-
ถ้าพบว่ามีความผิดปกติ
แพทย์จะพยายามรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ถ้าไม่มีการตกไข่ก็จะหาเหตุว่า
-
เพราะเหตุใด
และรักษาตามสาเหตุนั้น เช่นแก้ไขภาวะฮอร์โมนผิดปกติ หรือให้ยากระตุ้นการตกไข่
-
ถ้าพบว่ามีการติดเชื้ออักเสบ
ก็ให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรคถ้าพบว่ามีพังผืดที่มดลูก,ท่อนำไข่ หรือรังไข่
ก็จะ
-
มีการผ่าตัดเลาะพังผืด
-
ถ้าพบว่าท่อนำไข่ตัน
ก็จะมีการตัดส่วนที่ตันออกแล้วต่อส่วนดีเข้าด้วยกัน และเนื่องจากท่อนำไข่เป็น
อวัยวะ
-
ที่เล็กมาก
จึงต้องทำผ่าตัดโดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์ และเครื่องมือขนาดเล็ก ๆ (Microsurgery)
เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด
-
-
การมีบุตรง่ายหรือยาก
เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง
-
คู่สามีภรรยาโดยทั่วไปมี
4 ปัจจัยใหญ่ ที่จะทำให้มีการตั้งครรภ์เร็วหรือช้า คือ อายุของภรรยา,อายุของสามี
-
ความบ่อยของการมีเพศสัมพันธ์
และระยะเวลาของความพยายามตั้งครรภ์
1.
อายุของภรรยา
-
พบว่าสตรีอายุ
25 ปี ที่มีสามีอายุใกล้เคียงกันจะมีการตั้นครรภ์ได้ง่ายกว่าอายุอื่น ๆ คือใน
100 คู่ จะตั้งครรภ์
-
ได้
50 คู่ ใน 5 เดือน, 75 คู่ใน 10 เดือน และอายุที่มากขึ้น (กว่า 25 ปี) ทุก
ๆ 5 ปี จะต้องใช้เวลายาวขึ้นเกือบเท่า ตัวในการตั้งครรภ์หมายถึงจะตั้งครรภ์ยากขึ้นเรื่อย
ๆ เมื่ออายุมากขึ้นนั่นเอง
2.
อายุของสามี
-
คล้ายกับสตรีคือ
สามีอายุ 25 ปี จะสามารถทำให้ภรรยาตั้งครรภ์ได้ 75% ภายใน 1 ปี แต่จะทำให้ตั้งครรภ์
-
ได้เพียง
25% ใน 1 ปี ถ้าสามีอายุ 40 ปีขึ้นไป
3.
ความบ่อยของการมีเพศสัมพันธ์
-
อัตราการตั้งครรภ์ของคู่สามีภรรยา
จะมีอัตราการตั้งครรภ์เมื่อเปรียบเทียบความถี่ของการตั้งครรภ์นี้คือ
-
จำนวนครั้งต่อสัปดาห์
การตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือน
-
1-
25%
-
2-
33%
-
3-
50%
-
4
หรือมากกว่า- 60%
4.
ระยะเวลาของการพยายามมีบุตร
-
คู่สามีภรรยาที่พยายามมีบุตรโดยการมีเพศสัมพันธ์ที่ถี่และสม่ำเสมอ
พบว่าตั้งครรภ์ได้ 15% ในเดือนแรก,
-
50%
ใน 6 เดือน, 75% ใน 1 ปี, 90% ใน 2 ปี และมากกว่า 95% ใน 3 ปี
ภาวะมีบุตรยากคืออะไร
-
ทางการแพทย์โดยทั่ว
ๆ ไป นิยามภาวะมีบุตรยากหมายความว่า คู่สามีภรรยาที่อยู่ด้วยกัน มีเพศสัมพันธ์สม่ำ
-
เสมอ
(3 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป) เป็นเวลานาน 1 ปี แล้วยังไม่เกิดกานตั้งครรภ์
-
พบว่าประมาณ
15% ของคู่แต่งงานที่เข้าข่ายภาวะ
-
อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
-
จากการรวบรวมสาเหตุภาวะมีบุตรยาก
พบว่าสาเหตุจากฝ่ายชาย 40% เกิดจากฝ่ายหญิง 40% และเกิดจาก
-
ทั้ง
2 ฝ่ายร่วมกัน 20%
-
สาเหตุจากฝ่ายชายที่พบมากที่สุดเกือบทุกราย
เกิดจากความผิดปกติของการผลิตตัวอสุจิ
-
สาเหตุส่วนใหญ่ในฝ่ายหญิงเกิดจาก
การตกไข่ผิดปกติหรือไม่ตกไข่, ท่อน้ำไข่ผิดปกติ และโรคในอุ้งเชิง
-
กราน
ที่พบน้อยคือสาเหตุที่ปากมดลูกและช่องคลอด ที่พบบ้างน้อยมาก คือ การมีภูมิต้านต่อเชื้ออสุจิ
เมื่อไรจึงควรปรึกษาแพทย์เรื่องมีบุตรยาก
