การใช้เทคโนโลยีในการทำให้มีบุตร เพิ่มอัตราการเกิด แต่ก็เพิ่มความเสี่ยง
ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินารี เล่าว่า จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาเขาได้พบเห็นการใช้ยา และเทคโนโลยีที่ช่วยให้มีบุตรเพิ่มมากขึ้น อย่าง Assisted Reproductive Technology (ART) อาทิ In Vitro Fertilization (IVF) หรือ เทคนิคในการนำไข่มาผสมในหลอดทดลองและนำกลับไป ฝังในมดลูก
เทคนิคเหล่านี้ ได้รับการยอมรับว่าได้ผลดี แต่เท่าที่ผู้เชี่ยวชาญ ได้สังเกตดูพบว่า เทคนิคดังกล่าวทำให้เกิดทารกแฝด ทั้งแฝดสอง แฝดสาม หรือแฝดมากกว่านั้น เพิ่มตามมาด้วย ผลจากการสังเกตการณ์ดังกล่าวนี้ ไม่ต่างจากผลการศึกษาจำนวนทารกแฝดในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง National Center For Health Statistics ได้มีการเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี ๑๙๘๐ และรายงานในปี ๑๙๗ ว่า จำนวนทารกแฝดสองที่เกิดในสหรัฐ เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นกว่า ๒ เท่าตัว ในขณะที่ทารกแฝดสามขึ้นไป เพื่มขึ้นมากกว่า คือคิดเป็นอัตราถึง ๔๐๐ เปอร์เซ็นต์ |
ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางการแพทย์ ทำให้คู่สมรสหลายคู่ที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยาก ได้มีโอกาสมีบุตรของตนเอง แต่เทคนิคเหล่านี้ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาที่จะตามมาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนของเด็กแรกเกิด ทำให้ต้องอยู่โรงพยาบาล นานกว่าปกติ รวมไปถึงอาการครรภ์เป็นพิษ มีเลือดออกก่อนคลอด ตกเลือดหลังคลอด และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าตัด
นอกจากนี้ American Association of Premature Infants ยังระบุว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ทารกแฝดส่วนใหญ่ จะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดนี้ เสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย หรือการมีปัญหาสุขภาพ ในระยะยาวของเด็กทารก อาทิ การหายใจลำบาก ปัญหาเรื่องการมองเห็น และพัฒนาการที่เชื่องช้า
เป็นที่ยอมรับกันในระหว่างองค์กร และผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก รวมไปถึงAmerican Society for Reproductive Medicine (ASRM) และ American College of Obstetrics and Gynecology (ACOG) ว่าการลดอัตราการเกิดทารกแฝดเป็นสิ่งแรกสุดที่ควรจะต้องคำนึงถึง ในการคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ตามมา ดังนั้นการใช้ยาช่วยให้มีบุตรรวมไปถึงเทคนิคที่ทำให้ เกิดการปฏิสนธิต่าง ๆ ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเลือก สูติแพทย์แผนกต่อมไร้ท่อ ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการมีบุตรยากที่เชื่อถือได้
โดยทั่ว ๆ ไปแล้วแพทย์ต้องการที่จะลดโอกาสในการเกิดตัวอ่อนมากกว่า ๒ ตัว และการเกิดทารกแฝดหลายคนในครรภ์นั้น สามารถลดลงได้ด้วยองค์ประกอบ ๓ อย่าง คือ
|
อย่างไรก็ตามการป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ทารกแฝดหลายคนนั้นเป็นเรื่องยากด้วยเทคนิค ART(ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี) จะนำไข่จำนวนมากออกมาจากผู้หญิง จากนั้นจะนำมาผสมกับสเปิร์มในห้องปฏิบัติการ ซึ่งสเปิร์มนั้นอาจจะเป็นของคู่สมรสหรือ สเปิร์มที่ได้รับบริจาคก็ได้ และไข่ที่ได้รับการผสมนั้นจะถูกนำกลับไปไว้ในมดลูกของผู้หญิงตามเดิม ซึ่งในกรณีนี้ คู่สมรสจะต้องยอมรับความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์แฝดทารกหลายคน
American College of Obstetrics and Gynecology (ACOG) ยังแนะนำว่า คู่สมรสที่คิดจะมีบุตรด้วยวิธินี้จะต้องพิจารณาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะเวลา อารมณ์ ร่างกาย ค่าใช้จ่าย รวมไปถึงรับรู้ในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้นนอกจากนี้ยังจะต้องพิจารณาในกรณีที่ในกรณีที่เกิดตัวอ่อนหลายซึ่งอาจส่งผลให้เกิด ความไม่สมบูรณ์ของตัวอ่อนเหล่านั้น และต้องมีการกำจัดออกบ้างเพราะคู่สมรสย่อมต้องการ ทารกที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง กรณีนี้จึงอาจเป็นความเกี่ยวเนื่องถึงจริยธรรมด้วยอีกอย่างหนึ่ง
Cover Story from CNN Health
http://www.cnn.com/HEALTH/women/9910/07/infertility.multiple.wmd/index.html
Created and Desiged by หมออู๋
16 October 1999
Copyright (c) 1998-1999, ThaiClinic.com. All Right Reserved.