วัยหมดระดู
-
วัยหมดระดู
-
ในช่วงชีวิตของสตรีจะมีการผ่านพ้น
3 วัย คือ วัยเด็ก วัยเจริญพันธุ์ และวัยหมดระดู วัยเด็ก นับตั้งแต่เกิด
-
จนถึงเริ่มเป็นวัยสาว
กินเวลาประมาณ 10 - 12 ปี วัยนี้รังไข่ยังไม่มีการผลิดฮอร์โมนหลังจากนี้คือ
วัยเจริญพันธุ์
-
รัง่ไข่เริ่มทำงาน
มีการผลิตฮอร์โมนเพศที่สำคัญคือ เอสโตรเจน (Estrogen)
และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
-
และมีการตกไข่
เป็นวัยที่สามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ กินเวลา ประมาณ 30 - 40 ปี ต่อ มารังไข่จะหยุดทำงาน
ไม่มีการตกไข่และหยุดสร้างฮอร์โมน สังเกตุได้จากการมีประจำเดือน หรือจะดูมาไม่ปกติและหายไปในที่สุด
-
ช่วงตั้งแต่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นต้นไป
เรียกว่า วัยหมดประจำเดือน
หรือ วัยหมดระดู อายุโดยเฉลี่ยที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดระดูของสตรีไทยคือประมาณ
48 ปี ซึ่งจะมีเวลาอีกประมาณ 20 - 30 ปี กว่าจะถึงอายุขัย ดังนั้นจะเห็นว่าวัยหมดระดูมีเวลานานถึง
หนึ่งในสาม ของชีวิตสตรี
-
-
วัยเจริญพันธุ์
-
วัยเจริญพันธุ์ของสตรีคือ
วัยที่สามารถมีบุตรได้และยังมีประจำเดือน วัยนี้ร่างกายจะได้รับอิทธิพลของ
-
ฮอร์โมนจากรังไข่ได้แก่
เอสโตรเจน ทำให้ร่างกายเจริญเปลี่ยนแปลงจากเด็กหญิงมาเป็นเด็กสาว และมีการเจริญ
เติบโตของอวัยวะเพศอย่างสมบูรณ์จะมีการตกไข่ออกจากรังไข่เดือนละ 1 ครั้ง สามารถมีบุตรเพื่อสืบเผ่าพันธุ์ได้
และมีประจำเดือนหรือระดูสม่ำเสมอทุกเดือนถ้าไม่ตั้งครรภ์
-
ช่วงปลายของวัยเจริญพันธุ์รังไ่ข่เริ่มทำงานน้อยลง
มีการตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีการตกไข่ แต่ยังผลิต
-
ฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ระยะนี้จะสังเกตุได้ว่าประจำเดือนมาไม่ค่อยปกติคือ
มาเร็วหรือช้ากว่าธรรมดา เลือดออกมาก
-
และนาน
หรือออกน้อย หรือไม่สม่ำเสมอเหมือนเดิม อาการผิดปกตินี้มักเกิดในช่วงอายุเลย
35 ปี ขึ้นไป ซึ่งทำให้ สตรีวัยนี้จำนวนไม่น้อยต้องถูกขูดมดลูกเพื่อตรวจหามะเร็ง
จากการมีเลือดออกผิดปกติ (เพราะมะเร็งของมดลูกและ ปากมดลูกมักทำให้เลือดประจำเดือนผิดปกติได้ด้วยเหมือนกัน)
-
-
วัยหมดระดู
-
เป็นวัยที่รังไข่หยุดทำงานโ่ดยชิ้นเชิง
คือหยุดการผลิตฮอร์โมนและไม่มีการตกไข่อีกแล้ว ผลลัพธ์ที่สังเกตุได้
-
คือไม่มีประจำเดือนอีก
ในวัยนี้ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ
-
อย่างเห็นได้ชัด
กล่าวคือ
-
1.
