โรคเบาหวาน(Diabetes
Millitus)
-
ร่างกายของคนเรามีความสามารถพิเศษในการรักษาสภาวะ ต่าง ๆ ภายในร่างกายให้สมดุลย์กันอยู่เสมอ
ดุลย์
-
น้ำตาลก็เช่นกันถ้าน้ำตาลในร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถไปใช้ได้เป็นพลังงานได้ตามปกติทำให้เกิดการคลั่งของน้ำตาลในเลือด
เมื่อระดับสูงเกินขีดความสามารถที่ร่างกายจะกักเก็บไว้ได้ก็ออกมากับปัสสาวะเรียกว่าเบาหวาน
-
-
ระดับน้ำตาลปกติในเลือด 60-110%
-
-
ในปัสสาวะไม่ควรมีน้ำตาล
-
อาการของโรค
-
ถ่ายปัสสาวะบ่อย
กระหารน้ำบ่อย ทานจะแต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คันตามผิวหนัง เป็นแผลหรือฝีแล้วหาย
-
ยาก
ตามัวพร่าชาตามปลายมือและเท้า
-
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
-
-
หลอดเลือดตีบแข็ง โรคหัวใจ โรคติดเชื้อต่าง ๆ โรคเชื้อรา การเสื่อมความรู้สึกทางเพศ
วัณโรค ความดัน
-
สูง
โรคประสาท ตาพิการ
-
-
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างดี จะช่วยเลื่อนเวลาของโรคแทรกซ้อนที่น่ากลัวได้
-
ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ
-
-
ถ้าน้ำตาลในเลือดสูง มีอาการหน้ามืด หวิว ใจสั่น เป็นลม เวียนศีรษะมีอาการคล้ายเป็นลม
ให้รีบหาแพทย์
-
ทันที
-
-
ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำอาการจะเกิดอย่างกระทันหันเหมือนน้ำตาลในเลือดสูงหน้ามืด
หวิว ใจสั่น เป็นลม
-
เวียนศีรษะ
เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ให้รับประทานน้ำหวาน หรือขนมหวานทันที จะช่วยให้อาการดีขึ้น
-
การควบคุมอาหารสำคัญอย่างไร
-
การควบคุมอาหารมีความสำคัญในการักษาเบาหวานมาก
การควบคุมอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะ
-
ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง
และช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน การรักษาโรคเบาหวานให้ได้ผลนั้นจำเป็นต้องควบคุมอาหารอย่างสม่ำเสมอแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยการกินยาหรือฉีดอินซูลินแล้วก็ตาม
ก็จำเป็นต้องควบคุมอาหารร่วมกัน
-
การควบคุมอาหารเป็นการรักษาที่สำคัญที่ดีที่สุด
-
การที่ผู้ป้วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมอาหารก็เพื่อ
-
1.
ให้ผู้ป่วยสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับ
-
2.
ควบคุมน้ำหนักของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น
-
3.
ป้องกันอาการหมดสติ เนื่องจากภาวะเป็นกรดในเลือดสูงเป็นผลจากการที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลใน
-
เลือด
สูง
-
4.
ป้องกันอาการหมดสติ อันเนื่องจากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือด
-
5.
ลดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวาน
-
6.
ให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ตามที่ร่างการต้องการ
-
7.
ช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง สามารถดำรงชีวิตและทำงานต่าง ๆ ได้เป็นคนปกติ
-
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมอาหารอย่างไร
-
การควบคุมอาหารเบาหวานที่ถูกต้องนั้น
ต้องควบคุมพลังงานในอาหารผู้ป่วยให้เหมาะสมกับแรงงานที่ผู้ป่วยใช้ใน
-
การทำกิจกรรมต่าง
ๆ มิใช่จำกัดหรือควบคุมเฉพาะข้าวและน้ำตาลเท่านั้น ถ้ารับประทานเนื้อสัตว์และไขมันมาก
ระดับน้ำตาล ก็สูงได้เพราะอาหารทุกอย่างให้พลังงานเมื่อได้รับมาก ๆ พลังงานที่ได้รับจะมากกว่าที่ร่างกายต้องการ
ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูง
-
ดังนั้น
ผู้ป่วยจึงควรรับประทานข้าว เนื้อสัตว์ ไขมัน ผลไม้ในปริมาณที่กำหนด เพื่อให้ได้พลังงานเหมาะสม
-
กับความต้องการของร่างกายผู้ป่วยควรงดน้ำตาลและอาหารที่มีน้ำตาลทุกชนิด
เพราะน้ำตาลในเลือดสูงเร็ว
-
ผู้ป่วยเบาหวานจะรับประทานอาหารอย่างไร
-
1.
