คู่มือปฏิบัติตัวมารดาหลังคลอดและการบริบาลทารก
คำแนะนำ
-
อาการที่มารดาหลังคลอดควรมาพบแพทย์
หรือพยาบาลทันที หรือภายใน 12 ชั่วโมง
-
1.
มีเลือดออกมาทางช่องคลอด (ใน 1 ชั่วโมง ชุ่มผ้าอนามัย 1 อัน และเลือดที่ออกมาเป็นก้อน
-
2.
ปวดท้องมาก (ปวดจนบิด) โดยไม่สัมพันธ์กับอาหาร
-
3.
มีไข้ หรือหนาวสั่น อุณหภูมิเกินกว่า 38 อาศาเซลเซียส
-
4.
เจ็บปวด หรือแสบขัดเวลาถ่ายปัสสาวะ
-
5.
มีน้ำหนอง หรือเลือดไหลจากแผลผีเย็บ หรือแผลผีเย็บบวมแดงมากขึ้น จนปวดถ่วงถึงทวารหนัก
-
6.
ระดูขาวมีกลิ่นเหม็น
-
7.
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น มีสีแดงตลอดภายใน 15 วัน หลังคลอด
-
8.
ปวดศรีษะรุนแรง
-
9.
มีก้อนที่เต้านม หรือเต้านมบวมแดง
-
-
น้ำคาวปลา
-
-
ตามปกติจะมีประมาณ 2 สัปดาห์
-
-
น้ำคาวปลาจะเปลี่ยนสีเป็นระยะ จากแดงจัดเป็นชมพู และน้ำตาลดำ ภายใน 10 วันหลังคลอด
ต่อ จากนั้น
-
จะเป็นสีขาวออกเหลือง
ๆ ในสัปดาห์ที่ 3 และ 4หลังคลอด
-
-
ห้ามใช้ผ้าอนามัยแบบสอดในช่องคลอด ระหว่าง 2 - 4 สัปดาห์หลังคลอด
-
-
ประมาณ 4 - 8 สัปดาห์หลังคลอด จะมีประจำเดือนมาครั้งแรก บางรายจะมีน้อยกว่าปกติ
เพราะรังไข่ ยังปรับตัวไม่ดี
-
-
ในรายให้นมบุตร มารดาจะไม่มีประจำเดือนนาน 6 - 8 เดือนหลังคลอด (ต้องให้นมบุตรสม่ำเสมอ)
ทำให้
-
มารดามีบุตรยากขณะนั้น
(แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการคุมกำเนิด)
-
-
การดูแลแผลผีเย็บ
-
-
มารดาจะรู้สึกเจ็บปวดผีเย็บประมาณ 2 - 3 สัปดาห์หลังคลอด (แผลปกติจะหายใน
7 วันหลังคลอด และ
-
ไหมที่เย็บจะละลายเอง)
-
-
ทำความสะอาดด้วยสบู่หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อน ๆ กับน้ำประปา จากด้านหน้าไปด้านหลัง
ไม่ย้อนจากก้นมาด้านหน้า
-
เพราะจะนำเชื้อโรคจากทวารหนักมาสู่แผลและช่องคลอด
-
-
ถ้ามีอาการเจ็บปวดหรืออักเสบมาก อาจแช่ด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ ส่วนผสมโ่ดยประมาณ
น้ำยา 1 ช้อนโต๊ะ (15 cc)
-
กับน้ำอุ่น
1 ลิตรหรือด่างทับทิม(ละลายน้ำจนเป็นสีชมพูอ่อน) แช่นานประมาณ 10 - 15 นาที
เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้นและทำให้
-
การไหลเวียน
ของเลือดดีขึ้น แผลจะหายเร็ว
-
-
การปฏิบัติตัวของมารดาที่เป็นริดสีดวง
-
-
ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก
-
-
อาจประคบด้วยถุงน้ำแข็ง เพื่อลดความเจ็บปวด
-
-
ป้องกันไม่ให้ท้องผูก โดยดื่มน้ำ และรับประทานผัก และผลไม้มาก ๆ หรือาจใช้เส้นใยอาหารเสริมจากธรรมชาติ
-
ในโอกาสที่ต้องเดินทาง
เพื่อความสะดวกและสะอาดปลอดภัย
-
-
ถ้าปวดมากอาจใช้ครีม หรือยาเหน็บ ตามแพทย์สั่ง
-
-
การปฏิบัติตัวของมารดาขณะท้องผูก
-
-อาจใช้ยาถ่ายตามแพทย์สั่ง
