Thaiclinic.com

Thaiclinic Logo bannermedbiblewelcomeclr.gif (19991 bytes)
Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspaceup.gif (292 bytes)Contact Me,Dr.OU

แนวทางและคำแนะนำใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
โดย สมาคมสูตินรีแพทย์ประเทศสหรัฐอเมริกา กันยายน 2003

เนื้องอก เลือดออก ช่องคลอด pap smear uterus

 

สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ได้ออกแนวทางใหม่ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยจะ ทำการตรวจในกลุ่มอายุที่มากขึ้นกว่าเดิมและความถี่น้อยกว่าเดิม

 

แนวทางใหม่นี้ได้ออกตีพิมพ์ในวารสาร Obstetrics & Gynecology เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยทดแทนและเปลี่ยนแปลงแนวทางเดิมที่เคยใช้มาตั้งแต่ปี 1995 รองประธานสมาคม นายแพทย์ Stanley Zinberg ให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงแนวทางการตรวจนี้ ไม่เพียงแต่เกิดจาก การพัฒนาเทคโนโลยีที่ดีขึ้น แต่ในช่วงที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ยังเข้าใจถึงการก่อเกิดมะเร็งปากมดลูกอย่างดีขึ้นมากอีกด้วย โดย แนวทางใหม่นี้จะเป็นรูปแบบฐานข้อมูลสนับสนุน หรือ Evidence-based โดยมีเนื้อหาที่สำคัญคือ

การตรวจคัดกรองครั้งแรก

จะเริ่มทำเมื่อหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกประมาณ 3 ปี หรือเมื่อถึง อายุ 21 ปี แล้วแต่ว่าถึงเวลาใดก่อน ซึ่งเดิมกำหนดว่า ให้เริ่มทำเมื่อมีเพศสัมพันธ์หรือเมื่ออายุ 18 ปี

่กลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปี

ควรทำการตรวจคัดกรองทุกปี เพราะมีหลักฐานพบว่า กลุ่มหญิงอายุน้อยกว่า 30 ปี มีโอกาสเสี่ยงมาก กว่ากลุ่มอื่นที่มีอายุมากกว่า ในการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV ) ชนิดที่ก่อมะเร็ง

กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปี

มีสองทางเลือก โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องรับการตรวจคัดกรองทุกปี

1.การตรวจทางเซลล์วิทยา( Pap smear )เพียงอย่างเดียว ถ้าได้รับการตรวจปีละครั้ง แล้วเป็นปกติ ( Negative ) ติดต่อกัน 3 ปี หลังจากนั้นสามารถรับการตรวจคัดกรองทุกๆ 2-3 ปีได้
2.การใช้การตรวจตรวจทางเซลล์วิทยาร่วมกับการตรวจหาไวรัส HPV ชนิดก่อมะเร็ง
ถ้าผลการตรวจคัดกรองปกติ( Negative ) ทั้งสองอย่าง ให้ตรวจได้ห่างขึ้นทุกๆ 3 ปี แต่ถ้าผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องรับการตรวจบ่อยขึ้น

ข้อยกเว้นของกลุ่มนี้คือ

กลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มผู้ป่วย ที่มีเชื้อไวรัส HIV หรือกลุ่มภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เปลี่ยนถ่ายไต หรือกลุ่มที่เคยได้รับ ยา diethylstilbestrol ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หรือกลุ่มที่มีประวัติ เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก่อน จำเป็นจะต้องตรวจบ่อยขึ้น

กลุ่มที่ตัดมดลูกออกไปแล้ว โดยตัดปากมดลูกออกด้วย
ถ้าการผ่าตัดเกิดจากข้อบ่งชี้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง และไม่มีประวัติการตรวจพบเซลล์มะเร็งมาก่าอน ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองอีกต่อไป แต่ในรายที่มีประวัติการตรวจเซลล์วิทยา ( Pap smear )ที่ผิดปกติ เช่น CIN 2 หรือ 3 ควรตรวจคัดกรองทุกปี จนกระทั่งเป็นปกติ ติดต่อกัน 3 ครั้ง หลังจากนั้นจึงหยุดตรวจได้

เมื่อไรจะหยุดตรวจ

คำแนะนำให้หยุดตรวจคัดกรองได้ที่อายุ 70 ปี ในกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ใดๆ แต่ สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ยังแนะนำว่า ให้พิจารณาเป็นรายๆ โดยพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น ความสามารถในการการติดตามผู้ป่วย หรือ ประวัติโรคประจำตัวอื่นๆ
และแม้ว่า อาจไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุกๆปี แต่การตรวจ ภายในเพื่อดูพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานก็ยังจำเป็นทุกๆปี

โดย นพ.ชำนาญ แท่นประเสริฐกุล สูตินรีแพทย์

เอกสารอ้างอิง

1. ACOG Committee on Practice Bulletins. ACOG Practice Bulletin: clinical management guidelines for obstetrician-gynecologists. Number 45, August 2003. Cervical cytology screening (replaces committee opinion 152, March 1995).Obstet Gynecol. 2003 Aug;102(2):417-27.


2. ACOG committee opinion. Recommendations on frequency of Pap test screening. Number 152--March 1995. Committee on Gynecologic Practice. American College of Obstetricians and Gynecologists. Int J Gynaecol Obstet. 1995 May;49(2):210-1.

Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspacebottom.gif (372 bytes)Contact Me,Dr.OU

This web is created and designed by หมออู๋
2 October 2003

Copyright (c) 1998-2001, ThaiClinic.com. All Right Reserved.