ทานอาหารครบ 5 หมู่ ประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ข้าวหรือแป้งอื่น ๆ ไขมัน ผักผลไม้
-
2.
ทานข้าวเป็นประจำตามที่กำหนด
-
3.
ทานผักให้มาก โดยเฉพาะผักประเภทใบ และถั่วสด เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ถั่วแขก
ถั่วฝักยาว ฯลฯ
-
4.
ตักข้าวตามจำนวนที่กำหนด ไม่ควรเติมอีกถ้าไม่อิ่มให้ทานผักเพิ่มลดอาหารประเภทแป้ง
-
5.
หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า ลำใย ละมุด อ้อย
มะขามหวาน ลูกเกต ลำใย
-
แห้ง
ผลไม้กระป๋องต่าง ๆ
-
6.
ทานผลไม้ที่หวานน้อย เช่น ส้ม มะละกอ พุทรา ฝรั่ง ตามจำนวนจำกัด เช่น
แตงโม 1 ชิ้น ประมาณ |
10 ชิ้นขนาดคำ
|
มะละกอ 1 ชิ้น ประมาณ |
6 ชิ้นขนาดคำ
|
ส้มโอ |
2 กลีบขนาดใหญ่
|
ส้มเกลี้ยง |
1 ผล
|
ส้มเขียวหวาน |
1 ผลขนาดกลาง
|
เงาะ |
5 ผล
|
มะม่วงสุก,ดิบ |
1/2 ผล
|
ชมพู่ |
3 ผล
|
มังคุด |
2 ผลใหญ่ 3 ผล
|
ลิ้นจี่แกะเม็ด |
4 ผล
|
ลางสาด |
3 ผล
|
ฝรั่งเวียดนาม |
1/4 ผลใหญ่
|
แอปเปิ้ล |
1/2 ผล
|
องุ่นสด |
8 - 10 เม็ด
|
ลูกตาลอ่อน |
2 ผล
|
สัปปะรด |
6 ชิ้นขนาดคำ
|
-
7.
งดของหวานทุกชนิดและขนมที่ใส่น้ำตาล เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง สังขยา ขนมหม้อแกง
กะละแม ข้าว
-
เหนียวแก้ว
ข้าวเหนียวแดงเม็ดขนุน สัมปะนี มะพร้าวแก้ว ขนมเด็ก อาหารเชื่อมทุกชนิด เช่น
ลูกตาล เชื่อม กล้วยเชื่อม มันเชื่อม มะตูมเชื่อม พุทราจีนเชื่อม สาเกเชื่อม
ไอศครีม ฯลฯ
-
8.
หลีกเลียงการทานเครื่องในสัตว์ต่าง ๆ
-
9.
หลีกเลี่ยการทานไขมันสัตว์ น้ำมันหมู เนย มันหมู มันไก่ เนื้อติดมัน หมูสามชั้น
ครีม และน้ำมันพืช
-
จำพวก
กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม หนังไก่ ข้าวขาหมู
-
10.ใช้น้ำมันพืชที่มีส่วนผลมของน้ำมันถั่วเหลือง
น้ำมันรำ น้ำมันฝ้าย น้ำมันข้าวโพด ให้มากขึ้น โดยใช้ใน
-
การ
ประกอบอาหารเป็นประจำ
-
11.
หลีกเลี่ยงอาหารทอดที่มีน้ำมันมาก เช่นปาท่องโก๋ แฮ่กิ๊น ข้าวเกรียบทอด ข้าวตังทอด
มันทอด ฯลฯ
-
12.
