10th Anniversary thaiClinic.com
Medical Bible Clinic Online Health Conference Featured Content Service and Support
Contact Us

7 อาการปวดที่ไม่ควรมองข้าม
ปวดหัว ปวดท้อง ปวดแขน ปวดขา อันตราย หัวใจ เส้นเลือด headache chest pain heart

อาการปวดนั้นเกิดขึ้นกับเราได้หลายรูปแบบครับเมื่อวานนี้คุณไปยกของหนักก็ปวด นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปก็ปวด เป็นหวัดก็ปวด หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด

แต่มีอาการปวดบางประเภทครับที่คุณไม่ควรมองข้ามและควรจะปรึกษาแพทย์โดยทันทีเพราะอาการปวดเหล่านั้น มันอาจจะบ่งบอกถึงสัญญาณอันตรายบางอย่างที่เราคิดไม่ถึง ดังต่อไปนี้ครับ

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง หรือปวดสุดๆเท่าที่เคยปวดมาเลยแบบนี้ ต้องพบแพทย์ครับ หากว่าคุณเป็นหวัดแล้วปวดสุด ๆ มันอาจจะมีสาเหตุมาจากไซนัสก็ได้

หากไม่เป็นหวัด ก็อาจจะมีสาเหตุที่รุนแรง เช่น เลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมองก็เป็นได้ ซึ่งบางครั้งต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายที่ละเอียด หรือ ต้องใช้เครื่องมือ เช่น CT Scan เพื่อช่วยการวินิจฉัยโรค

ปวดหน้้าอก

อาการปวด หรือแน่น อึดอัด บริเวณหน้าอก คอ ขากรรไกร ไหล่ แขน หรือ ท้อง (Pain or Discomfort in the Chest, Throat, Jaw, Shoulder, Arm, or Abdomen) อาการปวดแถวนี้เป็นได้จากหลายสาเหตุครับ โดยอาการปวดบริเวณหน้าอกอาจจะเกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจได้ แต่ควรระวังว่า ภาวะที่เกิดจากหัวใจนั้น โดยทั่ว ๆ ๆไปจะแสดงออกมาในรูปของอาการแน่น อีดอัด ไม่สบาย มากกว่าอาการปวดโดยผู้ป่วยโรคหัวใจจะอธิบายไว้ครับว่า เหมือนกับมีช้างมานั่งทับอยู่บนหน้าอกนั่นแหละ

ส่วนตำแหน่งที่รู้สึกไม่สบายนั้น มักจะเป็นส่วนบนของหน้าอก คอ ขากรรไกร ไหล่ซ้าย หรือแขนครับ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกท่วมตัว จะเป็นลม หน้าดูซีด แบบนี้ต้องรีบไปรพ.โดยด่วนเลยครับ บางครั้งอาจมีอาการปวดท้องก็มักจะเกิดขึ้นร่วมกันอาการคลื่นไส้ ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดคิดว่ามันเป็นอาการของโรคจากทางเดินอาหาร ( GI Distress) จริงๆแล้วเป็นอาการของกล้ามเนื้อหัวใจที่ผนังด้านล่างขาดเลือด

แต่สำหรับอาการของผู้หญิงนั้น จะดูยากกว่าเพราะผู้ป่วยมักจะคิดว่าเป็นอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเช่น ท้องอืด แน่น หรือ ความรู้สึกปั่นป่วนในท้อง มักไม่ค่อยคิดว่า ตนเองอาจมีโรคหัวใจ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการเหนื่อยร่วมด้วย อีกทั้งโอกาสในการเป็นโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นมากในผู้หญิงวัยทอง ดังนั้นคุณผู้หญิงทั้งหลายต้องระมัด ระวังและอย่าไปนิ่งนอนใจเพราะคิดว่าอาการดังกล่าวเป็นเพียงแค่อาหารเป็นพิษเท่านั้น

