ความดันโลหิตสูง(Hypertension)
สาเหตุ
ของความดันโลหิตสูง อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่
-
1.
พวกที่หาสาเหตุได้ เช่น จากโรคไตอักเสบเส้นเลือดแดงตีบ พิษแห่งครรภ์ เป็นต้น
-
2.
พวกที่หาสาเหตุไม่พบผู้ป่วยความดันโลหิตส่วนมากมัก จะเป็นชนิดนี้
-
บุคคลประเภทใดที่มักจะเป็นความดันโลหิตสูง
-
1.
ส่วนมากมักพบได้ในผู้สูงอายุโดยเฉพาะอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
-
2.
พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวัยหมดประจำเดือนพบได้บ่อย
-
3.
พบมากในคนอ้วน แต่คนผอมก็พบบ้างเหมือนกัน
-
4.
อาจเนื่องจากกรรมพันธ์ ประมาณ 30-40 %
-
5.
ในบุคคลที่มีอารมณ์รุนแรง เคร่งเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย ดีใยง่าย เสียใจง่าย
อารมณ์ที่ เปลี่ยนแปลงรวด เร็ว
-
อาจจะกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราวในตอนแรก
แล้วจะค่อยลดลงเองแต่ถ้า เกิดบ่อย และนานเข้า
-
ความดันโลหิต
ก็จะสูง อย่างถาวรเลยซึ่งถ้าสูงมาก ก็เป็นอันตรายได้
-
อาการ
-
ผู้ป่วยด้วยความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ
อาจตรวจพบโดยการตรวจเช็ค สุขภาพประจำปี
-
หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นแล้วแพทย์วัดความดันของเลือดพบว่าผิดปกติ
สำหรับรายที่มีอาการจะมีอาการ มึนงง ตาพร่ามัว ปวดศีรษะตรงท้ายทอย มักจะปวด
ตอนตื่นนอน เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย บางราย เลือดกำเดา
ออกบ่อย ๆ อาการดังกล่าว อาจเกิดจากโรคอื่น ได้อีกหลายโรคและที่สำคัญที่สุดความดันโลหิตสูงบางราย
อาจไม่มีอาการใดเลยก็ได้ นอกจากตรวจวัดด้วย เครื่องมือแพทย์จึงจะทราบ ฉะนั้นถ้าท่านสงสัยว่าเป็นโรคนี้หรือท่านที่มี
อายุเกิน 35 ปี การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
-
การปฏิบัติตัว
-
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรได้รับการดูแลจากแพทย์
เพื่อรักษาให้ความดันเลือดลดมาอยู่ใน เกณฑ์ปกติ
-
และ
เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น หัวใจโตหรือการไหลเวียนของเลือด ในไต
น้อยลง หลอดเลือด ในสมองแข็ง
-
และเปราะ
ฯลฯ การรักษาความดันโลหิตสูงต้องเป็นการปฏิบัติตัวการใช้ยาแต่ผู้ป่วยก็ต้องปฏิบัติตัว
เพื่อช่วยให้ความดันโลหิต ลดลงได้ง่ายขึ้น คือ
-
1.
การพักผ่อนต้องพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจพยายามควบคุมอารมณ์ และจิตใจไม่ให้ตึงเครียด
ขุ่นมัว และวู่วาม
-
2.
คนอ้วน ควรลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
-
3.
ระวังรักษาตัวเอง อย่าให้กลุ้ม หรือ ศีรษะ กระทบ กระแทก เพราะ อาจจะทำให้
หลอดโลหิตในสมองแตก เป็นอัมพาตได้
-
4.
ไม่ควรวิตกกังวลหรือให้ความสำคัญกับระดับความดันโลหิต ที่วัดไว้แต่ละครั้ง
เนื่องจากความดันโลหิต
-
ในบุคคลเดียวกันเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามภาวะแวดล้อม
ต่าง ๆ ในแต่ละวัน ควรให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินว่าระดับความดันโลหิต
-
ที่เปลี่ยนแปลง
มีความสำคัญอย่างไรหรือไม่
-
5.
ควบคุมอาหาร
-
การจัดอาหารสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
-
การจัดอาหาร
สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ในสมัยก่อนแพทย์ชาวอเมริกัน ชือ Dr. Kempner
ได้จัดอาหาร
-
ให้ผู้ป่วยรับประทาน
ที่ประกอบด้วยข้าว และผลไม้เท่านั้น ปรากฎว่าอาหารชนิดนี้ถึงแม้ว่าจะช่วยให้ความดันโลหิตลดลง
อย่างเป็นที่น่าพอใจ แต่ผู้ป่วยก็เบื่อที่จะรับประทาน ซ้ำ จำเจ วนเวียน อยู่กับข้าว
และผลไม้ ดังนั้น ในรายหลัง ๆ ก็มีการดัดแปลงเรื่ออาหารที่ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้
-
1.
หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดเพราะเกลือทำให้ความตึงตัวของผนังหลอดโลหิตแดง
เพื่มขึ้น ทำให้ความดัน
-
เลือด
Diastolic สูงขึ้น
-
2.
อาหารพวก เนื้อสัตว์ ไข่ นม และ ถั่วเมล็ด ซึ่งเป็น อาหารพวกโปรตีนถ้าไตทำหน้าที่ได้ตามปกติก็ไม่ต้อง
ลดลงแต่ถ้ามีอาการทางไตแทรกซ้อน
ต้องลดโปรตีน
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
1
July 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.