อาการหมดระดู นอกจากไม่มีประจำเดือนแล้วสิ่งแรกที่หญิงวัยนี้ประสบ
คืออาการร้อนวูบวาบที่หน้าอก
-
คอ
และใบหน้า ใจสั่น เหงื่อออก หรือรู้สึกหนาวทั้ง ๆ ที่บรรยากาศรอบกายไม่เข้ากับอาการที่เป็นเลย
เช่น อากาศรอบกายเย็นดีแต่รู้สึกร้อนเหงื่อออก หรืออากาศรอบกายไม่เย็นแต่รู้สึกหนาวสะท้าน
อาการหนาว - ร้อน เหงื่อออก
-
ใจสั่นนี้มักเป็นตอนกลางคือทำให้มีปัญหานอนไม่หลับเป็นผลให้ร่างกายอ่อนเพลียและมีอารมณ์
หงุดหงิดง่าย
-
อาจมีอาการปวดศรีษะ
คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อาการเหล่านี้เกิดจกการขาดฮอร์โมรเอสโตรเจน ซึ่งทำให้ระบบประสาทอัตโ่นมัติของหลอดเลือดและหัวใจทำงานผิดปกติ
อาการหมดระดูพบได้ 70 - 80% ของสตรีวัยนี้ (อาจมีอาการเหล่านี้ก่อนหมดประจำเดือนจริงเล็กน้อยก็ได้)
สตรีแต่ละคนอาจมีความรุนแรงของ อาการแตกต่างกันไป และโดยทั่วไปอาการจะคงอยู่ประมาณ
2 - 5 ปี
-
2.
อารมณ์เปลี่ยนแปลง สตรีวัยหมดระดูนอกจากจจะอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการขาด
-
ฮอร์โมนแล้วยังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่อายุมากขึ้น
และเป็นช่วงมีการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสิ่งแวดล้อม คือเป็นวัยหมดความสามารถในการมีบุตร
ความสวยงามของร่างกายเริ่มลดลงการแยกครอบครัว ของลูก ๆ การตายจากของเพื่อนหรือญาติ
ตวามเจ็บป่วยของร่างกายที่มากขึ้น ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
-
ทางอารมณ์
และจิตใจได้อย่างดี จึงอาจพบอาการหงุดหงิด อ่อนไหว และซึมเศร้า ของสตรีในวัยนี้ได้เสมอ
ๆ
-
3.
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่
ทำให้ขนาด
-
มดลูกฝ่อเล็กลง
ผนังช่องคลอดบางลง ปากช่องคลอดแห้งบางทำให้มีปัญหาอักเสบง่ายและเจ็บเวลามีเพศสัมพันธุ์
-
ในรายที่มีกระบังลม
หรือช่องคลอดหย่อนอยู่แล้วก็จะมีอาการมากขึ้น ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อบาง
มีอักเสบง่าย ทำให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น อาการปัสสาวะปวดแสบ
ปัสสาวสะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น
-
4.
กระดูกกร่อน เมื่อขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่
จะทำให้เกิดภาวะเนื้อกระดูกกร่อนซึ่งเป็นภาวะที่สำคัญที่สุด
-
เพราะเนื้อกระดูกจะลดลง
1 - 4% ทุก ๆ ปีภายหลังหมดระดู ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ 3 ประการ คือ
-
(1)
กระดูกสันหลังหักแบบยุบตัว (Compression fracture) ทำให้หลังโก่ง ปวดหลังและอาการเส้นประสาทถูกกดทับ
-
(2)
กระดูกแขนหักง่ายเมื่อมี อุบัติเหตุแม้เพียงเล็กน้อย
-
(3)
หัวกระดูกต้นขาหักง่าย ทำให้สตรีที่มีภาวะเหล่านี้ได้รับความทุกข์ทรมานและอาจเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควร
-
และที่สำคัญกว่าจะ
รู้ตัวเรื่องกระดูกกร่อนมักมีอาการมากแล้ว
-
5.
หัวใจและหลอดเลือด จากการศึกษาพบว่าสตรีวัยหมดระดูมีภาวะไขมันในเลือดสูงขึ้นกว่าวัยก่อนหมดระดู
-
ซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
ทำให้มีโรคเส้นเลือดแข็งความดันโ่ลหิตสูงและโรคหัวใจขาดเลือด ขึ้นอย่างชัดเจน
-
6.