ปวดหลัง

อาการปวดหลังส่วนล่างหรือ ระหว่าง สบัก ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะคิดว่าเป็นอาการของข้ออักเสบ (arthritis) กล้ามเนื้ออักเสบ แต่ก็สามารถจะเป็นอย่างอื่นได้อีก รวมทั้งโรคหัวใจ หรือ ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง (Abdominal problems) ที่เป็นอันตรายอีกอย่างหนึ่งก็คือ Aortic Dissection คือเส้นเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจมีการแยกชั้น ซึ่งอาการปวดอาจจะเป็นไปในลักษณะ ค่อยๆ ปวดเพิ่มขึ้น หรือ ปวดทันทีทันใดก็ได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงมาก ก็คือ ผู้ที่มีโรคความดันสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ และเป็นโรคเบาหวานโรคนี้อันตรายมากเช่นเดียวกัน ต้องรีบไปรพ.โดยด่วน

ปวดท้้อง

อาการปวดท้องอย่างรุนแรง (Severe Abdominal Pain) ถ้าหากไส้ติ่งของคุณยังอยู่ นั่นอาจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่สาเหตุของมันอาจจะเป็นอย่างอื่นอีกก็ได้เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ ,ตับอ่อนอักเสบ ,กระเพาะทะลุ ,ลำไส้อุุดตัน โดยแต่่ละอย่างมีลักษณะที่พอแยกได้ดังนี้

  • ไส้ติ่งอักเสบ จะปวดท้องด้านขวา ล่าง ต่ำกว่าระดับของสะดือ อาจมีหนาว หรือมีไข้ เบื่ออาหาร กินข้าวไม่ลง
  • ตับอ่อนอักเสบ จะปวดใต้ลิ่นปี่ ร้าวไปหลัง ปวดมากๆ บางคนมีประวัติ ทานเหล้า เบียร์มาเยอะ แต่บางคนก็เกิดจากนิ่วจากถุงน้ำดีหล่นมาอุด พวกนี้จะไม่มีประวัติกินเครื่องดื่ม Alcohol
  • กระเพาะอาหาร พวกนี้ก็จะปวดใต้ลิ่นปี่ ร้าวไปหลังได้คล้ายๆ ตับอ่อนอักเสบ แต่ถ้าแค่กระเพาะอักเสบ อาการจะไม่รุนแรงมาก ปวดเฉพาะลิ้นปี่ ด้านล่างๆจะไม่ปวด คนไข้จะพอเดินได้ แต่ถ้ากระเพาะอาหารทะลุ พวกนี้จะปวดลิ้นปี่รุนแรง มักปวดด้านล่างร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักล่างขวา แต่บางทีก็ปวดทั่วท้องเลย มักต้องหามมา เดินไม่ไหว
  • ลำไส้อุดตัน ส่วนใหญ่มักปวดเป็นพักๆ บีบๆ เหมือนอะไรวิ่งเป็นลูกๆในท้อง มีอาการ ไม่ถ่าย ไม่ผายลม มักมีประวัติเคยผ่าตัดช่องท้อง

ดังนั้นถ้าปวดท้องรุนแรง ต้องรีบพบแพทย์เลยครับ

ปวดขา

อาการปวดบริเวณน่อง (calf)ที่จัดว่าอาการปวดบริเวณนี้เป็นอันตรายก็เพราะสาเหตุของมันอาจจะมาจากเส้นเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis) หรือDVT ก็ได้โดยเส้นเลือดที่อุดตันนั้น สามารถเกิดขึ้นที่ deep veins ของขาได้ และโรคนี้เกิดขึ้นกับคนอเมริกันมากถึงปีละ 2 ล้านคน แล้ว ซึ่งที่เราอาจเคยได้ยินว่าคนที่นั่งเครื่องบินชั้น Economy Class แล้วเกิดเส้นเลือดดำอุดตัน ก็คือโรคนี้แหละครับและเมื่อมันเกิดขึ้น มันก็รบกวนการดำเนินชีวิตมากเสียด้วยและสิ่งที่เป็นอันตรายก็คือ ก้อนเลือดเล็ก ๆ ที่อุดตันนั้น สามารถที่จะหลุดออกและไปอุดที่อื่นแทนซึ่งหากเป็นจุดสำคัญ เช่นไปอุดเส้นเลือดในปอดก็เป็นอันตรายถึงชีวิต กลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคอ้วน คนท้อง รวมทั้ง ผู้ที่ต้องเดินทางนั่งอยู่ท่าเดียวนานๆ หรือพวกที่หลังผ่าตัด นอนนานๆ ไม่ค่อยได้ขยับตัว ขยับเขยื่อนร่างกาย บางครั้งอาการจะปรากฏออกมาให้เป็นในรูปของการบวม ตึงที่น่องแต่ไม่ปวด หรือทั้งปวดทั้งบวมบริเวณกล้านเนื้อน่องก็ได้

