เริม
(Herpes Simplex)
โรคเริมหรือเฮอร์ปีส์
คืออะไร
-
เริมคือโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฮอร์เป็นโรคหนึ่งซึ่งจัดเข้าอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ไวรัสนี้ทำให้
-
เกิดการติดเชื้อได้หลายระบบทั่วร่างกาย
เช่น ตาเยื่อบุช่องปาก ริมฝีปาก ผิวหนังระบบประสาทและสมอง รวมทั้ง
-
บริเวณอวัยวะเพศ
โดยเชื้อไวรัสนี้จะเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัสทางเยื่อบุหรือทางผิวหนังที่ถลอกหรือเป็นแผล
บริเวณที่พบอาการติดเชื้อเริมมากที่สุดคือ ริมฝีปาก
รองลงมาคือบริเวณอวัยวะเพศคนส่วนใหญ่ประมาณ 80-90 % จะเคยได้รับเชื้อไวรัสเริมเข้าสู่ร่างกายแล้ว
แต่อาจไม่ได้แสดงอาการของโรค เมื่อเกิดอาการติดเชื้อครั้งแรกแล้ว
-
มักจะเกิดซ้ำอีก
เป็น ๆ หาย ๆ อยู่เรื่อยไป
-
ลักษณะของโรคเริม
-
เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายประมาณ
6-8 วัน จะทำให้ผิวบริเวณนั้นเกิดตุ่มน้ำพองใสเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ
-
2-10
เม็ด ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ผู้ป่วยจะมีอาการคันหรือแสบร้อนรอบ
ๆ ตุ่มใสนี้ ซึ่งต่อมา
-
จะแตกออกเป็นแผลตื้น
ๆ หลายแผลติดกัน
-
เริมอวัยวะเพศ
-
โรคเริมอวัยวะเพศนี้
มีอัตราการติดต่อสูง ซึ่งโดยมากมักจะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้อยู่
-
การใช้ถุงยางอนามันก็ไม่สามารถป้องกันได้ทีเดียว
-
อาการของเริมอวัยวะเพศ
-
มักจะเป็นรุนแรงในช่วงการติดเชื้อครั้งแรกโดยเริ่มปรากฎขึ้นประมาณ
2-3 วัน ถึง 3 อาทิตย์ หลังจากได้รับ
-
เชื้อคือ
มีอาการปวดแสบปวดร้อน ระคายเคืองบริเวณที่จะเกิดตุ่มแผล
และ อาจมีอาการ ปวดศรีษะ เป็นไข้ปวดเมื่อย
-
กล้ามเนื้อ
นำมาก่อน เมื่อเวลาผ่านไปอีกประมาณ 10 วัน จะปรากฎมีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้นและมีอาการเจ็บปวดมาก
-
โดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิง
อาการของโรคจะเกิดขึ้นนาน 3-6 อาทิตย์ หลังจากนั้นไวรัสอาจจะยังอาศัยและซ่อนตัว
อยู่ในร่างกายอีกในสภาวะพักและทำให้เกิดเป็น ๆ หาย ๆ มาก หรือ น้อย แล้วแต่บุคคลเช่น
เมื่อมีอารมณ์เครียด
-
มีประจำเดือน
หรือมีความกังวล เป็นต้น
-
ข้อปฏิบัติสำหรับคนใข้โรคเริมอวัยวะเพศ
-
1.
งดเพศสัมพันธ์หรือสัมผัส โดยตรงกับแผลจะกระทั่งแผลหายดีแล้ว พยายามละเว้นการแตะต้องกับ
-
บริเวณเพราะอาจจะแพร่ไปสู่ริเวณร่างการได้
-
2.
สวมชุดชั้นใน ชนิดฝ้าย และ เว้นการสวมเครื่องนุ่งห่ม หรือ กางเกงที่คับหรือยีนส์สตรีควรงด
-
สวมกางเกงชนิดทำจากไนล่อนหรือลินิน
-
3.
สตรีที่เป็นเริมอวัยวะเพศโอกาสเสี่ยงสูง ต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์
เพื่อ
-
การตรวจ
PAP SMEAR 1-2 ครั้งทุกเดือน
-
4.
ทุกครั้งที่เปลี่ยนแพทย์ ให้เล่าประวัติการเกิดเริมของตนเองกันแพทย์ ที่ท่านไปหาใหม่
-
5.
สตรีที่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจเกี่ยวกับเริมเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงใกล้คลอด
ถ้าสงสัย
-
ว่าจะเป็นโรคเริม
ควรรีบปรึกษาแพทย์
การรักษา
จะใช้การทำแผล
ขณะที่โรคยังมีอาการปวดแสบปวดร้อนอยู่
การใช้ยา
Acyclovir จะช่วยลดอาการได้แต่ไม่หายขาด
เมื่อร่างกายอ่อนแอก็จะเป็นใหม่ได้
-
ข้อเสียคือราคาแพงครับ
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
28
June 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.