ผิวหนังและต่อมของผิวหนัง ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อผิวหนังและต่อมของผิวหนังเช่นกัน
เพราะเมื่อขาดฮอร์โมนผิวหนัง
-
จะขาดความชุ่มชื่นขาดความยืดหยุ่น
แห้งบางและเป็นแผลได้ง่าย
-
7.
อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในวัยหมดประจำเดือน คือ การมีขน หนวดหรือเคราขึ้น
การมีเสียงห้าวการเปลี่ยนแปลง
-
ของความรู้สึกทางเพศ
และการมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
-
-
การดูแลรักษา
-
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วในปัจจุบันว่าการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
(และโปรเตสเตอโรน) ทดแทนใน ช่วงวัยหมดประจำเดือน
-
มีประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีช่วยให้คุณภาพ
ชีวิตของสตรีวัยหมดประจำเดือนดีขึ้น แม้จะพบผลข้างเคียงของฮอร์โมนบ้าง แต่ประโยชน์ยังมากกว่ามากถ้าใช้อย่างเหมาะสม
มีสตรีบางรายที่มีสภาพร่างกาย
-
บางอย่างไม่เหมาะสมต่อการได้เอสโ่ตรเจนก็มียาอื่น
หรือวิธีอื่น ๆ ทดแทน ซึ่งควรปรึกษาแพทย์และใช้ยาภายใต้การแนะนำ
-
ของแพทย์
สตรีที่ได้เอสโ่ตรเจนทดแทนอาจมีหรือไม่มา ประจำเดือนของแพทย์ สตรีที่ได้เอสโ่ตรเจนทดแทนอาจมีหรือ
-
ไม่มีประจำเดือนอีก
ถ้ามีควรมีสม่ำเสมอเป็นรายเดือน ถ้าผิดปกติควรปรึกษาแทพย์ทันที
-
เนื่องจากสตรีวัยหมดระดูเป็นวัยสูงอายุด้วยการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
และจิตใจนอกจากจะเกิดจากการ ขาดฮอร์โมน
-
เอสโ่ตรเจนของรังไข่แล้ว
ยังเกิดจากภาวะการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ดังนั้นการช่วยให้สตรีวัยนี้มีการดำรงชีวิตได้ตามปกติ
-
นอกจากการได้ฮอร์โมนทดแทนแล้ว
การดูแลสุขภาพทั่ว ๆ ไป ก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะการให้ฮอร์โมนไม่ได้
-
หมายความว่าจะยับยั้งความชราของร่างกายได้
-
-
การดูแลสุขภาพทั่วไป
-
สตรีวัยหมดระดูควรได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานอาหารอย่างถูกส่วนและได้แคลเซี่ยม
-
เสริมเพื่อลดการกร่อนของกระดูก
ควรทำให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี มีงานอดิเรกทำ ตรวจสุขภาพร่าง กายทุกระยะสม่ำเสมอ
เหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตวัยหมดระดูเป็นวัยที่มีความสุขไม่แพ้วัยอื่น ๆ
-
-
บทส่งท้าย
-
มีคำกล่าวกันว่า
วัยหมดประจำเดือนน่าจะเป็น วัยทองของชีวิต น่าจะเป็นช่วยที่มีความสุขอย่างมากของ
สตรี
-
เนื่องจากเป็นวัยที่ผ่านการทำงานมานานมีประสบการณ์มาก
มีฐานะมั่นคง พ้นภาระเลี้ยงดูลูก ๆ ภาระการงานน้อยลง
-
แต่สตรีส่วนใหญ่มักมีอาการไม่ปกติ
เนื่องจากผลของการขาดฮอร์โมนดังกล่าว ซึ่งในสมัยก่อนถือว่าเป็นธรรมชาติ ที่แก้ไขไม่ได้
ต้องยอมรับสภาพ ทำให้การย่างเข้าสู่วัยนี้ดูน่ากลัว
-
ปัจจุบันความเข้าใจต่อวัยหมดระดูดีขึ้นมาก
จึงนับว่าเป็นโชคของสตรีวัยนี้ที่จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่าง
สมบูรณ์สมกับคำว่า
วัยทองของชีวิต
-
-
โดย
พันเอก นายแพทย์ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล สูติแพทย์
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
1
July 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.