ไม่เพียงแต่เส้นเลือดดำอุดตันที่อุดตันได้ เส้นเลือดแดงก็สามารถอุดตันได้เช่นเดียวกัน โดยจะมีอาการปวดที่ขา ปวดมาก จะมีอาการขาเย็นร่วมด้วย เย็นแบบรู้สึกได้เลย ขาจะดูซีด แบบนี้ก็ต้องรีบไปรพ.ด่วนเลย ไม่งั้นกล้ามเนื้อจะตาย

ปวดเท้้า

อาการปวดร้อนที่เท้าและขา (Burning Feet or Legs) มีคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวนมากไม่ได้รับการรักษา เพราะบางคนไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคดังกล่าว อาการนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ในเริ่มแรก โดยจะรู้สึก burning or pins-and-needles sensation ที่เท้าและขา นั่นเป็นการบ่งบอกว่า เกิดความเสียหายขึ้นกับเส้นประสาทเข้าแล้ว ในคนไข้ที่เป็นมากๆ โรคเบาหวานจะทำให้เส้นประสาทเสีย เกิดอาการชาที่เท้าแทน ทำให้คนไข้สามารถเดินเหยียบบุหรี่ได้โดยไม่รู้สึก บางครั้งเกิดเป็นแผลจนเน่าถึงรู้ตัวว่ามีแผลเพราะได้กลิ่นก็มี

ปวดแปลกๆ

อาการปวดแบบแปลก ๆ ที่อธิบายไม่ได้ (Vague, Combined, or Medically Unexplained Pains) จริง ๆ แล้วอาการปวดมีหลายแบบ บางคนอาจจะบอกว่า ปวดศีรษะแปลก ๆ ยังไงก็ไม่รู้ ปวดท้องหรือปวดแขน แปลก ๆ อธิบายไม่ถูกหรืออาจจะมีอาการปวดหลายแบบผสมกัน

อาการปวด อาจะเป็นอาการเรื้อรัง และ ไม่ได้รุนแรง การอธิบายออกมาไม่ชัดเจนอาจทำให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจอาการผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีความเครียดดังนั้น ยิ่งถ้าคุณมีความเครียด หรือวิตกกังวลมากเท่าไหร่ ก็ให้พยายามอธิบายความรู้สึกให้มากเข้าไว้ อย่างไรก็ตาม อาจจะมีอาการในลักษณะอื่น ๆ ที่แสดงออกมาอีก และเมื่อไหร่ที่ควรจะมาพบแพทย์ ตัวคุณเองต้องลองสังเกตดูว่า อาการที่เกิดกับตัวคุณนั้นส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรือไม่ มันทำให้คุณไม่สามารถทำงานให้ลุล่วงได้หรือเปล่าหรือมันทำให้คุณอยู่ร่วมกับคนอื่นไม่ได้ ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค เช็คให้รู้ว่าไม่มีอะไรผิดปกติก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย

ดังนั้น จงอย่านิ่งเงียบและทนปวดอยู่คนเดียวครับ

นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์



Copyright © 1998-2013.
Thaiclinic.com. All Right Reserved

Thailand WEB Awards'1999
Healthnet Web Award '2000
Truehits.net web award'2003
สำหรับผู้ชมทุกวัย