Thaiclinic.com

Thaiclinic Logo bannermedbiblewelcomeclr.gif (19991 bytes)
Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspaceup.gif (292 bytes)Contact Me,Dr.OU

เรื่องน่ารู้ของยาบ้า

กลุ่มยาแอมเฟตามีนจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทกระตุ้นประสาท มีชื่อเรียกในกลุ่มผู้เสพว่ายาม้า หรือยาขยัน ปัจจุบันได้ถูกเรียกชื่อเป็นยาบ้าจัดเป็นยาที่มนุษย์ สังเคราะห์ขึ้นมาหลายตัว เช่น อีเฟดริน เมทแอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน และ เอ็กซ์ตาซี
ซึ่งเป็นแอมเฟตามีนในรุ่นที่สาม เป็นต้นฯ

แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมนิดๆโดยทั่วไปที่มีจำหน่าย มักจะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กเม็ดกลมแบน อาจพบลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปหัวใจ มีสีขาว เหลือง
น้ำตาล สีฟ้า หรือหลากสีในเม็ดเดียว และมักมีเครื่องหมายรูปหัวม้า หรือคำว่า LONDON

ปัจจุบันยาในกลุ่มนี้ที่แพร่หลายมากที่สุดเป็น เมทแอมเฟตามีน(Metamphetamine)ซึ่งมีลักษณะ ที่พบบ่อยเป็นเม็ดสีส้มมีตัวอักษรWY  ในระยะหลังจะพบว่ามีการผสมยากลุ่มแอมเฟตามีน
โดยเฉพาะเมทแอมเฟตามีนร่วมกับเฮโรอินและอื่นซึ่งมีผลทำให้เสพติดง่ายขึ้นเลิกจากการเสพติด ได้ยากมากขึ้น เอ็กซ์ตาซีพบในเมืองใหญ่กลุ่มวัยรุ่นที่มีฐานะ

การเสพยาในกลุ่มแอมเฟตามีนมี 4 วิธี คือ

  1. กิน เป็นวิธีเดิมที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มเกษตรกร  ผู้ขับขี่รถ

  2. ฉีดยา เข้าเส้น มักจะผสมกับยาอื่น เช่น เฮโรอิน หรือ ยากล่อมประสาท

  3. สูบ โดยบดคลุกกับบุหรี่สูบ

  4. สูดควันระเหย ดล้ายกับวิธีสูบบุหรี่ โดยบดแล้วลนไฟ  จะใส่ในกระดาษฟรอยด์ เรียกว่า เรือ ลนไฟแล้วใช้หลอดกาแฟดูดควันระเหย ที่เรียกว่า จับมังกร เป็นวิธีที่แพร่หลาย ในหมู่นักเรียน นักศีกษา และวัยรุ่น

การออกฤทธิ์ของยากลุ่มแอมเฟตามีน ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

1.ออกฤทธิ์กระตุ้นต่อระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัวตลอดเวลา  นอนไม่หลับ
2.ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น
3.กดศูนย์ควบคุมการอยากอาหาร ทำให้เบื่ออาหาร ทานน้อยลง เป็นยาลดน้ำหนักได้
4.กระตุ้นศูนย์หายใจ ทำให้หายใจเร็วและแรงขึ้น
5.กระตุ้นระบบสมองส่วนหน้า  ทำให้เกิดอาการความคิดความอ่านแจ่มใสชั่วขณะ บางรายจะมีอาการสั่น

อาการของผู้เสพยาแอมเฟตามีน

สำหรับผู้ที่เสพในปริมาณไม่มาก 20-30 กรัมต่อวัน
อาการที่มักจะตรวจพบ ได้แก่ เบื่ออาหาร ตื่นเต้นง่าย อยู่ไม่สุข มือสั่น ตัวสั่น เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน ผะอืดผะอมได้ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง อยู่ได้นานโดยไม่ต้องนอน ท้องเสียหรือท้องผูก ปาก และ จมูกแห้ง ริมฝีปากแตก ทำงานเกินปกติ หงุดหงิด ชอบทะเลาะวิวาท รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด มวนต่อมวน