-
คู่สมรสภรรยาควรปรึกษาแพทย์
เมื่อได้พยายามมีบุตรนาน 1 ปี แล้วยังไม่มีการตั้งครรภ์
-
สำหรับคู่ที่ภรรยา
อายุมากกว่า 30 ปี แนะนำให้ปรึกษาเร็วกว่านั้น เพราะถ้ามีปัญหาที่จะต้องแก้ไขได้ไม่
-
ต้องรอจนอายุมากเกินไป
-
สตรีที่มีการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
โดยยังไม่ได้ลูกเลยติดต่อกัน 3 ครั้ง ก็ควรปรึกษาแพทย์หาสาเหตุ
-
เช่นเดียวกัน
-
สำหรับความผิดปกติทางฝ่ายชาย
ซึ่งพบมีเชื้ออสุจิผิดปกติก็ต้องหาสาเหตุ ซึ่งบางอย่างก็อาจรักษาได้ด้วย
-
การให้ยา
เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด บางอย่างต้องอาศัยการผ่าตัด เช่น เส้นเลือดขอดที่ถุงอัณฑะ
หรือการอุดตันของท่อนำเชื้ออสุจิ
-
แพทย์อาจให้วิธีการรักษาแบบผสมเทียม
(คือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าในปากมดลูกหรือโพรงมดลูก) ถ้าไม่
-
สามารถรักษาให้เชื้ออสุจิปกติได้
-
มีวิธีรักษาอย่างอื่นได้อีกหรือไม่
-
เมื่อสามารถแก้ในสิ่งผิดปกติให้ปกติได้แล้ว
ส่วนใหญ่จะมีการตั้งครรภ์ ได้โดยวิธีธรรมชาติหรือแพทย์ช่วย
-
ด้วยเล็กน้อย
แต่บางรายก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้โดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่สามารถแก้ไขสาเหตุได้
หรือเพราะเราไม่ทราบสาเหตุ การมีบุตรยากนั้น ก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีระดับสูงเช้ามาช่วย
นั่นคือการทำผสมเทียมในหลอดแก้ว
-
(In
vitro Fertilization - IVFX ) หรือการผสมเทียมในท่อนำไข่ (Gamete Intra follopian
Transfor - GIFT) และปัจจุบันสามารถทำการแช่แข็ง เชื้ออสุจิ และตัวอ่อนเพื่อเก็บได้นาน
ๆ และนำกลับมาใช้อีกได้ หรือสามารถฉีดเชื้ออสุจิเช้าไปในไช้โดยตรงด้วยเครื่องมือพิเศษ
เรียก microinjection หรือ micromanipulation ในกรณีที่เชื้ออสุจิไม่สามารถเจาะไข่เข้าไปได้เอง
จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษามากเท่าไร
-
ในการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยาก
จะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะ
-
มีบุตรยากและวิธีการรักษาเป็นปี
ถ้าสาเหตุที่พบไม่รุนแรงรักษาง่ายค่าใช้จ่ายก็จะไม่มาก แต่ถ้าสาเหตุรุนแรงรักษายาก
ค่าใช้จ่ายก็แพง และถ้าต้องใช้เทคโนโลยีสูง ก็ยิ่งแพงขึ้นตามลำดับ บางรายพบแพทย์
2 - 3 ครั้ง ก็ตั้งครรภ์ บางรายต้องใช้เวลา บางรายก็รักษาไม่ได้ผลเพราะพยาธิสภาพรุนแรงเกินไป
-
ในระหว่างการตรวจรรักษา
ท่านอาจมีความรู้สึกว่า เสียเวลา เสียเงิน เครียด หงุดหงิดและหดหู่
-
ดังนั้นเมื่อท่านตัดสินใจต้องการแก้ไขภาวะมีบุตรยาก
จึงควรมีการเตรียมใจ เตรียมตัว ให้ความร่วมมือกัน
และเห็นอกเห็นใจกันและกันพอสมควร
ท่านควรจะถามข้อสงสัยและปรึกษาเรื่องความรู้สึกไม่สบายกายและใจ แก่แพทย์หรือพยาบาลที่ดูแลท่านอยู่ความเครียดที่เกิดขึ้นอาจทำให้ภาวะมีบุตรยากเลวร้ายลงไป
และอาจทำให้ความสัมพันธ์ของสามีภรรยาเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นความพร้อม ความร่วมมืออย่าง
เต็มทีและความเข้มแข็งของจิตใจ จึงมีความสำคัญต่อการรักษาอย่างมาก