(ควรงดให้นมบุตรระหว่างใช้ยาทุกชนิด) หรืออาจให้ดื่มน้ำ
รับประทานผักและผลไม้มาก ๆ
-
อาการปวดมดลูก
-
-
การปวดมดลูก เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับมารดาหลังคลอดใน 1 - 2 วันแรกหลังคลอด
ถ้าปวดมดลูกมากทนไม่ไหว
-
ให้รับประทานยาแก้ปวดได้(มารดาท้องหลัง
ๆ จะมีอาการปวดมดลูก บ่อยกว่ามารดาท้องแรก)
-
-
การมีเพศสัมพันธ์
-
จะมีเพศสัมพันธ์ได้ต่อเมื่อ
4 สัปดาห์หลังคลอด (หลังจากได้รับการตรวจหลังคลอด) เพราะปากมดลูกยังไม่ปิด
จะมีอาการติดเชื้อได้ง่าย
-
-
การคุมกำเนิด
-
การคุมกำเนิดมีหลายวิธี
เช่น ยาเม็ด ยาฉีด ห่วงอนามัย ถุงยางอนามัย ยาฝังใต้ผิวหนัง การทำหมันหญิงและ
ชาย
-
คู่สามีภรรยาควรจะได้ปรึกษากันว่า
ต้องการจะมีบุตรอีกเมื่อไร แล้วจึงปรีกษาแพทย์หรือพยาบาลที่ทำหน้าที่นี้ เพราะยาคุมกำเนิด
-
จะไม่ใช้กับสตรีที่มีการอักเสบของช่องคลอด
และโพรงมดลูก ถ้าสามีทำหมันต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่นหลังทำมัน
3 เดือน
-
หรือใน
15 วันที่มีเพศสัมพันธุ์หลังทำหมัน
-
-
การทำความสะอาดร่างกาย
-
ควรอาบน้ำชนิดฝักบัว
หรือตักอาบ ไม่ควรอาบน้ำแบบแช่ (ไม่ว่าจะในอ่างน้ำสมัยใหม่
หรือแม่น้ำลำคลอง)
-
จนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดแล้ว
-
ในรายมารดาผ่าท้องคลอด
ควรใช้วิธีเช็ดตัว จนกว่าจะตัดไหมและสังเกตว่าแผลแห้งดี ในเวลากลางวันควร
-
ใช้ผ้ารัดท้องไว้ขณะเดินแผลจะได้ไม่เคลื่อนไหวเพื่อลดอาการเจ็บแผล(เพราะขณะนี้หน้าท้องยังหย่อนมาก)
ส่วนเวลา นอนไม่ต้องใช้ผ้ารัดท้อง
-
-
การพักผ่อน
-
มารดาควรพักผ่อนอย่างน้อยวันละ
6 - 8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันควรได้หลับพักผ่อน
-
บ้างขณะทารกหลับ
ถ้าไม่หาโอกาสพักผ่อน มารดาจะอ่อนเพลียมากขึ้น
-
-
กิจกรรม
-
ไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักเกิดกว่าน้ำหนักทารก
ในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด ไม่ควรขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
-
หรือขับรถโดยไม่จำเป็น
-
การออกกำลังกายจะทำได้บ้างในบางท่าที่ไม่หนักมาก
คือควรมีข้อจำกัดจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอด
-
จากแพทย์
เมื่อครบ 4 สัปดาห์หลังคลอด
-
ถ้าจะให้ได้ผลดี
ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง จะทำให้น้ำคาวปลาออกดี และมดลูกเข้าอู่เร็ว
-
-
อาหาร
-
มารดาบางรายอาจยังไม่นึกอยากรับประทานอาหาร
จึงควรได้รับวิตามินเสริมต่อไป จนกว่าจะได้ตรวจหลัง
-
คลอด
-
มารดาหลังคลอดควรได้รับอาหารครบหมู่
เพื่อฟื้นฟูสุขภาพตนเองและเพื่อทารก (ในรายที่ให้นมบุตร)
-
-
วิธีการนำเต้านมมารดาเข้าปากทารก
-
1.