ผลทางด้านจิตใจจะเห็นได้ชัดเมื่อเสพเป็นจำนวนมาก จะเกิดอาการทางจิตเฉียบพลัน หรือเป็นบ้าขึ้นได้ชั่วระยะหนึ่ง อาการจะคล้ายผู้ป่วยโรคจิตหวาดระแวงเกิดอาการหลงผิด คิดว่ามีคนมาทำร้ายตนเอะอะคว้าอาวุธมาป้องกันตัวเอง หรือพยายามจะหนีซุกซ่อนตัวเอง พูดไม่รู้เรื่อง มักเห็นภาพหลอน ต่างๆนานา ซึ่งนำไปสู่อันตรายต่อตัวเองหรือผู้อื่น เช่นตกใจกลัวปีนตึกหรือเสา ถูกรถชน หรือหลงผิดว่า มีคนมาทำร้าย จึงทำร้ายผู้อื่นก่อน  บางรายที่ใช้ยามากๆอาจจะมีอาการไข้ขึ้น ความดันโลหิตสูงมาก ใจสั่น หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก หมดสติ ถึงตายได้

เมื่อเสพเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สมองได้รับการกระตุ้นเสมอ โดยไม่ได้รับการพักผ่อน
ร่างกายฝืนให้ทำงานหนักตลอดเวลามีผลทำให้ร่างกายสุขภาพทรุดโทรมลงเกิดโรคตามมาง่าย เช่น
โรคติดเชื้อต่างๆ โรคตับอักเสบ โรคปอด ไตเสื่อม ผลต่อจิตใจเกิดอารมณ์แปรปรวน ภาวะทางจิตเสื่อมโทรมก่อให้เกิดโรคจิตเรื้อรังหรือบ้าได้ตลอดไป

อาการของการเลิกใช้ยาหรือถอนยา 
ในรายผู้ที่เสพติดยาม้าแล้ว เมื่อหยุดการใช้ยาก็จะเกิดอาการ ได้แก่ รู้สึกร่างกายอ่อนเปลี้ยเพลียแรงมาก 
จนกระทั่งไม่มีแรงแม้จะทานอาหาร จะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย ความคิดสับสน ปวดศรีษะ เหงื่อแตกมาก ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดบิดในท้อง รู้สึกร้อนสลับหนาวจัดได้ อาจทุรนทุราย เอะอะอาละวาด ทำร้ายผู้อยู่ใกล้เคียงได้  อาจฆ่าตัวตายเนื่องจากมีอารมณ์ซึมเศร้ามาก

อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากขาดยาไปเพียง 2-3 วัน และอาจมีความรู้สึกทรมานต่อไปอีกเป็นอาทิตย์ 
ซึ่งผู้เสพบางรายอาจจะทนไม่ได้ แต่โดยทั่วไปอาการจะมีประมาณ 1 อาทิตย์

ในระยะหลังจะพบผู้ติดยาม้ามากขึ้นโดยเฉพาะในสถานศึกษาโดยทั่วไปเลิกไม่ยากเนื่องจาก โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไร  และอาการถอนยาก็ไม่รุนแรง อาจมีอาการหงุดหงิดบ้างเล็กน้อย อ่อนเพลีย นอนหลับมากปวดเมื่อยตามตัว ผู้เสพติดสามารถเลิกได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาอะไร 
นอกจากในรายที่มีอาการทางด้านโรคจิตประสาทชัดเจนหรือกลุ่มซึ่งติดมานานจนเกิด โรคแทรกซ้อนต่างๆ

การบำบัดรักษาเพื่อให้เลิกจากการเสพยาแอมเฟตามีน
ความสำคัญอยู่ที่ทำให้ผู้เสพเข้าใจถึงพิษภัยของยาม้าในระยะยาว โดยเฉพาะในเรื่องของ ระดับสติปัญญาที่ลดลงไปเรื่อยและเกิดอาการทางจิตประสาทตามมาซึ่งระยะเวลา ที่เริ่มมีอาการมักเกิดภายหลัง2-5ปีหลังการเสพติดรวมทั้งผลกระทบอื่นๆในทุกด้าน อาจใช้ยาที่มีผลทำให้ความรู้สึกอยากยาลดลง และยาที่ควบคุมอาการทางจิตประสาท
การใช้กิจกรรมหรือพฤติกรรมบำบัด

โดย นพ.สมบัติ ภูนวกุล อายุรแพทย์

Main PageWhat's NewMedical BibleClinic OnlineHealth ConferenceQuestion-MallThaiclinic Newsfoldspacebottom.gif (372 bytes)Contact Me,Dr.OU

This web is created and designed by หมออู๋
2 May 2000

Copyright (c) 1998-2000, ThaiClinic.com. All Right Reserved.