ทานอาหารให้ตรงเวลา และไม่ควรงดอาหารมื้อหนึ่งมื้อใดโดยเฉพาะผู้ได้รับการรักษาด้วยการฉีด
-
อินซูลิน
เพราะอาจมีผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำจนหมดสติได้
-
อาหารชนิดใดที่ผู้ป่วยควรรับประทานและไม่ควรรับประทาน
-
1.
นมสด เป็นอาหารที่ประโยชน์แก่ร่างกายมาก
ผู้ป่วยโรคเบาหวานดื่มได้ แต่น้ำนมที่ขายอยู่ในท้องตลาด
-
ปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด
ควรเลือกซื่อดื่มได้ เช่น น้ำนมสดหนองโพ น้ำนมสดฟาร์มโคนมไทยเดน มาร์คควรเลือกดื่มชนิดนมจืดไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ปรุงแต่ง
-
น้ำนมผสมคืนรูป
เป็นนมผงที่นำมาผสมกับน้ำ มีลักษณะคืนรูปน้ำนมได้แก่ นมสดตราหมี นมบลูซิลของ
-
โฟร์โมสต์
นมสสมคืนรูปเนสเล่ ผู้ป่วยควรเลือกชนิดจืด
-
นมสดระเหย
หรือนมข้นจืด มีลักษณะข้นเท่านมสดธรรมดาแต่การผลิตในประเทศไทยให้นมผลที่ไม่มี
-
ใขมันผสมกับเนยหรือน้ำมันพืช
และเติมน้ำครึ่งหนึ่งของนมธรรมดา ทำให้มีลักษณะข้นใช้ใส่เครื่องดื่มต่าง ๆ
เช่น
-
ชา
กาแฟโอวัลติน โกโก้ เช่น นมข้นจืด ตราดอกมะลิ ตราดอกคารเนชั่น ตราดับเบบี้
โรคเบาหวานใช้ได้
-
นมธรรมดา
เช่น นมผงดุสิต เนสเปรย์ คลิม มอลลี่
-
นมเปรี้ยว
ที่ขายทั่วไป ได้แก่ โยเกริต มีทั้งชนิดที่ปรุงแต่งด้วย น้ำเชื่อม ผลไม้เช่น
สัปปะรด สตอเบอรีฯ และ
-
ชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส
ผู้ป่วย โรคเบาหวาน ควรเลือก ชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส
-
นมข้นหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรใช้นมชนิดนี้ เพราะจะให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
-
น้ำนมถั่วเหลือง
ที่ขายอยู่ในปัจจุบันนี้มี นมถั่วเหลืองเกษตร โบมัน แล็คตาซอย ไวตามิลค์ นมถั่วเหลืองเหล่า
-
นี้ได้มีการเติมน้ำตาลลงไปด้วยทำให้มีรสหวาน
ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล
-
2. ผัก ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานผักมาก
ๆ ทั้งผักสดและสุก เพราะใยอาหารในผักจะช่วยให้น้ำตาล
-
ถูกดูดซึมได้น้อยลง
จึงช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงทั้งยังไม่ให้ท้องผูกอีกด้วย ผักรับประทานเท่าใดก็ได้เพราะให้แรงงานน้อยมากได้แก่
หน่อไม้ ผักกวางตุ้ง มะเขือเทศ ผักกาดขาว ถั่วงอก ผักคะน้า พริก ตำลึง กะหล่ำดอก
ถั่วพลู คื่นไช่ มะเขือต่าง ๆ กะหล่ำปลี ชะอม น้ำเต้า มะระ บวบ ผักโขม ยอดฟักทอง
ใบกุ่ยใช่ แตงกวา ผักบุ้ง ต้นหอม ฯลฯ
-
ผักที่มีคาร์โบไฮเดรทมาก
เช่น ฟักทอง แครอท สะเดา สะตอ มะรุม ลูกเนียง ถั่วลันเตา ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่
-
ควรทาน
-
3. ผลไม้
จะมีน้ำตาลอยู่โดยธรรมชาติจะแตกต่างกันตามชนิดของผลไม้บางชนิด
จะมีรสหวานมาก จึงไม่
-
เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
-
4. ธัญญพืช และเผือกมันต่าง
ๆ เป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทมาก ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาหาร
-
จำพวกนี้ได้แก่
ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น ขนมปัง เผือกมันต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้
ทุกวัน รับประทานได้มากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับกิจกรรม และแรงงานที่ใช้ในแต่ละวัน
