- เริ่มต้นวันใหม่ด้วยอาหารเช้าที่มีคุณค่า
:
เพราะอาหารเช้าเป็นอาหารมื้อที่มีความสำคัญที่สุดในแต่ละวัน
เป็นการเตรียมร่างกายลูกน้อยให้พร้อมกับการเรียน
สำหรับคุณพ่อ
คุณแม่ที่ไม่มีเวลามากนัก
นมสักแก้ว กับ Cereal
ขนมปังทาเนยถั่ว
ปิดท้ายผลไม้สักหน่อย
แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
- พยายามให้ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกาย : ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง ขี่จักรยาน หรือเดินเล่น โดยคุณควรจะทำกิจกรรมเหล่านั้นกับลูกด้วย อาจจะใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาที หลังจากที่ลูกทำการบ้านเสร็จก็เพียงพอแล้วในแต่ละวัน นอกจากนั้น ควรจะฝึกนิสัยให้ลูกเดินขึ้นบันได แทนที่จะขึ้นลิฟต์ หรือบันไดเลื่อน ถ้าเป็นไปได้ ควรจะจัดเวลาให้กับการออกกำลังกายของลูกวันละครึ่งชั่วโมง
- รับประทานของว่างอย่างฉลาด : พวกขนมขบเคียวของว่างต่าง ๆ ควรเลือกแต่สิ่งที่มีประโยชน์ มีคุณค่าอาหาร เช่นนม ขนมปังกรอบสอดไส้ ขนมปังทาเนยถั่ว หรือแยมผลไม้ แซนวิช เป็นต้น
- สร้างความกระฉับกระเฉงให้กับลูก : การออกกำลังกาย และการอบอุ่นร่างกาย จะทำให้ลูก ๆ มีความกระฉับกระเฉง ว่องไว เวลาออกกำลังกาย ก็ควรจะมี Warm up สักเล็กน้อยก่อน เมื่อร่างกายพร้อมจึงออกกำลังกายอย่างจริงจัง และเมื่อจะเลิกก็ต้องค่อย ๆ ทำให้ร่างกายผ่อนคลายลงมาทีละน้อย และอย่าลืมฝึกให้ลูกหายใจลึก ๆ ด้วย
- เลือกอาหารนานาชนิดให้รับประทานอย่างสมดุลย์
: ในแต่ละวันลูกควรจะได้รับประทานอาหารหลาย ๆ อย่าง ไม่ใช่ว่าเด็กชอบรับประทานแฮมเบอร์เกอร์ และมันฝรั่งทอด ก็ปล่อยให้รับประทานแต่อย่างนั้นติด ๆ กันหลาย ๆ มื้อ การรับประทานอาหารหลากที่มีคุณค่าอาหารต่างกัน จะทำให้ร่างกายได้รับอาหารอย่างครบหมู่
- ถ้าต้องการให้ลูกชอบกิจกรรมหรือการละเล่นนอกบ้านควรจะหาเพื่อนให้ลูกด้วย : เด็ก ๆ จะรู้สึกสนุกสนานมากถ้าหากมีเพื่อนเล่น อาจจะเป็นเพื่อนวัยเดียวกัน หรือสมาชิกในครอบครัวก็ได้ ถ้าหากมีลูกคนเดียว ในแต่ละสัปดาห์ควรหาเวลาพิเศษ ให้เขาได้ไปเข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อนในวัยใกล้เคียงกับเขา
- พยายามให้ลูกได้รับประทานผัก ผลไม้
: ในอาหารก็ควรจะมีผักหน้าตาน่ารับประทานให้ลูก ๆ ได้ทานบ้าง เช่นว่าในสปาเก็ตตี้ ก็อาจจะใส่มะเขือเทศ ในไอศครีม ใส่กล้วยหอม ใส่ผลไม้ เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสมากที่สุดในการรับประทานอาหารจำพวกนี้
- พาลูกเข้าร่วมเกมส์การแข่งขัน หรือกีฬา
: การให้โอกาสเด็กได้เข้าไปอยู่ในทีมการแข่งขันเกมส์ หรือกีฬา จะทำให้เด็กมีความรู้สึกที่ดี อีกทั้งยังบทำให้ร่างกายของเขาสมส่วนแข็งแรงอีกด้วย
- จัดอาหารแต่ละมื้อให้สมดุลย์: เช่นว่า ถ้าหากอาหารมือนี้ มีไขมันมากหน่อย มื้อหน้าก็ลดไขมันลงบ้างก็ได้
- ทำให้การรับประทานอาหาร และการทำกิจกรรมร่วมกันนั้นมีความสนุก :
ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา การเล่นเกมส์ หรือการรับประทานอาหาร ถ้าสร้างบรรยาการศที่สนุกสนานให้กับเด็ก เขาจะมีความรู้สึกมีความสุขต่อการทำกิจกรรมนั้น ๆ
ข้อแนะนำทั้ง 10 ข้อนี้ อาจจะเป็นประโยชน์และช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้กับเด็กอายุ 9-15 ปีได้
ข้อมูลมาจาก The American Dietetic Association