Michael Klaper, M.D.
ผู้อำนวยการสถาบัน Nutrition Education and
Research แห่งแคลิฟอร์เนีย
และผู้เขียนหนังสือ Pregnancy,Children,
and the Vegan Diet
ได้ให้คำแนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ไว้ดังนี้
- แม้ว่าคุณจะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่นับได้ว่าเป็นแหล่งโปรทีนที่สำคัญ
แต่คุณก็ควรจะได้รับ
โปรทีนพิเศษ 10กรัมต่อวัน
เพราะโปรทีนจำเป็นต่อการสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อของเด็กในครรภ์
โดยอาจจะรับประทานพืชตระกูลถั่ว
ประมาณ 1 ใน 3 ถ้วย ผักขม
ประมาณครึ่งถ้วย เนยถั่ว
ประมาณ 2 ¼ ช้อนชา
และข้าวซ้อมมือ 2 ถ้วย
- ต้องพยายามให้ร่างกายได้รับแคลเซี่ยมในปริมาณที่เพียงพอ
เนื่องจากผู้รับประทาน
อาหารมังสวิรัตมักจะขาดสารชนิดนี้
แต่ปัจจุบันคุณสามารถเลือกรับประทานอาหาร
หลากหลายชนิดที่มีธาตุแคลเซี่ยมผสมอยู่เช่น
น้ำผลไม้ ซีเรียล คาราเมล
หรือช๊อคโคแลต
- หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกชีส
อาหารทะเลดิบ ซึ่งอาจแหล่งสะสมของแบคทีเรีย
Listeria เพราะจากการสำรวจของ FDA
ระบุว่า แบคทีเรียชนิดนี้
สามารถผ่านเข้าไปในตัวอ่อนในครรภ์
ส่งผลให้ทารกในครรภ์เจ็บป่วย
หรือเสียชีวิตได้
- ล้างผลิตภัณฑ์ที่จะบริโภคทุกชนิด
แม้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีฉลากติดไว้ว่า
เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
ก็ควรจะล้างสิ่งสกปรก
ฝุ่น และโคลนต่าง ๆ ออก
- รับประทานพืชที่เป็นฝักมาก
ๆ
เพื่อเพิ่มธาตุเหล็กในร่างกาย
นอกจากนี้
รากผักก็เป็นสิ่งจำเป็นเพาะสามารถเพิ่มแร่ธาตุให้กับร่างกายได้
ไม่ว่าจะเป็นไอโอดีน
แม็กนีเซียม ทองแดง
รวมทั้งผักใบเขียว
ก็เป็นแหล่งรวมของธาตุเหล็ก
- รับประทานพวกธัญพืช
ที่มีวิตามิน และแร่ธาตุ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามิน
B-12 และ วิตามิน D
เพราะผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์
มักจะขาดสารอาหารดังกล่าว
- กรด Folic
เป็นสารอาหารที่จำเป็นมากอีกอย่างหนึ่ง
เพราะช่วยป้องกัน Spina Bifida
หรือ neural tube birth defect
ซึ่งเป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลัง
ที่ไม่ปิดตามปกติ
แต่จะแบะออกเป็นสองด้าน
และเกิดกับทารกแรกเกิดในสหรัฐทุก
ๆ 1 ต่อ 1000 ราย
ซึ่งหญิงตั้งครรภ์นั้น
มีความต้องการกรด Folic
ในปริมาณ 600 ถึง 800
ไมโครกรัมต่อวัน
ในขณะที่หญิงปกตินั้นต้องการเพียง
400 ไมโครกรัมเท่านั้น
ผู้เชี่ยวชาญย้ำอีกว่า
วิตามินที่กล่าวมานั้นมีอยู่ในผักใบเขียว
เมล็ดข้าว งา น้ำส้ม ผลไม้
ขนมปัง ธัญพืช เป็นต้น
และกรด Folic นั้น
เป็นสิ่งที่สำคัญมากในช่วง
3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
ดังนั้น แพทย์
มักจะแนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหาบำรุงตั้งแต่เนิ่น
ๆ
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการที่เด็ก
จะเกิดความผิดปกติกับกระดูกสันหลังดังกล่าว
Cover Story from CNN Health