การฝากครรภ์
การฝากครรภ์
หญิงมีครรภ์ทุกท่านควรรีบฝากครรภ์เสียแต่เนิ่น ๆ คือไม่ควรเกิน 3 เดือน นับจากมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
เพื่อให้แน่ใจว่าท่านตั้งครรภ์ปกติและบุตรในครรภ์แข็งแรงสมบูรณ์ แพทย์จะตรวจสุขภาพท่านว่ามีโรคแทรกซ้อนใด ๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง และกามโรค เป็นต้น
บริการที่ท่านจะได้รับเมื่อไปฝากครรภ์
1. ท่านจะได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
2. แพทย์หรือพยาบาล จะซักประวัติ เกี่ยวกับการขาดระดู อาการแพ้ท้อง เด็กดิ้น ประวัติการเจ็บป่วยใน
อดีต ประวัติการตั้งครรภ์ และการคลอดครั้งก่อน ๆตลอดจนประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว และ การแพ้ยาต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่สูติแพทย์ในการดูแลท่านระหว่างตั้งครรภ์ และคลอด
3. ท่านจะไดัรับการตรวจครรภ์ และการตรวจร่ายกายอย่างละเอียดจากสูติแพทย์ รวมทั้งการคาดคะเน
กำหนดคลอดให้ท่านด้วย ซึ่งโดยทั่วไปจะคลอดในระยะ1 - 2 สัปดาห์ ก่อนหรือหลังการคาดคะเนนั้น
4. สูติแพทย์จะให้คำแนะนำ หรือตอบปัญหาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์ และอาจสั่งยาบำรุง
หรือยาอื่น ๆ ที่จำเป็นให้และนัดวันตรวจครั้งค่อไปเป็นระยะ ๆ
5. การไปรับการตรวจครั้งต่อไป จะกำหนดให้คราว ๆ ดังนี้
- ตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรก ถึงครรภ์ 7 เดือน ควรไปตรวจเดือนละครั้ง
- ระหว่างครรภ์ 7 เดือน ถึง 8 เดือน ควรไปตรวจทุก 2 สัปดาห์
- ครรภ์เดือนสุดท้าย ควรไปตรวจสัปดาห์ละครั้ง
ถ้าการตั้งครรภ์ผิกปกติ เช่น มีโรคแทรกซ้อน แพทย์อาจนัดให้ท่านไปตรวจบ่อยกว่าที่กำหนด
สิ่งที่ท่านควรปฏิบัติในระหว่างตั้งครรภ์
1. การรับประทานอาหาร ท่านควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะ จำพวกโปรตีน ได้แก่ เนื้อ
สัตว์, นม, ไข่, ตับและถั่วต่าง ๆ รวมถึงอาหารจำพวกผักผลไม้ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มวิตามิน และเกลือแร่แล้ว ยังช่วยไม่ให้ท้องผูกอีกด้วย สำหรับอาหารจำพวกแป้ง และไขมัน ท่านไม่จำเป็นต้องรับประทานมาก เพราะจะทำ ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและคลอดยาก
2. การพักผ่อนและการออกกำลังกาย ท่านควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชม. หรือมากกว่านี้ การเดิน
เล่นหรือทำงานบ้านเบา ๆ เป็นการออกกำลังกายทีดีมาก การทำงานนอกบ้านหรือเดินทางไกลไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์
ถ้าไม่ทำให้ท่านอ่อนเพลียจนเกินไป
3. สุขภาพฟัน ท่านควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจ และรักษาฟันของท่าน เพราะในระหว่างตั้งครรภ์ ฟัน
ของท่านจะผุง่าย การอุดฟัน หรือถอนฟัน ถ้าทันตแพทย์เห็นสมควร จะไม่มีอันตรายแก่บุตรในครรภ์
4. การรักษาความสะอาดของร่างกายและเต้านม ท่านควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง สวมเสื้อผ้าที่
สะอาด ไม่รัดแน่นจนเกิดไป ถ้ามีน้ำใส ๆ ออกมาจากหัวนมควรล้างออกด้วยน้ำสบู่อย่างอ่อนทุกครั้งที่อาบน้ำ
สำหรับท่านที่หัวนมสั้นบอด ควรดึงหัวนมทุกครั้ง เพื่อช่วยให้หัวนมยาวขึ้น สะดวกในการให้นมบุตรต่อไป
สิ่งที่ท่านควรละเว้น
1. ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัด หรือดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดองของมึนเมา เช่น เหล้า ไม่ควรสูบ บุหรี่
2. ไม่ควรออกกำลังกาย อย่าหักโหมหรือทำงานหนักที่จะทำให้ท่านรู้สึกอ่อนเพลียมากเกินไป
3. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
4. ไม่ควรล้าง สวน ช่องคลอดด้วยน้ำหรือน้ำยาใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากแพทย์จะสั่งเท่านั้น
5. ควรงดเว้นการร่วมเพศโดยเฉพาะในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์หรือในกรณีที่ผิดปกติ เช่น มีเลือด
ออก หรือเมื่อแพทย์สั่งห้าม
