Thaiclinic.com

Thaiclinic Logo bannermedbiblewelcomeclr.gif (19991 bytes)
Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspaceup.gif (292 bytes)Contact Me,Dr.OU

เรื่องน่ารู้ของสายตา

สายตาสั้น สายตาเอียง สายตายาว หรือ สายตาแก่ คืออะไร

สายตาสั้น

สายตาสั้น

ผู้ที่มีสายตาสั้น จะมองเห็นในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองระยะไกลไม่ชัด เนื่องจากการหักเหของแสงมาตกก่อนที่จะถึงประสาทตา จึงไม่สามารถรับภาพได้ชัดเจน

สายตายาว

จะมองไม่ชัดทั้งไกลและใกล้ เนื่องจากการหักเหของแสงไม่พอเมื่อเป็นกับเด็กๆ 
ลูกตาจะสามารถปรับสายตาได้ทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่อาจมีอาการปวดศีรษะหรือปวดลูกตา 
หรือเมื่อยตาหรืออ่านหนังสือไม่ทน ถ้าผู้สูงอายุที่มีสายตายาว 
ลูกตาจะปรับตัวไม่ได้ ผู้นั้นจะมองไม่ชัดทั้งไกลและใกล้

สายตาเอียง

เนื่องมาจากเลนส์ของลูกตาหรือแก้วตาเบี้ยวผิดปกติ ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด และไม่เหมือนธรรมดา สายตาเอียงวัดด้วยดีกรีหรือองศา มีตั้งแต่ศูนย์ถึงร้อยแปดสิบองศา 

สายตาแก่ หรือสายตายาว

เป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งเกิดกับผู้มีอายุตั้งแต่ สี่สิบปีขึ้นไป ที่เรามักเรียกว่าสายตายาว ผู้นั้นจะมองไกลได้ชัดเจนแต่เวลาอ่านหนังสือจะดูพร่าเลือนไป ต้องยืดแขนออกไปเพื่อให้อ่านหนังสือได้ชัดเจน จะต้องใช้แว่นขยาย หรือ เลนส์บวก เพื่อช่วยใน การอ่านหนังสือแต่ไม่ต้องใช้แว่นในหารดูระยะไกล

อาการของโรคทางสายตา

  1. มองไม่ชัด
    เกิดตามลักษณะของสายตาที่เป็นถ้าเป็นสายตาสั้นจะมองใกล้ได้ชัด 
    มองไกลไม่ชัด สำหรับสายตาแก่ ก็จะมองไม่ชัดเวลาอ่านหนังสือ

  2. ปวดศีรษะและปวดตา
    จะมีอาการเมื่อยตา หรือมีอาการปวดบริเวณท้ายทอยในขณะที่พยายามเพ่งสายตา

  3. อ่านหนังสือไม่ได้นาน
    บางรายอ่านหนังสือได้บ้างแต่อ่านไม่ได้ทน เช่น ผู้ที่สายตายาวเมื่ออ่านไปนานๆ 
    ตัวหนังสือจะพร่าไปหมดและอาจมีอาการปวดศีรษะตามมา

  4. มีอาการตาเหล่
    ในรายที่มีสายตายาวมากๆมักจะมีตาเหล่ เข้าที่หัวตา ส่วนพวกที่สายตาสั้นมากๆ ก็อาจมีอาการตาเหล่ออกได้  สายตาผิดปกติส่วนมากเป็นกรรมพันธุ์
    พวกที่ตาผิดปกติส่วนใหญ่เห็นกรรมพันธุ์เกิดจากที่พ่อแม่มีสายตาที่ผิดปกติ 
    บางรายพ่อแม่ตาเป็นปกติแต่ลูกกลับสายตาสั้นก็มีหรือกลับกัน
    แต่โดยทั่วล้วนพ่อแม่ที่มีสายตาผิดปกติมีโอกาสที่ลูกจะมีสายตาผิดปกติสูงกว่าธรรมดา


