แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print

 หัวข้อ 1690: ปรึกษาอาการปวดขากรรไกรค่ะ  (จำนวนคนอ่าน 2414 ครั้ง)
« เมื่อ: 07/23/12 เวลา 11:07:51 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

สวัสดีค่ะหมอหนิง หนูมีคำถามอยากจะปรึกษาค่ะ  
เมื่อ4ปีก่อนตอนช่วงรับน้อง ต้องอ้าปากกว้างมากเวลาที่ร้องเพลงเชียร์
ช่วงนั้นหนูมีอาการหุบปากลำบาก แต่จะเป็นไม่นาน พอหมดช่วงรับน้อง
ไปแล้ว อาการก็ยังมีอยู่ แต่เป็นไม่มากนะคะ คือมีอาการเมื่อเวลาหาว
เท่านั้น...ตอนนี้หนูรู้สึกว่าอาการมีมากขึ้น จากแต่ก่อนที่ปวดเมื่อหาว
กลายเป็นเวลาอ้าปากก็รู้สึกปวดด้วยเหมือนกัน และต้องใช้เวลาสักพัก
กว่าที่จะกลับมาหุบปากได้ เลยอยากทราบว่า
 
1.อาการดังกล่าวน่าจะเกิดจากขากรรไกรค้างหรือเปล่าคะ  
และโดยทั่วไปแล้วมีวิธีการแก้ไขหรือรักษาอย่างไร
2.ตอนนี้หนูจัดฟันอยู่ การจัดฟันจะมีผลทำให้ขากรรไกรเปลี่ยนไหมคะ
 
และคำถามสุดท้าย อาจจะฟังดูตลกไปหน่อย หนูเองก็ไม่ทราบว่า
ที่แท้จริงเกิดจากอะไรเลยอยากจะขอความรู้จากคุณหมอด้วยค่ะ
 
3.แต่ก่อนหนูไม่เคยนอนกัดฟันเลย แต่เริ่มกัดฟันหลังจากที่พักกับ
เพื่อนสนิท (เพื่อนสนิทหนูนอนกัดฟัน ) จากนั้นเพื่อนคนไหนก็ตาม
ที่พักกับหนูก็บอกว่าหนูนอนกัดฟัน หนูเองก็แปลกใจค่ะ ทั้งที่แต่ก่อน
ไม่เคยนอนกัดฟันเลย อยากจะถามคุณหมอว่าการกัดฟันของหนูเป็น
เพราะปัญหาการสบฟันหรือเปล่าคะ ถ้าไม่ใช่เกิดจากอะไรได้บ้าง
และพอจะมีวิธีรักษาบ้างไหมคะ  
 
รบกวนคุณหมอช่วยแนะนำด้วยนะคะ
ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าค่ะ  Smiley
ส่งโดย: pp18989 female
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 3   - - WWW
   
1.2.222.*


« ความเห็นที่ #1 เมื่อ: 07/23/12 เวลา 12:51:47 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

1. อาการดังกล่าว เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ที่เรียกว่า tmd (temporomandibular disorder) ค่ะ เกิดจากเอ็นที่รองข้อต่อขากรรไกรหย่อน แล้วไปขวางการเคลื่อนที่ของข้อต่อขากรรไกร ข้อต่อขากรรไกรเลยเสียดสีกับกระดูกข้างใต้ เกิดเสียงดังก๊อกๆ    
   
ส่วนสาเหตุของเอ็นหย่อน มีหลายอย่าง เช่น การใช้งานหนัก การใช้งานผิดประเภท เช่น จากการเคี้ยวอาหารข้างเดียวเป็นเวลานานๆ การคุยโทรศัพท์หนีบหูกับไหล่ การสีไวโอเลิน การหาวกว้าง การอ้าปากกว้าง ฯลฯ อะไรก็ตามที่มีการใช้ขากรรไกรมากเกิน และสาเหตุที่สำคัญ คือ ความเครียด ความวิตกกังวล ฉะนั้น โรคนี้จึงมักพบในวัยรุ่น วัยทำงาน  
   
รักษาด้วยการใส่เครื่องมือที่เรียกว่า เฝือกสบฟัน หรือ occlusal splint ซึ่งเป็นเครื่องมือคล้ายๆ กับฟันยางนักมวย แต่แข็งกว่า เครื่องมือนี้จะช่วยหย่อนขากรรไกร เมื่อขากรรไกรหย่อนก็ทำให้ขากรรไกรได้พัก ต้องรักษานานนะคะ กว่าจะดีขึ้น แต่บางคนที่หายเร็วค่ะ  
   
นอกจากนี้ก็ต้องมีการปรับพฤติกรรมในการใช้ชิวิตใหม่ เพื่อลดภยันตรายที่จะเกิดกับขากรรไกรด้วยนะคะ  
   
ลองไปหาหมอที่คณะทันตแพทย์ จุฬา แถวสยามสแควร์ หรือ มหิดล แถวอนุสาวรีย์ นะคะ คุณหมอที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เรื่องว่าคุณหมอทันตกรรมบดเคี้ยว หรือ occlusion ค่ะ  
2. การจัดฟันมีผลต่อการสบฟัน ขากรรไกร อาจช่วยกระตุ้นอาการดังกล่าวให้เป็นมากขึ้นได้ค่ะ
3. การนอนกัดฟัน เป็นอาการจัดอยู่พวกเดียวกับการกรน มักเกิดในช่วงที่นอนหลับไม่สนิท ฉะนั้นบางครั้งเราก็เป็น บางครั้งก็ไม่เป็นก็ได้ การนอนกัดฟันส่งผลต่อขากรรไกร และปัญหาการสบฟันได้ การรักษา คือการปรับสภาพการนอน และการใส่เฝือกสบฟันที่ระบุไว้ในข้อ 1 น่ะค่ะ
ส่งโดย: หมอหนิง
สถานะ: Executive Member *****
จำนวนความเห็น: 9097  
   
125.24.53.*


« ความเห็นที่ #2 เมื่อ: 07/23/12 เวลา 13:10:56 » ตอบกลับพร้อมข้อความ แก้ไขข้อความ

ได้ความรู้และไขข้อข้อใจได้มากเลยค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ
หนูจะปรึกษากับคุณหมอที่จัดฟันเพิ่มเติมดูค่ะ  Smiley
ส่งโดย: pp18989 female
สถานะ: Newbie *
จำนวนความเห็น: 3   - - WWW
   
1.2.222.*


Page(s) : 1 


แจ้งลบกระทู้ แจ้งเมื่อมีคนตอบกระทู้นี้ แนะนำกระทู้นี้ Print



Reply this Topic reserved for registed member only. Register



  • ข้อความและรูปภาพที่ท่านเห็นส่วนใหญ่ ได้ถูกส่งมาจาก ทางบ้าน
    ทางเว็บไซต์ Thaiclinic.com ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของข้อความและรูปภาพที่ถูกส่งมา

  • ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชนและส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ
    เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง
    ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง

  • ถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมหรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล
    หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ webmaster@thaiclinic.com หรือ กดแจ้งที่ปุ่ม
    "แจ้งลบกระทู้"
    เพื่อให้ทีมงานทราบและทำการลบข้อความนั้นออกจากระบบต่อไป ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันทำให้สังคมน่าอยู่ครับ

ThaiClinic.Com . All Rights Reserved. !--BEGIN WEB STAT CODE-->

Powered by