มาว่ากันด้วย LASIK เลยละกันครับ
LASIK คือ Laser In-situ Keratomileusis ครับ คือการแก้ไขการหักเหของแสงของ กระจกตาดำ (cornea) ด้วยการใช้ laser beam ดังนั้นจะเหมาะอย่างยิ่งในกรณีผู้ป่วยสายตาสั้น ยาว เอียง จะไม่เหมาะกับคนที่ กระจกตา (cornea) ไม่ค่อยเรียบ เช่น หลังผ่า ต้อเนื้อ(pterygium) ที่เป็นมากๆ หรือคนที่มีแผลเป็นที่กระจกตาดำ หรืออื่นๆครับ |
ข้อดี
- ทำแล้วกลับบ้านได้เลย
- ไม่เจ็บมาก
- หลังผ่าไม่ต้องมีการดูแลรักษามากเท่าไหร่
- คุณเลิกเบื่อหน้าสวมแว่นกับการดูแล
contact lens ไปเลย
- ไม่พบ
complication โหดๆอย่าง ตาบอด หรือ glaucoma โหดๆ อะไรพวกเนี้ย
ข้อเสีย
- FDA
ยังไม่ approve ครับ
- บางคนต้องทำซ้ำ 2-3 ครั้งเพราะของพวกนี้มันไม่
100 %
- ไม่เหมาะกับคนที่สายตาไม่อยู่ในช่วง
300-800 เพราะถ้าน้อยกว่า 300 ความคลาดเคลื่อนที่มีจะทำให้ผลที่ได้ไม่คุ้มครับ
ส่วนคนที่มากกว่า 800 จะได้ผลไม่พอเพียง
- บางคนมี ภาวะแทรกซ้อน(complication)
เช่น มีเศษอะไรซักอย่าง (precipitate จะใช้ภาษาไทยว่าอะไรดี) มาเกาะที่
cornea แต่ก็ไม่มากนักหรอกครับ บางคนมี กระจกตาเหี่ยว (flap wrinking), เห็นภาพแตกเวลามีแสงจ้าๆ
(glare) และอื่นๆ
ภาวะแทรกซ้อน(complication)
ที่โหดที่สุด (ผมเคยเจอใน review article แต่ไม่เห็นในเมืองไทย) คือ
กระจกตาขุ่นทั้งหมด
( total cornea opaque) ต้องเอามาทำ
PK คือรอ cornea บริจาคมาผ่าเปลี่ยนกันเลย ซึ่ง การหักเห(refraction)
หลังทำ PK จะแย่ครับ มีเอียงเยอะไปหมด
ก็ขู่ไว้นะครับ...
- หลังทำ
บางคนจะเหลือ refractive error อีก 25-50-75 ซึ่งก็ไม่ต้องใช้แว่นหรือคอนแทค
แต่จะไม่ได้ sharp vision ดังนั้น
จึงไม่ค่อยเหมาะกับบุคลากรที่ต้องการสมบัตินี้
เช่น ศัลยแพทย์ทางหลอดเลือด(vascular surgeon),
จักษุแพทย์(ophthalmic
surgeon) เป็นต้นครับ
ถ้าแพทย์ทั่วไปพบผู้ป่วยที่ใช้
CL แล้วมี corneal ulcer กรุณาส่งต่อพบจักษุแพทย์ทันทีครับ
ถ้าช้ามีโอกาสเกิดโศกนาฏกรรมทีเดียว
เป็นเรื่องเศร้าที่แก้ไขกันยากเอาการ
ดังนั้น
ทางที่ดีที่สุดในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ คือปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อย่างเคร่งครัดครับ