มะเร็งตับ ....อีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา
liver
cancer hepatic เนื้องอก ก้อน tumor chemo
เคมีบำบัด
มะเร็งตับ ....อีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา |
|
เอ่ยชื่อว่า "มะเร็ง " ส่วนใหญ่มักรักษาให้หายขาดได้ยาก หรือไม่มีทางรักษาเลย
ทั้งนี้ก็แล้วแต่มะเร็งของอวัยวะใด และแพร่กระจายไปจนถึงขั้นใดแล้ว
"มะเร็งตับ" ก็เป็นหนึ่งในมะเร็ง
ที่เคยรับรู้กันมาว่า ถ้าใครเป็นแล้วโอกาสรอดมีน้อยมาก ในสมัยก่อน ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
ว่าเป็นมะเร็งตับ มักได้รับการคาดการณ์จากแพทย์ต่อโดยทันทีว่า จะอยู่ได้ไม่เกิน 4 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง
โดยที่ไม่มีการรักษาใดๆ ให้เลย หรือไม่ก็เป็นเพียงให้ยาทุเลาตามอาการทั่วไป
|
บทความต่อไปนี้ จะเป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับการรักษามะเร็งตับ
ถึงแม้จะไม่ถึงกับให้หายขาด แต่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้มีชีวิตยาวนานขึ้น หรืออย่างน้อย... ทรมานจากโรคน้อยลง
มะเร็งตับ หรือชื่อทางการแพทย์ว่า
Hepatocellular carcinoma หรือ Hepatoma เกิดขึ้นจากหลาย
สาเหตุ ส่วนใหญ่แล้วไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงมากมายที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุที่เพิ่มโอกาสให้เกิดมะเร็งตับ
ได้แก่ ภาวะตับแข็ง ผู้ที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังจากไวรับตับเสบชนิด บี
หรือผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้
หมายความว่าจะเป็นกันทุกคน
เพียงแต่ผู้ที่เป็นพาหะจะมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากคนปกติ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้
ยังมีสาเหตุจากสารบางอย่างหรือเรียกกันว่าสารก่อมะเร็ง เช่น
สารที่สร้างจากเชื้อราบางชนิดที่ขึ้นในถั่วลิสงที่เก็บไม่ได้มาตรฐาน
ยารักษาโรคบางอย่าง รวมไปถึงฮอร์โมนเพศชายบางชนิดที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย
ในระยะแรกๆ ของมะเร็งตับ มักไม่มีอาการใดที่ทำให้ผู้ป่วยรู้ตัว จนกว่าก้อนมะเร็งจะโตขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ป่วย
เริ่มมีอาการแน่นอึดอัดท้องทั่วๆ ไป เหมือนอาหารไม่ย่อย จนวินิจฉัยได้ยาก บางครั้งอาการเหมือนเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเฉพาะที่ บริเวณชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งของตับ ยังมีอาการทั่วไปอื่น ๆ เมื่อก้อนโต
มากขึ้นอีกเช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ถ้าเป็นมากขึ้นอาจมีท้องบวมขึ้นเหมือนท้องมาร เนื่องจากมีน้ำแทรกในช่องท้อง
การวินิจฉัยมะเร็งตับในระยะเริ่มแรก ทำได้ยาก เนื่องจากไม่แสดงอาการใดๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการ
มักมาพบแพทย์ เมื่อก้อนโตมากแล้วเกิน 4-5 ซม. หรือเกือบถึง 10 ซม. หรือกระจายเป็นหลายๆ ก้อนทั่วตับ
ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ยาก
การตรวจด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า อุลตร้าซาวด์ (ULTRASOUND) จะสามารถเห็นก้อนได้ตั้งแต่ขนาด 1 เซ็นติเมตร
ดังนั้น ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่างๆดังที่กล่าวข้างต้น ควรได้รับการตรวจเช็คด้วยอุลตร้าซาวด์อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
ถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เพื่อตรวจเช็คหามะเร็งตับตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
นอกจากนี้ หากตรวจพบว่ามีก้อนในตับ ยังมีการตรวจหาสารบางอย่างในเลือดซึ่งจะเป็นตัวช่วยบ่งชี้ว่าก้อนดังกล่าว
เป็นมะเร็งตับหรือไม่ รวมไปถึงการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ และการเจาะเนื้อตับจากหน้าท้องโดยตรง
เพื่อนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์หาเซลล์มะเร็ง
มะเร็งตับสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
แต่มีข้อแม้หลายประการคือต้องเป็นก้อนเดียว
และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ลึกมาก หรือเฉพาะในกลีบซ้ายของตับ แต่โดยทั่วไป ผู้ป่วยมะเร็งตับในบ้านเรา มักมาพบแพทย์
เมื่ออยู่ในระยะที่ไม่สามารถที่จะผ่าตัดให้หายขาดได้ รวมไปถึงบางรายที่แม้ผ่าไปแล้ว ต่อมาพบมะเร็งเกิดขึ้นซ้ำอีก
เนื่องมาจากมะเร็งได้กระจายไปในระดับเซลล์แล้วตั้งแต่ก่อนผ่าตัด แต่ยังไม่ถึงกับเป็นก้อนให้ตรวจพบได้ ก่อนหน้านี้
เมื่อผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ผ่าตัดไม่ได้แล้ว ก็ไม่มีวิธีรักษาอื่นอีก แพทย์มักแนะนำให้ญาติกลับไปดูแลผู้ป่วยเองที่บ้าน
หรือให้เพียงการรักษาประคับประคองกับผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากมะเร็งตับ