ยาที่ใช้รักษามีอะไรบ้าง
ยาที่ใช้ในโรคนี้
ใช้เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
เนื่องจากถ้าเป็นครั้งหนึ่งแล้ว
จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำได้
ยาที่สำคัญคือยาป้องกันเส้นเลือดตีบ
ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป
ไม่ควรซื้อทานเองเนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงได้
ยาที่มีความสำคัญมากอีกกลุ่มหนึ่ง
คือยาที่ใช้คุมปัจจัยเสี่ยงในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง
เช่น ยาเบาหวาน
ความดันสูง
ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องโดยเฉพาะการควบคุมอาหารที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้
ถ้าคุมโรคเหล่านี้ได้ดี
โอกาสเป็นเส้นเลือดสมองตีบก็จะน้อยลงไปมาก
ควรงดสูบบุหรี่
เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
และการเลิกขึ้นอยู่กับจิตใจเท่านั้น
โดยแทบไม่ต้องใช้ยาใดๆ
การทำกายภาพบำบัด
มีส่วนสำคัญที่สุดในการเพิ่มโอกาสที่ทำให้ส่วนที่อ่อนแรง
กลับมามีแรงมากขึ้นได้
ส่วนยาที่ทาน
จะเน้นไปที่การป้องกันการเกิดซ้ำของเส้นเลือดสมองตีบ
ดังนั้น แม้ทานยาครบ
แต่ไม่ค่อยทำกายภาพบำบัด
ก็ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้เท่าที่ควร
ยาบำรุงสมองช่วยได้หรือไม่
มีคนพูดถึงยาบำรุงสมอง
แปะก๊วย อาหารเสริม ฯลฯ
ว่าจะช่วยให้อัมพาตหายได้หรือไม่
รวมทั้งการรักษาในแนวอื่นๆอีกหลายรูปแบบ
รวมทั้งยาฉีดบางชนิดที่ราคาแพง
ซึ่งทุกอย่างดังกล่าว
ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางการแพทย์ว่าได้ผล
และการรักษาบางอย่างอาจเกิดผลเสียกับผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัวได้
ถ้าไม่แน่ใจ
จึงไม่ควรทานหรือฉีด
ยาหม้อ
เป็นยาที่นิยมมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด
ซึ่งนอกจากไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว
ยังอาจเกิดอันตรายได้หลายรูปแบบ
แต่คนนิยมทาน
เนื่องจากในยาหม้อ
มีสารที่ทำให้ทานแล้วรู้สึกสบาย
เหมือนจะดีขึ้น
ซึ่งไม่ว่าเป็นโรคอะไรก็จะดีขึ้น
แต่เป็นเพียงความรู้สึก
และเป็นชั่วคราว
ในระยะยาวไม่มีผล
และสารนี้ทำให้เกิดอาการตามมาได้หลายอย่าง
เช่น น้ำตาลในเลือดสูง
โรคกระเพาะ
ภูมิคุ้มกันต่ำ
ติดเชื้อง่าย หน้าบวม ฯลฯ
บางรายที่ทานนานๆ
เมื่อหยุดทานก็จะเกิดอาการไม่สบายได้หลายรูปแบบ
ยาหม้อจึงเป็นยาที่ไม่ควรทานโดยเด็ดขาด
ทำไมบางคนหาหมอพระ
หรือทานยาหม้อแล้วหายดี
กลับมาเดินได้
อย่างที่กล่าวในตอนต้น
คือโรคนี้เป็นโรคที่ในระยะแรกๆทำนายได้ยาก
ว่าแต่ละคนจะดีขึ้นได้แค่ไหน
หรือใช้เวลาเท่าใด
บางรายอาจดีขึ้นเองโดยไม่ได้ทานยาอะไรเลยก็เป็นได้
บางรายทานยาทุกอย่าง
ทำกายภาพบำบัดเต็มที่
ก็อาจไม่ค่อยดีขึ้นมากนักก็เป็นได้
ดังนั้นในรายที่ทานยาหม้อหรือรักษาแบบอื่นๆใดๆก็ตามแล้วดีขึ้น
มักเกิดจากการที่คนนั้นจะดีขึ้นเองอยู่แล้ว
แต่บังเอิญไปทานยาหม้อด้วย
คนจึงเข้าใจว่าดีจากยาหม้อแล้วจึงนำไปบอกกันปากต่อปาก
จึงกลายเป็นที่นิยมกันไป