เกิดสายตาผิดปกติในวัยใด

สายตาผิดปกติเกิดได้กับทุกวัยบางรายเกิดตั้งแต่เด็กอายุน้อยๆ 
พ่อแม่จะเห็นว่าเด็กอ่านหนังสือจะก้มหน้าชิดหรือเอียงหน้า 
หรือบอกกับผู้ปกครองว่ามองไม่เห็น
บางรายเริ่มมัวเมื่อโตขึ้นประมาณ สิบขวบ บางรายก็มีอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว

เพราะเหตุใดสายตาสั้นจึงเพิ่มเร็ว

เด็กๆที่สายตาสั้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นสายตาจะสั้นเพิ่มขึ้น  ตรงข้ามกับผู้ที่สายตายาว เมื่ออายุมากขึ้นมักจะดีขึ้นสายตาจะยาวลดลง เหตุที่สายตาสั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นั้นก็เพราะว่า เมื่อร่างกายเจริญเติบโต ลูกตาของเราจะมีการเจริญเติบโตไปด้วย ทำให้สายตาสั้นเพิ่มมาก มักจะเริ่มช้าลงเมื่ออายุประมาณ 20 ปี

ควรตรวจสายตาเร็วหรือช้าเพียงใด

ขณะนี้ตามโรงเรียนทุกแห่งจะมีการให้วัดสายตาซึ่งถ้าหากพบว่าสายตาผิดปกติ ก็จะได้ให้พบแพทย์ต่อไป หรือถ้าหากพบว่าเด็กที่เล็กกว่านั้น มีอาการที่สงสัยว่า จะมีปัญหาเรื่องสายตา ก็ควรพาไปพบแพทย์เช่นเดียวกัน ในเด็กๆที่สายตาสั้นควรตรวจวัดสายตาทุกปี  ส่วนผู้ที่ อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป นั้นนอกจากการตรวจวัดสายตาแล้ว ควรตรวจตาโดยทั่วไปด้วยรวมทั้ง การวัดความดันตาเพื่อตรวจหาต้อหินด้วย

เหตุใดตาสองข้างจึงสั้นหรือยาวไม่เท่ากัน

โดยปกติแล้วตาทั้งสองข้างจะมีสายตาสั้นหรือยาวต่างกันบ้าง ในบางรายสายตาสองข้าง อาจแตกต่างกันมากโดยตาข้างที่สั้นกว่าหรือยาวกว่าจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ซึ่ง หากไม่ได้แก้ไขแต่เด็ก  จะเกิดเป็นตาขี้เกียจได้และเมื่อใส่แว่นให้ตรงตามสายตาแล้ว ก็ยังไม่ชัดเจน

โรคแทรกซ้อนจากสายตาสั้น

อาจเกิดโรคบางอย่างได้เช่น วุ้นน้ำเหลืองในตาขุ่นเกิดเห็นเงาดำๆลอยไปมาในลูกตา ในกรณีที่สายตาสั้นมากๆ อาจเกิดข้อแทรกซ้อนที่ประสาทตาเช่น ประสาทตาฉีกขาด หรือจอประสาทตาเสื่อม หรือ ถ้าหากสายตาสองข้างมีความแตกต่างกันมากๆ ไม่ได้รับการแก้ไข ตั้งแต่เล็กๆก็อาจทำให้ตาข้าง นั้นที่ผิดปกติขี้เกียจไป ถึงแม้เมื่อแก้ไขด้วยแว่นเมื่อตอนโตก็ยังไม่สามารถทำให้สายตาดีเท่าปกติได้

การรักษา

สายตาจะเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติของคนนั้น 
การใส่หรือถอดแว่นไม่ได้มีผลทำให้สายตาเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ขณะนี้มีการผ่าตัดรักษาสายตา ซึ่งจะกล่าวต่อไปในครั้งหน้า

โดย พญ.ภัณฑิลา ดิษยบุตร  จักษุแพทย์

Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspacebottom.gif (372 bytes)Contact Me,Dr.OU

This web is created and designed by หมออู๋
15 June 2000

Copyright (c) 1998-2000, ThaiClinic.com. All Right Reserved.