยาเม็ดในการทำแท้งนั้น ไม่สามารถมาแทนที่วิธีการทำแท้งด้วยหัตถการได้ อีกทั้งยังไม่พบว่า การอนุมัติให้มีการใช้ยาเม็ดทำแท้ง ส่งผลให้มีการทำแท้งเพิ่มขึ้นแต่เพียงอย่างใด

Cover Story from CNN Health

Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspacebottom.gif (372 bytes)Contact Me,Dr.OU

Created and Desiged by  หมออู๋
10 October 2000

Copyright (c) 1998-2000, ThaiClinic.com. All Right Reserved.