แต่ในรายที่ไม่ดีขึ้นหรือเกิดผลข้างเคียงจากยาหม้อ
คนทั่วไปก็จะไม่ค่อยพูดถึง
หรืออาจโทษว่า
อาการที่แย่ลงเป็นจากตัวโรคเส้นเลือดสมองตีบเอง
ทำไมแพทย์มักมีอคติ
หรือปิดกั้นการรักษาแบบอื่นๆที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน
แพทย์ไม่ได้ปิดกั้นหรือมีอคติใดๆ
เนื่องจากแพทย์ทุกคนทราบว่าในเมื่อขณะนี้
แผนปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ทุกราย
ญาติผู้ป่วยก็อยากลองพึ่งการรักษาทางอื่นดูบ้าง
เผื่อว่าอาจได้ผล
แพทย์ส่วนมากก็ให้ลองได้
แต่ต้องเป็นการรักษาหรือเป็นยาที่ไม่เกิดอันตรายใดๆกับผู้ป่วย
แต่การรักษาหลายอย่าง
อาจเกิดอันตรายได้ เช่น
ยาหม้อ
การนวดโดยการเหยียบ
การนอนในทรายดำ เป็นต้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์จำเป็นต้องชี้แจง
นอกจากนี้
ยังมีอีกประเภทที่ต้องชี้แจง
แม้อาจไม่มีอันตรายนัก
แต่เกิดจากการหวังผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม
โดยฉวยโอกาสบนความเดือดร้อนของผู้ป่วยและญาติ
เช่น อาหารเสริม
เตียงแม่เหล็ก
วิตามินบางชนิด
ยาฉีดแพงๆซึ่งอ้างว่ามาจากเมืองนอก
เป็นต้น
โดยการโฆษณาชวนเชื่อ
เกินความจริง
ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการเอาผิดทางกฏหมายกับคนกลุ่มนี้แล้ว
สามารถป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้หรือไม่
เนื่องจากเป็นโรคที่ถ้าเป็นแล้ว
มักไม่หายสนิท
เหลือความพิการอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
การป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น
ควรควบคุมโรคเหล่านั้นให้ดี
ไม่ขาดยา
ตั้งใจควบคุมอาหาร
จะลดโอกาสการเป็นอัมพาตลงได้มาก
รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
พักผ่อนเพียงพอ
หลีกเลี่ยงของมึนเมา
ควรตรวจเลือดเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงทุกปี
โดยเฉพาะถ้าอายุมากกว่า
30-35?ีขึ้นไป
หรือมีประวัติคนในครอบครัวมีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
เพราะเราอาจมีโรคเหล่านั้นได้
เนื่องจากส่วนมากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แล้ว
หลักสำคัญๆ
ได้แก่
- ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด
ห้ามขาดยา
พบแพทย์ตามนัด
- ทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง
โดยอาจทำเองที่บ้านได้หลังจากออกจากโรงพยาบาล
- ให้กำลังใจผู้ป่วย
เนื่องจากโรคนี้พบว่าผู้ป่วยมีโอกาสมากที่จะมีโรคซึมเศร้า
หรือเครียดร่วมด้วย
ซึ่งเกิดจากการที่เคยทำอะไรได้
แล้วมาทำไม่ได้
- ในรายที่เดินไม่ได้
นอนอยู่กับเตียง
ต้องพลิกตัว
จับนั่งบ่อยๆ
เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
เช่น ปอดอักเสบ
แผลกดทับ
ทางเดินปัสสาวะอักเสบเป็นต้น
ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะสอนการดูแลเหล่านี้
รวมทั้งการให้อาหารทางสายยาง(ถ้าต้องใส่)
ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
โดย
นพ.เขษม์ชัย
เสือวรรณศรี
อายุรแพทย์ประสาทวิทยา
Key : brain infarct ,CVA ,Stroke
,Neurology ,Medicine ,Cerebral