ประคองศีรษะทารกเข้าใกล้เต้านม มารดาช้อนเต้านมรอไว้
-
2.
มารดาประคองเต้านมให้หัวนมเตะริมฝีปากล่างของทารกเพื่อกระตุ้มให้ทารกคาบหัวนม
-
3.
มารดาช้อนเต้านมให้หัวนมเข้าปากทารก
-
4.
มารดาประคองศีรษะทารกเข้าหาเต้านม
-
-
การปฏิบัติตนระหว่างให้นมบุตร
-
-
ควรสวมยกทรงไว้เสมอ (เพื่อลดความเจ็บปวด และการหย่อนยาน)
-
-
ถ้าเจ็บปวดเต้านมใน 2 - 3 วันหลังคลอด (มารดาท้องแรก) เป็นการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง
ให้ ประคบด้วยความเย็น
-
สลับความรัอนเพื่อลดความเจ็บปวด
และกระตุ้นให้น้ำนมไหล ด้วยการให้ทารกดูด นมเร็วที่สุด
(ทันทีหลัง หลอด) และดูดบ่อย ๆ
-
-
ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณเต้านมระหว่างเวลาให้นมทารก (ควรฟอกเฉพาะเช้าและเย็นเท่านั้น
และล้างสบู่ ออกให้หมด)
-
-
เวลาให้นมทารก มารดาควรให้ทารกคาบหัวนมไปจนถึงบริเวณบริเวณลานหัวนม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ำนม
-
และเพื่อป้องกันหัวนมแตก
นอกจากนั้นยังมีผลให้มดลูกเข้าอู่เร็ว และไม่ทำให้ทารกดูดลม
เข้าทางมุมปากเพื่อป้องกันทารกท้องอืด
-
-
ถ้ามีปัญหาหัวนมเจ็บ หรือแตก ควรใช้ครีมทาตามแพทย์สั่งและงดให้นมข้างนั้นจนกว่าจะหาย
ระหว่าง งดให้นม
-
ควรบีบน้ำนมทิ้ง
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของน้ำนม เมื่อหายแล้วจะได้มีน้ำนมให้ทารก
ตามปกติ
-
-
ล้างมือและเช็ดหัวนมให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังให้นม เพื่อทำความสะอาดและเปิดช่องทางให้น้ำนมไหล
-
หลังให้นมทุกครั้งควรอุ้มลูกพาดบ่าเพื่อให้เรอ
-
-
มารดาที่ให้นมทารกควรระมัดระวังเรื่องการรับประทานยา เมื่อเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์เพราะยาหลาย
ชนิด
-
จะมีผลผ่านทาน้ำนมมารดาถึงทารกได้เช่น
ยาดองเหล้า ยาจีน ยานอนหลับ ยาปฏิชีวนะ (ยาแก้ อักเสบ) ต่าง ๆ ฯลฯ
-
-
นอกจากยาแล้ว อาหารผักผลไม้บางอย่าง เช่น หัวหอม กะหล่ำปลี ฝรั่ง อาจทำให้ท้องอืด
กลิ่นและ รส
-
ของน้ำนมเปลี่ยนไป
ทำให้ทารกปฏิเสธน้ำนมมารดาอาหารหมักดองหรือมีสรจัดทำให้มารดาท้องเสีย
-
-
การบริบาลทารก
การรักษาความสะอาด
-
-
ผิวหนังบริเวณศีรษะและร่างกายโดยเฉพาะตามข้อพับของเด็กแรกคลอด จะพบว่ามีไขมันเกาะอยู่
ควร ใช้
-
สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดเบา
ๆไขมันจะค่อย ๆ ออกไปวันละน้อย จึงค่อยเช็ดตัวหรือสระผม อาบน้ำให้ทารก
-
(ให้อาบน้ำแบบแช่ได้
