1.การรักษาทางทันตกรรมทั่วไปก่อนการจัดฟัน
(Introductory treatment)
ได้แก่การรักษาทางทันตกรรมต่างๆ
เพื่อให้พร้อมต่อการรักษาในขั้นตอนต่อไป
เช่นการทำความทำความสะอาดฟันโดยการขูดหินปูน
การอุดฟัน
การถอนฟันกรามที่คุดอยู่
การถ่ายภาพรังสีเพื่อวางแผนการรักษา
2.การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันก่อนการผ่าตัด
(Presurgical orthodontic treatment)
การรักษาในช่วงนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความสวยงามของใบหน้าแต่อย่างใด
แต่เป็นการปรับ
ตำแหน่งของฟันในกระดูกขากรรไกรเพื่อให้ตำแหน่งของฟันซี่ต่างๆ
อยู่ในตำแหน่งที่ปกติ
ในบางครั้งคนไข้จะรู้สึกว่าความผิดปกตินั้นมีความรุนแรงมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
ในคนไข้ที่มีขากรรไกรล่างยื่นมักจะมีฟันหน้าบนยื่น
และฟันหน้าล่างหุบมากกว่าปกติ
เนื่องจากฟันมีการปรับตัวให้เกิดความสมดุลจากการที่ขากรรไกรล่างยื่นไปข้างหน้ามากเกินไป
เมื่อคนไข้ได้รับการจัดฟันในช่วงแรกนี้
จะต้องมีการปรับตำแหน่งของฟันหน้าบนให้หุบเข้า
และฟันหน้าล่างให้ยื่นออก
เพื่อให้มีการเอียงตัวของฟันตามปกติ คนไข้จะมีความรู้สึกว่า
ใบหน้าส่วนล่างจะยื่นมากกว่าก่อนการจัดฟันเสียอีก
ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขในขั้นตอนการผ่าตัด
โดยการเลื่อนขากรรไกรล่างเข้าไปทางด้านหลัง
การจัดฟันในขั้นตอนนี้โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ
1 ปี
3.การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร
(Surgical procedure)
เป็นขั้นตอนการผ่าตัดภายหลังจากปรับตำแหน่งของฟันให้อยู่ในระดับปกติแล้ว
อาจเป็นการผ่าตัดเฉพาะ
ขากรรไกรล่าง
หรือทั้งบนและล่าง ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของความผิดปกติ
การผ่าตัดจะกระทำภายใต้การดมยาสลบ
ผ่าจากในช่องปาก ดังนั้นจึงไม่ก่อให้เกิดรอยแผลเป็นให้เห็นจากภายนอก
แต่จะต้องใช้ลวดมัดฟันบนและล่างเพื่อให้ขากรรไกรเข้าที่ประมาณ
7-10 วัน
คนไข้ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลภายหลังจากการผ่าตัดประมาณ
1 สัปดาห์
ซึ่งมักไม่มีปัญหาอะไรหากคนไข้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดี
4.การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันหลังการผ่าตัด
(Postsurgical orthodontic treatment)
เป็นการปรับตำแหน่งของฟันอีกครั้งเพื่อให้ฟันเข้าที่
และปรับการสบฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด
ใช้เวลาประมาณ
4-6 เดือน หลังการถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้ว
จำเป็นต้องใส่เครื่องมือคงสภาพ
ชนิดถอดได้ต่ออีกประมาณ
6 เดือน เพื่อให้การสบฟันถูกต้องและสมดุลย์
5.การรักษาทางทันตกรรมทั่วไปภายหลังการจัดฟัน
(Definitive treatment)
เป็นการรักษาเล็กๆ
น้อยๆ ภายหลังจากจัดฟันเสร็จแล้ว เช่นการอุดฟัน ใส่ฟัน
รักษาโรคเหงือก
รวมถึงการตรวจสุขภาพฟัน เคลือบฟลูออไรด์ประจำปี เป็นต้น
จากที่กล่าวมาอาจดูว่าการรักษาออกจะยุ่งยากและมีกรรมวิธีหลายขั้นตอน
แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการรักษาคือ
การแก้ไขความผิดปกติของการสบฟันอันเนื่องมาจากความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร
ดังนั้นไม่เพียงเพื่อความสวยงามแต่เพื่อให้เกิดการสบฟันที่ดี
และสุขภาพช่องปากที่ดี
ด้วยจึงจำเป็นต้องมีการรักษาที่ต้องใช้เวลานาน
และขั้นตอนที่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือจากคนไข้
ที่ต้องให้ความร่วมมืออย่างดีตลอดการรักษาตั้งแต่ต้นจนจบ
(ซึ่งไม่ต่ำกว่า 3-4 ปี) รวมทั้งแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง
ทั้งทางทันตกรรมจัดฟัน
และ ศัลยแพทย์กระดูกขากรรไกร ที่คุณสามารถขอรับคำปรึกษาได้จากสถานบริการทั้งของรัฐ
และเอกชน
ลองดูที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ของทุกมหาวิทยาลัยก็ได้ครับ
โดย
ทพ.สรภูมิ
คลอศิริโรจน์ ทันตแพทย์ ศัลยกรรมช่องปากและ Maxilo facial