องค์การอาหารและยาของสหรัฐ หรือ FDA ได้เปิดบริการที่เรียกว่า
Shop Smart
ขึ้นแล้ว
โดยเป็นการให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภค
และยังเปิดให้ผู้บริโภคเข้ามารายงานเกี่ยวกับเว็บไซต์
อันเป็นที่ต้องสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ที่จำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้รับการรับรองจาก FDA
โดยสินค้าหรือยาบางชนิดนั้น มีผลข้างเคียงที่รุนแรง
เมื่อผู้บริโภคเข้ามารายงานสิ่งที่เห็นว่าไม่ปกติแล้ว รายงานเหล่านั้นจะถูกนำไปติดตาม
และสอบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งถ้าพบว่าร้านขายยาออนไลน์แห่งใด มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ก็จะต้องประกาศให้สาธารณะชนทราบด้วย ซึ่งในกรณีนี้ Tom MaGinnis เภสัชกรประจำ FDA กล่าวว่า
เป็นวิธีการลงโทษที่ค่อนข้างจะรุนแรง
แต่ก็ต้องดำเนินการเพื่อกำหนดกฏเกณฑ์ของการแพทย์
บนอินเทอร์เน็ต
Dr. Jane Henney คณะกรรมการ FDA กล่าวว่า
อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ได้เพิ่มทางเลือก
ใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภค และให้ความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม
อินเทอร์เน็ต
ก็ยังมีแง่ลบที่อาจนำมาซึ่งอันตรายกับผู้ใช้บริการ
FDA ได้ยกตัวอย่างกรณีการสั่งซื้อชุดทดสอบโรค AIDS ที่สามารถใช้ได้เองที่บ้าน
ถ้าหากผู้บริโภคไปเลือกซื้อมาจากเว็บไซต์ที่ไม่ได้รับการรับรอง ชุดทดสอบนั้นอาจจะไม่มีประสิทธิภาพ
ให้ผลไม่ถูกต้อง ถ้าผู้ติดเชื้อนำมาทดสอบแล้ว ชุดทดสอบไม่แสดงผล
ผู้ติดเชื้อรายนั้นอาจจะเข้าใจผิด
คิดว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดีก็ได้
อีกทั้ง เมื่อไม่นานมานี้ FDA
ยังประกาศเตือน
ผู้บริโภค
ไม่ให้หลงเชื่อคำโฆษณาของผู้ค้ายาบนอินเทอร์เน็ตที่ว่า
กระดูกปลาฉลามสามารถรักษาโรงมะเร็งได้
FDA
ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่ออกมาหาแนวทางควบคุมการจำหน่ายยาออนไลน์
ที่ไม่น่าเชื่อถือ แม้แต่ทางการของแต่ละมลรัฐในสหรัฐอเมริกาเอง
ก็พยายามจะสั่งปิดผู้จำหน่าย
ยาออนไลน์ที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย โดยไม่มีใบอนุญาติเช่นกัน ซึ่งเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
มลรัฐมิชิแกนก็ได้สั่งให้เว็บไซต์ขายยาจำนวน ๑๐ แห่ง
เลิกจำหน่ายสินค้าและการประมูล
ที่ผิดกฏหมายบนอินเทอร์เน็ต
FDA ยังระบุว่า ทางหน่วยงานรู้สึกวิตกกังวลกับการซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต
โดยไม่มีใบสั่ง
จากแพทย์นี้ค่อนข้างมาก เพราะผู้บริโภคจำนวนมากไม่เข้าใจว่า
การกระทำดังกล่าว
อาจจะส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ อีกทั้งการซื้อยาในลักษณะนี้ยังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
กรณีของการใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์นี้ได้เกิดขึ้นแล้ว กับชายวัย ๕๓ ปี
รายหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมืองชิคาโก
ซึ่งได้กินยาไวอากร้า ที่สั่งซื้อมาจากอินเทอร์เน็ต
โดยชายผู้นี้ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ถึงอาการของโรคหัวใจที่ตนเองเป็นอยู่ก่อนที่จะใช้ยาดังกล่าว
McGinnis กล่าวว่า ทาง FDA หวังว่า ถ้าผู้บริโภคเข้าใจว่า
