มะเร็งปากมดลูก cancer , cervix ,uterus , tumor ,malignant ,mass , bleeding , vagina, gynaecology , women ,woman , pap smear ,HPV
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในสตรีไทย มีการดำเนินโรคที่ช้า สามารถตรวจพบแต่เริ่มแรกได้ แต่ที่น่าเสียดายที่ สตรีไทยจำนวนมาก อายแพทย์ไม่มารับการตรวจทำให้สูญเสียโอกาสที่จะค้นพบโรค ในระยะเริ่มแรก
การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก ( Pap smear ) เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยาเพื่อการหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น เพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ จึงมีคำจำกัดความว่า ภาวะก่อนมะเร็งและต้องใช้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นมะเร็งระหว่าง 2-15 ปี เชื้อไวรัสชนิด Human papillomaviruses (HPV) เชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิด ภาวะก่อนมะเร็ง และมะเร็งปากมดลูก มี เชื้อไวรัสชนิด HPV มากกว่า 60 ชนิด ซึ่งมากกว่า 10 ชนิดจะติดเชื้อบริเวณ อวัยวะสืบพันธ์ โอกาสเกิดมะเร็งเนื่องจากสัมผัส เชื้อไวรัส มักจะเกิดในช่วงอายุ 20-30 ปี และ ภาวะก่อนมะเร็ง มักจะเกิดในช่วงอายุ 30-40 ปี และ มะเร็งปากมดลูก มักเกิดในช่วงอายุ 50-60 ปี พบว่ามากกว่า 50% ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ไม่เคยตรวจ เช็คมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อย 5 ปี และในส่วนที่เหลือ มักจะมีการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกมีผลเป็น ผิดปกติ หรือ ผลลบลวง ผลลบลวงพบได้ประมาณ 20% การตรวจมะเร็งปากมดลูก หลายครั้งจะช่วยลดโอกาสเกิดผลลบลวง โอกาสที่จะเกิดผลลบลวงในตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก ติดต่อกัน 3 ครั้ง เท่ากับ 0.8%( 0.2 x 0.2 x 0.2 = 0.008 ) เนื่องจากเป็นการตรวจที่ง่าย ราคาถูก สามารถให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป มะเร็งปากมดลูกก็ยังคงต้องการการตรวจหาโรคแต่ระยะแรก เพื่อผลการรักษาที่ดีต่อไป
การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก ( Pap smear ) เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยาเพื่อการหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น เพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ จึงมีคำจำกัดความว่า ภาวะก่อนมะเร็งและต้องใช้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นมะเร็งระหว่าง 2-15 ปี เชื้อไวรัสชนิด Human papillomaviruses (HPV) เชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิด ภาวะก่อนมะเร็ง และมะเร็งปากมดลูก มี เชื้อไวรัสชนิด HPV มากกว่า 60 ชนิด ซึ่งมากกว่า 10 ชนิดจะติดเชื้อบริเวณ อวัยวะสืบพันธ์ โอกาสเกิดมะเร็งเนื่องจากสัมผัส เชื้อไวรัส มักจะเกิดในช่วงอายุ 20-30 ปี และ ภาวะก่อนมะเร็ง มักจะเกิดในช่วงอายุ 30-40 ปี และ มะเร็งปากมดลูก มักเกิดในช่วงอายุ 50-60 ปี
พบว่ามากกว่า 50% ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ไม่เคยตรวจ เช็คมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อย 5 ปี และในส่วนที่เหลือ มักจะมีการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกมีผลเป็น ผิดปกติ หรือ ผลลบลวง ผลลบลวงพบได้ประมาณ 20% การตรวจมะเร็งปากมดลูก หลายครั้งจะช่วยลดโอกาสเกิดผลลบลวง โอกาสที่จะเกิดผลลบลวงในตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก ติดต่อกัน 3 ครั้ง เท่ากับ 0.8%( 0.2 x 0.2 x 0.2 = 0.008 ) เนื่องจากเป็นการตรวจที่ง่าย ราคาถูก สามารถให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป มะเร็งปากมดลูกก็ยังคงต้องการการตรวจหาโรคแต่ระยะแรก เพื่อผลการรักษาที่ดีต่อไป
การเตรียมตัวก่อนไปตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก
ตรวจใน 1 สัปดาห์หลังหมดประจำเดือน ผู้รับการตรวจควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เหน็บยา หรือ สวนล้างช่องคลอด 24-48 ชั่วโมงก่อนการตรวจ การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก(Pap smear) นี้เป็นเพียง การตรวจคัดกรอง ว่ามี ข้อสงสัยหรือข้อชี้นำว่ามีเชื้อมะเร็งหรือไม่ ส่วนการให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะก่อนมะเร็ง หรือ มะเร็งปากมดลูก คงต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ต่อไป ซึ่งมักจะต้องการได้รับ ชิ้นเนื้อบางส่วนของปากมดลูก หรือ ปากมดลูกทั้งหมด ( ในบางกรณี ) แล้วจะได้พิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป ภาวะก่อนมะเร็ง ยังแบ่งความรุนแรงเป็น 3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และมาก ซึ่งจะเป็นการช่วยใน การพิจารณาให้การรักษา และติดตามต่อไป