ควรรับประทานข้าวหรืออาหารแป้งอื่น ๆ ให้น้อยลงแพทย์หรือนักโภชนาการจะเป็นผู้กำหนดให้
ถ้ากินอาหารประเภทนี้มากเกิน จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ถ้าสามารถ รับประทานข้าวซ้อมมือได้ทุกวันก็จะดีมาก
ในข้าวซ้อมมือมีใยอาหารมาก
-
วุ้นเส้น
เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานคิดว่ารับประทานได้โดยไม่จำกัด เพราะเป็นโปรตีนจากถั่ว
แต่ที่จริง
-
วุ้นเส้นเป็นอาหารจำพวกแป้งเช่นเดียวกับข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว
เพราะกรรมวิธีในการทำวุ้นเส้นถูกแยกส่วนที่เป็นโปรตีนออกไป ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องจำกัดการรับประทานวุ้นเส้นเช่นเดียวกับข้าวและแป้งชนิดอื่น
ๆ
-
5. เนื้อสัตว์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานเนื้อเพียงพอกับร่างกายประมาณ
3-4 ช้อนกินข้าวพูนเล็กน้อย หรือ
-
ประมาณครึ่งขีดต่อมื้อเนื้อสัตว์เหล่านี้จะเป็น
ปลา กุ้งหอ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เต้าหู้หรือเมล็ดถั่วแห้ง หากรับประทานมากเกินไปจะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปของไขมัน
ทำให้อ้วนได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและไม่ทานเครื่องในบ่อยเกินไป
-
6.
ไข่ เป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก
ผู้ป่วยไม่ควรงด ควรรับประทานไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ประมาณสัปดาห์ละ
-
3-4
ฟอง สำหรับผู้ป่วยที่โคเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจกินสัปดาห์ละ 2 ฟอง แต่ถ้ารับประทาน
เพียงไข่ขาว ก็รับประทานได้ทุกวัน
-
7.
น้ำตาลเทียมหรือขัณทศกร
ไม่ห้ามในผู้ป่วยโรคเบาหวานแต่ควรรับประทานพอควร
-
8. อาหารที่มีใยมาก ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับอาหารที่มีใยมากขึ้น
ส่วนลดไขมันในเลือด และน้ำตาล
-
ได้
เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ขี้เหล็ก ยอดมะกอก ใบแค
เม็ดแมงลัก ฝรั่ง ข้าวซ้อมมือ และผักต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารเหล่านี้ให้มากขึ้น
-
อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้โดยไม่จำกัด
-
อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้โดยไม่จำกัด
ได้แก่ น้ำส้มสายชู น้ำปลา เกลือ มัสตาด มะนาว พริกไทย เครื่อง
-
เทศต่าง
ๆ เครื่องดื่มประเภทกาแฟ ชา ที่ไม่ได้ใส่น้ำตาล อาหารจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์
เช่น เบียร์ เหล้า ไวน์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรดื่มเพราะมีปริมาณน้ำตาลสูง
-
ตัวอย่างอาหารโรคเบาหวาน
-
อาหารเช้า
ข้าวต้มไก่ ไข่ลวก มะละกอสุก (หรือน้ำส้มคั้น 1 แก้ว)
-
อาหารกลางวัน
ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักคะน้าหมู (ไม่ติดมัน)สับปะรด 1 จาน (9 ชิ้นขนาดคำ)
-
อาหารว่าง
นมสดจืดเดนมาร์ค 1 แก้ว
-
อาหารเย็น
-
ข้าวสวย
-
แกงส้มผักรวมมิตร
- กุ้ง
-
ปลาสลิดเค็ม
-
ผักบุ้งไฟแดง
-
แตงโม
-
7. ไขมันหรือน้ำมัน
เป็นอาหารที่มีพลังงานสูงมาก ถ้ารับประทานมากทำให้อ้วน ดังนั้น
เพื่อควบคุมน้ำหนัก
-
ไม่ให้เพิ่มมาก
โรคเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก
-
7.1
ใขมันสัตว์มีสารทำให้ไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
และหัวใจขาด
-
เลือด
พบมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยง
