โรคผิวหนังอักเสบ
(Eczema หรือ Dermatitis)
คือ โรคผิวหนังที่เกิดการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบแล้วแต่ระยะของโรค สามารถแบ่งตามสาเหตุที่เกิดขึ้นคือ |
สาเหตุจากภายนอกร่างกาย(Exogenous หรือ Contact Dermatitis)
เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสผิวหนัง สามารถแบ่งออกเป็น
- ผื่นระคายสัมผัส( Irritant contact dermatitis) พบได้ประมาณ 70-80%
- ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)พบ ได้ประมาณ20-30%
การวินิจฉัยอาศัยการทดสอบภูมิแพ้ โดยวิธี Patch test
ผื่นสัมผัสนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะสารที่เป็นสาเหตุอาจมาจากการประกอบอาชีพ
(เช่น โลหะ,ผลิตภัณฑ์ยาง,กาว) เครื่องสำอาง(เช่น น้ำหอม,สารกันบูด,น้ำยาย้อมหรือดัดผม)
ซึ่งทำให้เกิดโอกาสที่จะสัมผัสง่าย และ หลีกเลี่ยงได้ลำบากสาเหตุจากภายในร่างกาย( Endogenous Eczema)
|
เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
อาจเกี่ยวข้องกับ พันธุกรรม โรคในกลุ่มนี้
เรียกชื่อตามลักษณะผื่น และ บริเวณที่เป็น เช่น Atopic dermatitis,Seborrheic dermatitisDiscoid หรือ Nummular dermatitis เป็นต้น |
อาการผู้ป่วยมักมีลักษณะของผื่นที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะเฉียบพลัน (Acute stage) เป็นตุ่มแดง,ตุ่มน้ำ อาจมีอาการบวมแดง และ
มีน้ำเหลืองด้วย
2. ระยะปานกลาง( Subacute stage) อาการบวมแดงจะลดลง และมีสะเก็ด หรือ
ขุยร่วมด้วย
3. ระยะเรื้อรัง (Chronic stage) ผื่นจะมีลักษณะหนา,แข็งและมีลายเส้นของผิวหนัง
ชัดเจนขึ้น(Lichenification)
นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการคันร่วมด้วยซึ่งถ้าผู้ป่วยเกาก็จะเกิดผิวหนังอักเสบมากขึ้น
และเวลาหายอาจมีรอยด่างดำได้การรักษา
1.รักษาตามระยะของผิวหนังที่เกิดการอักเสบ1.1 ระยะเฉียบพลัน : ประคบผื่นด้วยน้ำเกลือ หรือ น้ำยา Burrow 1:40 หรือ Boric Acid 3%วันละ 3-4 ครั้ง เมื่อผื่นแห้งดีแล้วต้องหยุดประคบ มิฉะนั้นจะแห้งเกินไป ทำให้ตึงและแตก
1.2 ระยะปานกลาง : ใช้ยาทาสตีรอยด์ ตามลักษณะ และ ตำแหน่งผื่นที่เป็น
1.3 ระยะเรื้อรัง : ใช้ยาทาสตีรอยด์ อาจผสม พวก Salicylic acid หรือ ในรายที่เป็นผื่นหนาแข็ง
อาจจำเป็นต้องฉีดยาที่บริเวณผื่น2. การใช้ยารับประทาน
ผู้ป่วยบางรายมีอาการคันมาก อาจต้องใช้ยารับประทาน ชนิด Antihistamine
ส่วนยาทาภายนอกที่มี Antihistamine ไม่ควรใช้ เพราะ ยาทาภายนอกชนิดนี้
มีโอกาสแพ้ได้มาก ในกรณีที่เป็น ระยะเฉียบพลันที่รุนแรงมากอาจต้องรับประทาน
ยาชนิด Steroid ร่วมด้วย3. การค้นหาสาเหตุ
การแบ่งระยะโรคผิวหนังอักเสบนั้น เป็นประโยชน์ในแง่การรักษาชั่วคราวเท่านั้น
ผู้ป่วยควรพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดใด
และมีการดำเนินของโรคเป็นอย่างไร ควรจะปฏิบัติตนเช่นไร เพราะโรคผิวหนังอักเสบ
ส่วนมากมักจะเป็นค่อนข้างเรื้อรัง และถ้าผู้ป่วยไม่เข้าใจก็อาจจะทำให้เกิดความเครียด
ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้โรคผิวหนังอักเสบเป็นๆหายๆ และอาจนำไปสู่การอักเสบเรื้อรังได้โดย นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ แพทย์โรคผิวหนัง
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
1
August 1998
Copyright (c) 1998-1999. ThaiClinic.com. All rights reserved.