ยาอันตรายบางอย่าง
อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้ใช้ ผู้บริโภคก็จะระมัดระวังมากขึ้น
และน่าจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ด้านสุขภาพถึงความเสี่ยงต่อการใช้ยานั้น ๆ ก่อนที่จะนำมาใช้จริง ดังนั้น ทาง FDA
จึงได้เปิดเว็บไซต์ให้คำแนะนำ โดยหวังว่าผู้บริโภค จะเข้ามาหาข้อมูลก่อนลงมือซื้อยาจากอินเทอร์เน็ต
เพื่อลดอัตราเสี่ยง โดยเว็บไซต์ดังกล่าวนั้นคือ
http://www.fda.gov
นอกจากคำแนะนำโดยละเอียดบนเว็บไซต์ที่ได้จัดเตรียมไว้โดยเฉพาะแล้ว
FDA ยังมีคำแนะนำเบื้องต้นอีกว่า
-
ถ้าคุณซื้อยาจากเว็บไซต์ที่ได้ได้รับการรับรองหรือไม่ถูกต้องตามกฏหมาย
คุณอาจจะได้รับอันตรายจากยาปลอม
หรือสินค้าหมดอายุ
ไม่ได้คุณภาพ
-
หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ
ที่ควบคุมดูแลเรื่องของยา
ได้เริ่มออกใบรับรองให้กับ
ผู้ประกอบการที่เป็นที่ยอมรับว่าได้มาตรฐานแล้ว
โดยสามารถตรวจเช็คได้ที่ www.nabp.net
-
อย่าซื้อยาจากเว็บไซต์ที่ระบุว่าคุณสามารถซื้อยาอันตรายที่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ได้
โดยไม่ต้องใช้ใบรับรองดังกล่าว
ซึ่งบางแห่งได้มีบริการจำหน่ายยาให้
เมื่อลูกค้าเข้ามากรอกข้อความและให้ข้อมูลคร่าว
ๆ
เกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง
หรือที่เรียกว่า
Virtual Prescriptions
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ
ระบุว่า คำถามออนไลน์เหล่านั้น
เชื่อถือไม่ได้ และมักจะปล่อยให้ผู้ป่วยซื้อยาไป
โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงต่ออาการ
ข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
-
อย่าซื้อยาจากเว็บไซต์ที่จำหน่ายยาอันไม่ได้รับการรับรองจาก
FDA
และที่สำคัญอย่าซื้อยาจากเว็บไซต์ที่ไม่ได้ระบุว่ามีหลักแหล่งที่ทำการอยู่ในสหรัฐอเมริกา
หรือไม่มีหมายเลขโทรศัพท์ที่จะให้ลูกค้าติดต่อกลับ
-
อย่าซื้อยาจากเว็บไซต์ต่างประเทศ
เพราะการสั่งนำเข้ายาข้ามประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย
และไม่ได้สามารถรับประกันได้ในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย
-
ควรระมัดระวังเว็บไซต์ที่โฆษณาถึงการรักษาโรคด้วยวิธีการใหม่
ๆ
โดยเฉพาะโรคที่มีความรุนแรงอย่างโรคมะเร็ง
และโรคเอดส์ เป็นต้น
และเว็บเหล่านั้นมักจะโฆษณาชวนเชื่อว่า
การรักษาที่ตนเองนำเสนอนั้นให้ผลดีอย่างเหลือเชื่อ
Cover Story from CNN Health
http://www.cnn.com/1999/HEALTH/12/21/internet.medicine.ap/index.html
Comment
จากแพทย์
การซื้อยาโดยไม่พบแพทย์ก่อนเป็นสิ่งที่อันตราย
เนื่องจากใน USA.
ค่ารักษาพยาบาลแพงมาก
การซื้อยาจากร้านขายยาก็ต้องมีใบสั่งแพทย์
ดังนั้นทำให้การซื้อยาทาง
Internet
ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ในไทยการซื้อยาทำได้ง่ายกว่า
อีกทั้ง
ค่ารักษาก็ยังไม่แพง
ดังนั้นการซื้อยาทางสื่อนี้ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก
แต่ก็ กำลังเพิ่มขึ้น
จากแนวโน้มทางการตลาดและ
E-commerce ที่มาแรง ดังนั้น
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา
ไม่ว่ากรณีใดๆ
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งครับ
โดย นพ.ธเนศ
พัวพรพงษ์
ศัลยแพทย์