6. ไม่ควรฉายเอ็กซเรย์ นอกจากในกรณีที่แพทย์จะเห็นสมควรหมายเหตุ ถ้าท่านจะเป็นต้องพบแพทย์ผู้ อื่น
ด้วยสาเหตุใดก็ตามท่านควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าท่านตั้งครรภ์
อาการธรรมดาต่าง ๆ ที่ท่านอาจจะพบในระหว่างตั้งครรภ์
1. อาการแพ้ท้อง พบได้เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ท่านไม่ต้องวิตกวิธี
แก้ไขง่าย ๆ คือ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง แพทย์อาจให้ ยาแก้แพ้
ซึ่งไม่มีอันตราย ในกรณีที่ท่านมีอาการมาก
2. อาการแน่นท้องและท้องอืด เกิดจาการย่อยอาหารไม่ดีกระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง ท่าน
ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สเช่น ของดอง ถั่ว น้ำอัดลม ควรออกกำลังกายเบา ๆ
เช่น การเดินเล่น ระวังอย่าให้ท้องผูกโดยดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ให้มาก
3. อาการปวดศรีษะและวินเวียน แก้ได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอและไม่ควรอยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทไม่
สะดวก เช่น ที่มีผู้คนหนาแน่น
4. อาการปวดหลังและเป็นตะคริว แก้ได้โดยการพักผ่อน ไม่ควรยืนนาน ๆ ยกของหนักหรือใส่รองเท้าส้น
สูง ถ้าเป็นตะคริวควรใช้ขี้ผี้งร้อน ๆ ทาถูนวดจะบรรเทา อาการปวดได้
5. ตกขาว ถ้ามีลักษณะใส ๆ หรือเป็นมูก เป็นอาการปกติ แต่ะถ้ามีตกขาวปนเลือด หรือมีกลิ่น หรือมีอาการ
คัน ควรให้แพทย์ตรวจ
6. ริดสีดวงทวาร พบได้เสมอในระหว่างตั้งตรรภ์ ควรระวังอย่าให้ท้องผูก โดยทั่วไปริดสีดวงทวารจะหาย
ได้เอง หลังคลอด ประมาณ 4 - 5 สัปดาห์
7. เส้นเลือดขอด เกิดจากการไหลเวียนของเลือดช้า ไม่ควรยืนหรือนั่งห้อยเท้านาน ๆ เวลานอนยกเท้าให้
สูง ถ้าปวดมากปรึกษาแพทย์
8. ท้องลาย หรือหน้าอกลาย เป็นอาการปกติ ป้องกัน และรักษาไม้ได้ แต่ถ้าท่านใช้ครีมทาตัวหรือน้ำมัน
มะกอกบ่อย ๆ จะป้องกันไม่ให้คน
9. อาการบวมถ้าบวมเล็กน้อยบริเวณข้อเท้าเป็นของปกติพบได้เสมอในระยะใกล้คลอด การนอนพักและยก
เท้าให้สูงจะทำให้อาการบวมหาย
10. นอนไม่หลับ โดยเฉพาะเวลาใกล้คลอด เนื่องจากความอึกอัดเกิดจากมดลูกโตมาก หายใจไม่สะดวก แก้
ได้โดยนอนหมุนศรีษะให้สูง
11. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ท่านอาจจะหงุดหวิดคิดมาก นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย พยายามทำใจให้
สบาย อย่าปล่อยให้มีเวลาว่างมากเพื่อผู้ที่อยู่ใหล้ชิด เช่นสามี จะได้มีความรู้สึกสบายใจด้วย และข้อสำคัญคือบุตร
เมื่อคลอดออกมา จะได้มีความรู้สึกอบอุ่น
อาการผิดปกติที่ท่านควรจะไปพบแพทย์ ก่อนกำหนดนัดหมาย
1. แพ้ท้องอย่างมากจนรับประทานอาหารไม่ได้
2. แน่นท้อง หรือท้องอืดมาก
3. ปวดศรีษะ หรือวินเวียนบ่อย ๆ
4. น้ำหนักเพิ่มเร็ว จนมีอาการบวมที่หน้าและมือ
5. เป็นไข้หรือหนาวสั่น
6. เด็กไม่ดิ้น
7. ปัสสาวะแสบ และบ่อยเกินไป
8. มีเลือดออก หรือมีตกขาว มีกลิ่นและคน
อาการผิดปกติที่ท่านจะต้องไปโรงพยาบาลทันที
1. มีเลือดออกมาทางช่องคลอด ไม่ว่าจะเจ็บท้องหรือไม่ก็ตาม
2. มีอาการปวดท้องอย่างมาก ไม่ทราบสาเหตุ
3. ถุงน้ำคร่ำแตก มีน้ำเดินมาก แม้ว่าจะไม่เจ็บท้อง
4. มีอาการบวมอย่างมาก ปวดหัว ตามัว หรือมีอมการชัก
5. เมื่อท่านปวดท้องคลอด
อาการเจ็บท้องคลอดคือการเจ็บท้องเป็นระยะสม่ำเสมอ ครั้งแรกจะนาน ๆ ครั้งต่อมาการเจ็บจะถี่เข้า โดย
ทั่วไป ไนท้องแรกท่านควรไปโรงพยาบาล เมื่อเจ็บทุก5 - 10 นาที เป็นอยู่ประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ท่านไม่ควรจะตกใจ
เมื่อเริ่มเจ็บท้อง
สำหรับท้องหลัง เมื่อแน่ใจว่าเป็นเจ็บท้องคลอด โปรดไปโรงพยาบาลได้เลย ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่ระยะทางและ
การจาราจรด้วย เช่น บ้างไกล การจราจรติดขัดก็ไปเร็วกว่านี้
This Web Page Design & Created by
Dr.OU
28 June 1998
Copyright (c) 1998.
ThaiClinic.com
. All rights reserved.