ตรวจใน 1 สัปดาห์หลังหมดประจำเดือน
ผู้รับการตรวจควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เหน็บยา หรือ สวนล้างช่องคลอด 24-48 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก(Pap smear) นี้เป็นเพียง การตรวจคัดกรอง ว่ามี ข้อสงสัยหรือข้อชี้นำว่ามีเชื้อมะเร็งหรือไม่ ส่วนการให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะก่อนมะเร็ง หรือ มะเร็งปากมดลูก คงต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ต่อไป ซึ่งมักจะต้องการได้รับ ชิ้นเนื้อบางส่วนของปากมดลูก หรือ ปากมดลูกทั้งหมด ( ในบางกรณี ) แล้วจะได้พิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ภาวะก่อนมะเร็ง ยังแบ่งความรุนแรงเป็น 3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และมาก ซึ่งจะเป็นการช่วยใน การพิจารณาให้การรักษา และติดตามต่อไป
การเฝ้าติดตาม ใช้ในกรณีที่ภาวะก่อนมะเร็งระดับน้อย ถึงปานกลาง การทำลายเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ได้แก่ การใช้ความเย็นจัดจี้ทำลาย การใช้แสงเลเซอร์เผาทำลาย การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย ด้วย ลวดความร้อน หรือ มีดผ่าตัด การตัดมดลูก มักใช้ในกรณี มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือต้องการทำหมัน อายุมากหรืออยู่ในรายหมดประจำเดือน ไม่สามารถติดตามผลในระยะยาวได้ มีพยาธิสภาพอย่างอื่นทางนรีเวชที่จะต้องทำการผ่าตัด เช่นเนื้องอกนอกมดลูก อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องติดตามภายหลังการรักษาต่อไป แม้ว่าจะตัดมดลูกแล้ว
การเฝ้าติดตาม ใช้ในกรณีที่ภาวะก่อนมะเร็งระดับน้อย ถึงปานกลาง
การทำลายเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ได้แก่
การใช้ความเย็นจัดจี้ทำลาย
การใช้แสงเลเซอร์เผาทำลาย
การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย ด้วย ลวดความร้อน หรือ มีดผ่าตัด
การตัดมดลูก มักใช้ในกรณี
มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือต้องการทำหมัน
อายุมากหรืออยู่ในรายหมดประจำเดือน
ไม่สามารถติดตามผลในระยะยาวได้
มีพยาธิสภาพอย่างอื่นทางนรีเวชที่จะต้องทำการผ่าตัด เช่นเนื้องอกนอกมดลูก
อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องติดตามภายหลังการรักษาต่อไป แม้ว่าจะตัดมดลูกแล้ว
ภาวะมะเร็งปากมดลูก
เมื่อความเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกเป็นมาก เปลี่ยนจากภาวะก่อนมะเร็ง เป็น มะเร็ง ซึ่งจะใช้เวลาหลายปี แบ่งระยะได้ 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 มะเร็งจำกัดอยู่เพียงปากมดลูก ระยะที่ 2 มะเร็งเริ่มลุกลามออกนอกปากมดลูกไปด้านข้าง ระยะที่ 3 มะเร็งเริ่มลุกลามจนถึงอุ้งเชิงกราน ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามไปไกล
เมื่อความเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกเป็นมาก เปลี่ยนจากภาวะก่อนมะเร็ง เป็น มะเร็ง ซึ่งจะใช้เวลาหลายปี แบ่งระยะได้ 4 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 มะเร็งจำกัดอยู่เพียงปากมดลูก
ระยะที่ 2 มะเร็งเริ่มลุกลามออกนอกปากมดลูกไปด้านข้าง
ระยะที่ 3 มะเร็งเริ่มลุกลามจนถึงอุ้งเชิงกราน
ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามไปไกล
การรักษามะเร็งปากมดลูก
ฉายรังสีและใส่แร่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การรักษาจะใช้วิธีใด ขึ้นกับระยะของโรค ภาวะของผู้ป่วยว่าเหมาะสมแก่การผ่าตัดหรือไม่ โดยทั่วไปการผ่าตัดจะจำกัดอยู่เพียงระยะที่ 1 ส่วนระยะที่เหลือ มักจะต้องใช้ การฉายรังสี ส่วนการใช้ยาเคมีบำบัดในขณะนี้มักจะใช้ร่วมกับการฉายรังสี หรือใช้ในกรณีที่มะเร็งเป็นกลับซ้ำ หลังจากการรักษาวิธีอื่นมาแล้ว โดย นพ.คมสันติ์ สุวรรณฤกษ์ สูติ-นรีแพทย์
ฉายรังสีและใส่แร่
การผ่าตัด
การให้ยาเคมีบำบัด
การรักษาจะใช้วิธีใด ขึ้นกับระยะของโรค ภาวะของผู้ป่วยว่าเหมาะสมแก่การผ่าตัดหรือไม่ โดยทั่วไปการผ่าตัดจะจำกัดอยู่เพียงระยะที่ 1 ส่วนระยะที่เหลือ มักจะต้องใช้ การฉายรังสี ส่วนการใช้ยาเคมีบำบัดในขณะนี้มักจะใช้ร่วมกับการฉายรังสี หรือใช้ในกรณีที่มะเร็งเป็นกลับซ้ำ หลังจากการรักษาวิธีอื่นมาแล้ว
โดย นพ.คมสันติ์ สุวรรณฤกษ์ สูติ-นรีแพทย์
This web is created and designed by หมออู๋ 9 November 2000
Copyright (c) 1998-2000, ThaiClinic.com. All Right Reserved.