เมื่อสายสะดือหลุดแล้ว ซึ่งปกติสายสะดือจะหลุดประมาณ 7 วัน หลังคลอด)
-
วิธีจับทารก
อาบน้ำมารดาควรใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับให้แน่นบริเวณใต้รักแร้ ทารก อ้อมไปถึงต้นแขน
-
เพื่อไม่ให้ทารกหลุดจากมือมารดา
-
-
การดูแลสายสะดือทารก ควรทำความสะอาดโดยใช้สำลีพันปลายไม้หรือ Qtip ชุบแอลกอฮอล์
70% เช็ดจากโคนสะดือ
-
(บริเวณที่สะดือติดกับผิวหนังหน้าท้อง)
มารดาควรล้างมือให้สะอาด แล้วจับเชือดที่ ผูกสายสะดือ เอียงไปทีละข้าง เพื่อเช็ดโคนสะดือมายังปลายสะดือ
(จะเช็ดสะดือหลังเช็ดตัวทาแป้งหรือ ครีมแล้ว) ห้ามใช้แป้งโรยบนสะดือ
เพราะจะเกิดการติดเชื้อจากความไม่สะอาดของแป้ง ถ้าทาครีมแล้ว ไม่ควรทาแป้งทับ
-
-
มารดาควรสระผมให้ทารกได้วันละ 1 ครั้ง ก่อนสระควรใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดไขที่บริเวณ
-
ศีรษะ
และด้านหลังใบหู เพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เกิดจากการหมักหมมของไขมันเด็กโบราณเรียก
แผลชันนะตุ
-
ในรายที่เชือกผูกสายสะดือหลุดและมีเลือดไหลออกมาทางปลายสะดือ
มารดาควรใช้เศษผ้าสะอาด
-
(ห้ามให้เชือก
หรือด้ายพลาสติกที่มีความคม) ผูกสายสะดือเหนือบริเวณที่เคยผูก หรือบริเวณที่เคยผูก
เพื่อให้เลือดหยุดและพามาโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน"
-
การให้ภูมิคุ้มกันโรค
-
มารดาควรพาทารกมาตรวจร่างกายและเริ่มให้ภูมิคุ้มกันโรค
(โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ) เมื่อ ครบ 2 เดือน
-
เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจความเจริญเติบโตหรือความผิดปกติของทารก
และวางแผนให้ภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งจะต้องให้หลายครั้ง
-
ตามกำหนดที่แพทย์วางแผนไว้
จึงจะได้ผลและมีความจำเป็นมากแก่ทารก (อาจพาทารกมาที่ โรงพยาบาล หรือ
-
ศูนย์อนามัยใกล้บ้านท่าน)
เมื่อถึงกำหนดนัดถ้าทารกช่วยมีไข้ น้ำมูกไหล ต้องพาไปพบแพทย์เพื่อ รับการรักษาให้หาย
จึงนำมาให้ภูมิคุ้มกันได้
-
-
อาการผิดปกติที่ต้องรับนำทารกส่งโรงพยาบาล
-
1.
ทารกมีไข้สูงเกิน 38.4 อาศาเซลเซียส ระหว่างเดินทางมาพบแพทย์มารดาควรเช็ดตัวให้ด้วยน้ำธรรมดา
-
โดยเฉพาะบริเวณศรีษะควรวางกระเป๋าน้ำแข็งซึ่งอาจใช้ถุงพลาสติกเล็ก
ๆ ใส่น้ำแข็งแล้วห่อผ้างวางที่ศรีษะเด็ก เพื่อป้องกันการชัก
ถ้าทารกมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.1 อาศาเซลเซียส ควรให้ความอบอุ่นแล้วรับนำส่งแพทย์
-
2.