ได้แก่ มันหมูมันวัว หนังไก่ มันกุ้ง ครีม เนย เนื้อติดมัน หอยนางรม ไข่ปลา
กุ้งใหญ่
-
7.2
น้ำมันพืช เป็นกรดไขมันที่ช่วยลดไขมันในเลือดได้ ได้แก่ มันมัน ข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง
น้ำมันฝ้าย
-
น้ำมันรำ
น้ำมันถั่วลิสง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้น้ำมันเหล่านี้เพื่อให้ได้น้ำมันไปตามต้องการควรใช้น้ำมันจากบริษัทที่เชื่อถืได้ที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ
-
ของกระทรวงอุตสาหกรรม
-
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการกินน้ำมะพร้าว
น้ำมันปาล์ม กะทิ เพราะทำให้ไขมันในเลือดสูงเช่นเดียว
-
กับการกินไขมันสัตว์
ทำให้หลอดเลือดแห้งและหัวใจขาดเลือด
-
7.3
ครีมเทียมหรือไขมันผง ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกจากจะทำให้อ้วนแล้วทำให้ไขมันในเลือดสูง
-
ได้เสี่ยงต่อการทำให้เป็นโรคหลอดเลือดแข็ง
ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินไขมันประเภทนี้
-
8. น้ำตาล
เป็นอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องงดเว้นเด็ดขาด เข่น น้ำหวาน
น้ำผึ้ง เครื่องดื่ม ขนมหวาน ทำให้
-
น้ำตาลในเลือดสูงรวดเร็ว
ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแข็งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด
ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่ได้เป็นโรคเบาหวาน
2-3 เท่า ควรงดน้ำตาลทุกชนิด
-
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปฏิบัติ
-
1.
รับประทานอาหารให้ถูกต้องตามที่กำหนดให้ และรู้จักวิธีใช้อาหารที่สามารถทดแทนกันได้
-
2.
ใช้อินซูลิน หรือยาเม็ดให้ถูกต้องตามเวลา
-
3.
ระวังรักษาสุขภาพอย่าตรากตรำเกินไป
-
4.
รักษาร่างกายให้สะอาด และระวังอย่าให้เกิดบาดแผล
-
5.
หมั่นตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ
-
6.
ออกกำลังกายแต่พอควรสม่ำเสมอ
-
7.
ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย ตกใจ หวิวใจสั่น เหงื่อออก หรือมีอาการปวดศรีษะตามัว
ให้รับประทานน้ำหวาน หรือน้ำตาลเข้าทันที
-
ทั้งนี้เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เพียงพอกับยา
แต่ถ้าได้รับประทานอาหารที่น้ำตาล มากเกินไปและได้อินซูลินหรือยาน้อย
-
ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงผิวหนังร้อนผ่าว
คลื่นไส้ อาเจียน หายใจมี กลิ่นคล้ายผลไม้ ถ้าทิ้วไว้อาจทำให้ไม่รู้สึกตัว
ต้องรีบตามแพทย์ทันที
-
8.
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีบัตรบ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน และกำลังรักษาด้วยยาชนิดใดอยู่เสมอ
และควรมีขนมติดตัวไว้ด้วย
-
9.
อย่าปล่วยตัวให้อ้วนเพราะ 80% ของผู้ป่วยโรคนี้เกิดจากการอ้วนมาก่อน
-
10.
อย่าวิตกกังวลหรือเครียดมากเกินไป
-
11.
เบาหวานเป็นกรรมพันธุ์ได้ หากสงสัยว่าเป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจเลือดจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
-
12.
ต้องระมัดระวัง เมื่ออายุเกิน 40 ปี ควรตรวจเลือดดูเบาหวานทุกปีเพราะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย
แม้เป็นเบาหวาน
ชีวิตก็ปกติสุขได้
This
Web Page Design & Created by Dr.OU
30
June 1998
Copyright
(c) 1998. ThaiClinic.com. All rights
reserved.