ปวดต้นคอ ทำอย่างไร?
neck
sprain กล้ามเนื้อ บริหาร ชา เส้นประสาท ,
medbible
สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย
|
|
1. อิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น
-การแหงนหน้า หรือ ก้มหน้าทำงานทั้งวัน เช่น
ผู้ทำงานเย็บจักร ซักผ้า เขียนหนังสือ ช่างซ่อมรถ
-นอนในท่าที่คอพับ หรือ บิดไปข้างใดข้างหนึ่ง
นอนหนุนหมอนที่สูง หรือ แข็งเกินไป
2.ความเครียดทางจิตใจ
ซึ่งอาจทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อคอ
ทำให้มีอาการปวดต้นคอ ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย
ภายหลังจากการทำงาน หรือภายหลังจากมีปัญหาขัดแย้ง
|
3.อุบัติเหตุ
ที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวของคอมาก หรือ รวดเร็วกว่าปกติ
ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นฉีกขาด หรือ กระดูกคอเคลื่อน
4.กระดูกคอเสื่อม ซึ่งพบได้ในผู้ที่สูงอายุทุกคน
แต่มีบางคนเท่านั้นที่มีอาการมากจนต้องได้รับการรักษา
สำหรับการเอ๊กซเรย์กระดูกคอจะพบว่ามีกระดูกงอกที่บริเวณขอบ ๆ
ข้อต่อ
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถพบได้ในคนสูงอายุทั่วไปที่ไม่มีอาการเลยก็ได้
ดังนั้นไม่จำเป็นต้องเอ๊กซเรย์ทุกคน
5.ข้ออักเสบ เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค รูมาตอยด์
6.กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ
ซึ่งยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร
จะมีอาการปวดในกล้ามเนื้อ
และปวดมากขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อนั้นถูกใช้งาน รู้สึกว่า
กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีบริเวณที่กดเจ็บชัดเจน
และอาจจะคลำได้ก้อนพังผืดแข็ง ๆ ในบริเวณที่กดเจ็บ
1.พยายามพักผ่อนให้มาก
ทางที่ดีควรนอนราบ หนุนหมอน ซึ่งหมอนที่ดี ควรมี
- ความนุ่มและยืดหยุ่นสามารถแนบส่วนต่าง ๆ
โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งของก้านคอ
- ความหนาที่พอเหมาะ
เมื่อนอนหนุนหมอนแล้วมองด้านข้างคอจะอยู่ในแนวตรง
คอไม่แหงน หรือไม่ก้ม
2.ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น
โดยใช้น้ำแข็งทุบใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้าขนหนู หรือ
ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบประมาณ 10 -15 นาที
3.รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล แอสไพริน ทุก 4 -
6 ชั่วโมง อาจใช้ครีมนวดแก้ปวด
ก็ได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้นไปอีก
4.ทำกายภาพบำบัด
-บริหารกล้ามเนื้อคอ
-ใส่ปลอกคอ ซึ่งใช้เฉพาะรายที่จำเป็นเท่านั้น
-ถ่วงน้ำหนักดึงกระดูกคอ
-ประคบบริเวณที่ปวดด้วย ความร้อน ความเย็น หรือ
คลื่นเสียงอัลตร้าซาวน์
อาการปวดมักจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน
แต่ยังไม่หายสนิทให้กินยาแก้ปวดต่อไป และ
ฝึกการบริหารเพื่อให้คอเคลื่อนไหวดีขึ้น และ
ออกกำลังกล้ามเนื้อคอ ให้แข็งแรงมากขึ้น
่ถ้าอาการต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์
|
1. มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่
แขน โดยอาจจะมีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง ร่วมด้วย
2. มีอาการอ่อนแรงของขา เวลาเดินรู้สึกว่าขาจะสั่น ๆ หรือ
รู้สึกขา กระตุก ๆ
3. กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะ ไม่ได้ ทำให้มีอุจจาระ
หรือปัสสาวะราด
4. อาการปวดไม่ดีขึ้น หรือปวดเพิ่มมากขึ้น
1.ระวังอิริยาบถ หรือ
ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
-อย่าให้คอต้องก้ม-เงย นานเกินไป หรือ ก้ม-เงย บ่อยเกินไป
ควรหยุดพักเพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือเคลื่อนไหวคอสัก 2 -
3 นาทีทุก ๆ ชั่วโมง
-การนอนควรนอนบนที่นอนแข็งพอสมควร
นอนหนุนหมอนที่นุ่มและยืดหยุ่นพอที่จะแนบส่วนต่าง ๆ
โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งของก้านคอและมีความหนาพอเหมาะ
ที่จะทำให้คออยู่ในแนวตรงเมื่อมองจากด้านข้าง
ไม่ทำให้คอแหงนหรือก้มมากเกินไป
อย่านอนคว่ำอ่านหนังสือหรือดูทีวี
2.หมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อของคอทุก ๆ วัน
ให้บ่อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ( ทำมากได้มาก )
3.พยายามลดความเครียดจากชีวิตประจำวัน
โดยการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
เพื่อจะได้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
1.
ทำให้กล้ามเนื้อคอเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
ก้มและเงยหน้า ก้มหน้าให้คางจรดกับอก แล้วค่อย
เงยหน้าให้แหงนไปด้านหลังให้มากที่สุด
ตะแคงซ้ายขวา หน้าอยู่ตรง ๆ ตะแคงซ้าย
พยายามให้หูจรดไหล่ซ้าย โดยไม่ยกไหล่
กลับที่เดิมแล้วตะแคงขวาให้หูจรดไหล่ขวาโดยไม่ยกไหล่
หันหน้าซ้ายขวาหมุนศีรษะให้หน้าหันไปด้านซ้าย
ให้ปลายคางอยู่ในแนวเดียวกับไหล่ซ้าย
แล้วหมุนกลับไปด้านขวาให้ปลายคางอยู่ในแนวไหล่ขวา
2.
ทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงขึ้น โดยเกร็งกล้ามเนื้อ-คอ ประมาณ
10 วินาที (นับหนึ่งถึงสิบ) ทำซ้ำ 10 ครั้ง
พยายามทำโดยให้คอและหน้าอยู่ในแนวตรง
ก้มคอ
ใช้ฝ่ามือดันที่หน้าผากต้านกับความพยายามที่จะก้มศีรษะลง
นับหนึ่งถึงสิบ
เงยหน้า ใช้ฝ่ามือประสานกัน
ที่บริเวณเหนือท้ายทอยแล้วดันมาข้างหน้า
ต้านกับความพยายามที่จะแหงนหน้าไปข้างหลัง นับหนึ่งถึงสิบ
ตะแคงคอ ใช้ฝ่ามือซ้ายดันที่ข้างศีรษะเหนือหูซ้าย
ต้านกับความพยายามที่จะตะแคงศีรษะไปด้านซ้าย นับหนึ่งถึงสิบ
แล้วสลับกับด้านขวาทำแบบเดียวกัน
หันหน้า
ใช้ฝ่ามือซ้ายดันที่ข้างศีรษะหน้าหูซ้ายต้านกับความพยายามที่จะหันหน้าไปด้านซ้าย
นับหนึ่งถึงสิบ แล้วสลับกับด้านขวาทำแบบเดียวกัน
โดย
นพ.พนมกร
ดิษฐสุวรรณ์
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