ปัจจุบัน เชื่อว่า มะเร็งเต้านม
ไม่ใช่โรคที่เป็นเฉพาะที่ แต่เชื่อว่าเป็นโรคทั้งระบบของร่างกาย
(Systemic Disease) ดังนั้น ในการรักษา การผ่าตัดอาจไม่เพียงพอ อาจต้องมีการให้ เคมีบำบัด หรือ การใช้ Hormone ช่วยในการรักษา
การผ่าตัดปัจจุบันที่ทำกันบ่อยๆ มี 2 ชนิด คือ
- ตัดเต้านมออกทั้งหมด
คือจะตัดเต้านมข้างที่เป็นมะเร็งออกทั้งหมดรวมทั้งเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกไปด้วย เป็นการผ่าตัดมาตรฐานที่ทำกันอยู่
- ตัดเต้านมออกบางส่วน
จุดประสงค์ก็คือ ต้องการเก็บเต้านมไว้เพื่อความสวยงาม
โดยอาจตัดออกไปกว้างขึ้น
บริเวณที่ก้อนเนื้องอกอยู่ แต่ว่าการผ่าตัดชนิดนี้
ไม่สามารถทำได้ใน
ผู้ป่วยทุกคน จะสามารถทำได้ในกรณีที่
- ก้อนไม่ใหญ่มาก
- ยังคลำไม่พบต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
- ก้อนไม่ได้อยู่ตรงกลางหรือใกล้หัวนม
- ผ่าแล้วเต้านมที่เหลือต้องดูสวย เพราะจุดประสงค์ใหญ่คือ
ความสวยงาม ด้วย นั่นคือ ถ้า เอาเนื้องอกออกแล้ว เต้านมผิดรูปมาก ไม่สวย ไม่ควรทำวิธีนี้
หลังจากผ่าตัดแบบไม่ตัดเต้านมออกทั้งหมด
ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉายแสงที่บริเวณเต้านมที่เหลือ
ส่วนเรื่อง เคมีบำบัด การใช้ Hormone คงต้องดูระยะของโรค ชนิดของ Cell ซึ่งการผ่าตัดทั้ง 2 ชนิด ก็ยังต้องรับการรักษาต่อเหมือนกัน
สรุป ถ้า เอาเต้านมออกหมด ไม่ต้องฉายแสง แต่ถ้า เก็บเต้านม ต้องฉายแสง |
การป้องกันที่สำคัญที่สุด
คือ การค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการเพื่อจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลาม
ช่วงไหนที่เหมาะ
ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จริงๆแล้วสามารถตรวจได้ทุกวัน แต่พบว่าช่วง 7 วันหลังมีประจำเดือน ช่วงนี้เต้านมจะไม่ตึงจนเกินไป จะทำให้ตรวจง่าย
เริ่มเมื่อไหร่ดี?
จริงๆ เราสามารถคลำได้ทุกวันที่มีโอกาส เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีเลยก็ได้ครับ ส่วนเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป(หรือ 30ปี ขึ้นไปในคนไข้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ก็ ไปทำ Mammogram ปีละครั้ง ไปเรื่อยๆครับ; )
ตรวจอย่างไร
การตรวจเต้านมด้วยตนเองมี 3 วิธี