ทารกมีอาเจียนพุ่งมากกว่า 1 ครั้ง มารดาต้องแยกให้ออกระหว่างอาเจียนกันสำรอก
-
การสำรอก
จะเกิดเมื่อทารกได้รับน้ำนมหรือน้ำมากเกินความต้องการหรือเมื่อเปลี่ยนท่าของทารกเร็ว
ๆ
-
หลังให้นมสิ่งที่ขับออกมา
จะมีจำนวนน้อย
-
อาเจียน
จะเกิดได้ตั้งแต่ทารกเริ่มได้น้ำนมหรือน้ำ และมีจำนวนมากว่าสำรอก ซึ่งมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย
เช่น ร้องกวนหรือผิดปกติ
-
ถ้าทารกอาเจียน
ให้จับทารกนอนราบแล้วหันศรีษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักอาเจียน
-
3.
ทารกปฏิเสธการให้นมติด ๆ กันเกินกว่า 2 ครั้ง
-
4.
ทารกง่วงซึมไม่เคลื่อนไหวแม้กระตุ้น
-
5.
ทารกหน้าเขียวขณะให้นม ควรงดให้นม
-
6.
ทารกไม่หายใจเกิด 15 วินาที
-
-
การทำความสะอาดผ้าอ้อม
-
เพื่อป้องกันความสกปรกและกลิ่นอับเมื่อถอดออกจากตัวทารกปฏิบัติดังนี้
-
1.
ผ้าอ้อมเปื้อนอุจจาระ ควรใช้น้ำธรรมดาลาดผ้าอ้อม เพื่อให้เศษอุจจาระหลุดออก
แล้วแช่ไว้ในน้ำธรรมดา
-
ผสมยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปซัก
-
2.
ผ้าอ้อมเปื้อนปัสสาวะ ควรขยำในน้ำธรรมดา 1 ครั้ง แล้วแช่ไว้ในน้ำธรรมดาที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปซัก
-
จะทำให้ผ้าอ้อมมีกลิ่นสะอาด
มั่นใจในความสะอาดหลังซัก
-
-
การสังเกตอุจจาระ
ปัสสาวะ
-
-
ใน 2 - 3 วันแรกหลังคลอด อุจจาระจะเป็นสีเทาดำตามปกติ (เรียกว่า ขี้เทา)
-
-
ทารกที่ได้รับนมมารดา อุจจาระจะเหลวและมักจะถ่ายเสมอหลังให้นม
-
-
ทารกที่ได้รับนมผสม อุจจาระจะแข็งและมีกากมากว่าทารกที่ได้รับนมแม่
-
-
ถ้าทารกถ่ายอุจจาระเหลว 6 - 10 ครั้งต่อ 1 วัน ถือว่าผิดปกติ
-
-
ทารกปกติควรปัสสาวะ 6 - 10 ครั้งต่อ 1 วัน ถ้าต่ำกว่าควรให้น้ำมาก ๆ
-
-
การนอน
-
2
- 3 วันหลังคลอด ทารกจะหลับนานและตื่นเฉพาะเวลากินนม (ทารกปกติจะหลับ 12 -
16 ชั่วโมงต่อ 1 วัน)
-
หลังจาก
3 วัน ทารกจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น
-
-
การร้อง
-
การร้องของทารกแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
ส่วนมากจะร้องเมื่อมีความต้องการ เช่น ต้องการนม ต้องการ ความอบอุ่น
-
-
การมาตรวจหลังคลอด
-
มารดา
4 สัปดาห์หลังคลอดจะมาตรวจเพื่อว่าร่างกายกลับคืนสภาพเดิมก่อนมีครรภ์ ตรวจมะเร็งและแนะนำ
-
เรื่องการคุมกำเนิดทารก
8 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อดูความเจริญเติบโตและความผิดปกติพร่องทั้งให้ภูมิคุ้มกันโรค
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
1
July 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.